ข้ามไปเนื้อหา

คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง (จีน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะกรรมการการทหารส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คณะกรรมการการทหารส่วนกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน

คณะกรรมการฯ ตั้งอยู่ในอาคารเดียวกับกระทรวงกลาโหม หรือ "อาคาร 1 สิงหาคม"
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง
  • 28 กันยายน 1954; 70 ปีก่อน (1954-09-28) (พรรค)
  • 18 มิถุนายน 1983; 41 ปีก่อน (1983-06-18) (รัฐ)
หน่วยงานก่อนหน้า
ประเภทหน่วยงานระดับประเทศ
เขตอำนาจจีน
สำนักงานใหญ่อาคาร 1 สิงหาคม ปักกิ่ง
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดหน่วยงาน
ลูกสังกัด
เว็บไซต์www.81.cn
chinamil.com.cn (ภาษาอังกฤษ)
คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง
อักษรจีนตัวย่อ中央军事委员会
อักษรจีนตัวเต็ม中央軍事委員會
คณะกรรมการการทหารส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสาธารณรัฐประชาชนจีน
อักษรจีนตัวย่อ中国共产党和中华人民共和国中央军事委员会
อักษรจีนตัวเต็ม中國共產黨和中華人民共和國中央軍事委員會
คณะกรรมการการทหารส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
อักษรจีนตัวย่อ中国共产党中央军事委员会
อักษรจีนตัวเต็ม中國共產黨中央軍事委員會
คณะกรรมการการทหารส่วนกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน
อักษรจีนตัวย่อ中华人民共和国中央军事委员会
อักษรจีนตัวเต็ม中華人民共和國中央軍事委員會

คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง (จีน: 中央军事委员会; อังกฤษ: Central Military Commission: CMC) องค์กรผู้นำทางทหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นผู้นำของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ตำรวจติดอาวุธประชาชน และกองกำลังอาสาสมัครของจีน

ในทางเทคนิคแล้วมีคณะกรรมการสองชุดที่แยกจากกัน ได้แก่ คณะกรรมการการทหารส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และคณะกรรมการการทหารส่วนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การจัดระบบ "หนึ่งสถาบัน สองชื่อ" คณะกรรมการทั้งสองมีบุคลากร องค์กรและหน้าที่เหมือนกัน และดำเนินงานภายใต้ทั้งระบบพรรคและระบบรัฐ ลำดับชั้นคู่ขนานของคณะกรรมการฯ ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถกำกับดูแลกิจกรรมทางการเมืองและการทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชน รวมถึงการออกคำสั่งเกี่ยวกับการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูง การเคลื่อนกำลังพลและการใช้จ่ายด้านอาวุธ

คณะกรรมการฯ มีสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนและผู้นำสูงสุดของประเทศเป็นประธาน สมาชิกเกือบทั้งหมดเป็นนายพลอาวุโส แต่ตำแหน่งสำคัญที่สุดมักถูกครอบครองโดยผู้นำอาวุโสที่สุดของพรรค (ซึ่งเป็นพลเรือนภายใต้หลักการที่ว่าพรรคเป็นผู้สั่งปืน) เพื่อรับประกันความภักดีของกองทัพ คณะกรรมการฯ ตั้งอยู่ในบริเวณกระทรวงกลาโหม ("อาคาร 1 สิงหาคม" หรือ "ปาอี") ทางตะวันตกของปักกิ่ง

ประวัติศาสตร์

[แก้]

คณะกรรมาธิการทหารของพรรคมีประวัติย้อนหลังไปถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1925 และแม้จะมีอำนาจหน้าที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ก็ยังคงใช้ชื่อว่าคณะกรรมการการทหารส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนมาโดยตลอด[a] ในบรรดานักวิจารณ์ชาวตะวันตก คำว่า "กิจการ" มักถูกละเว้นออกจากชื่อ[1] ในฐานะคณะกรรมการ มันมีลำดับชั้นในพรรคสูงกว่าหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมองค์การหรือกรมแนวร่วม ใน ค.ศ. 1937 คณะกรรมการทหารปฏิวัติส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP Central Revolutionary Military Commission)[b] ถูกก่อตั้งขึ้นหลังกองทัพแดงจีนของสาธารณรัฐโซเวียตจีนถูกรวมเข้ากับกองทัพก๊กมินตั๋งเพื่อสงครามต่อต้านญี่ปุ่น และต่อมาพัฒนาเป็นคณะกรรมการการทหารส่วนกลางหลังการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 7 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 1945 ในช่วงเวลานี้ เหมา เจ๋อตงเป็นประธานของคณะกรรมการเสมอ

ในการปรับโครงสร้างองค์กรในเดือนกันยายน ค.ศ. 1949 อำนาจบังคับบัญชากองทัพถูกโอนไปยังคณะกรรมการทหารปฏิวัติประชาชน (People's Revolutionary Military Commission) หน่วยงานของรัฐบาลประชาชนส่วนกลาง[c] การดำรงอยู่ร่วมกันครั้งสุดท้ายของคณะกรรมการทหารสองชุดถูกกำหนดขึ้นใน ค.ศ. 1954 เมื่อคณะกรรมการการทหารส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ ส่วนอำนาจทางทหารของรัฐอยู่ในสภากลาโหมสาธารณรัฐประชาชนจีน[d] มีประธานาธิบดีเป็นประธานตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1954

เนื่องจากเหมา เจ๋อตงดำรงตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนและเป็นผู้นำกิจการทหารโดยรวม งานประจำวันของคณะกรรมการฯ และสภากลาโหมจึงดำเนินการโดยรองประธานลำดับที่หนึ่ง ตำแหน่งนี้ดำรงโดยหลิน เปียวกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 1971 จากนั้นจึงเป็นเย่ เจี้ยนอิง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติวัฒนธรรม คณะกรรมการการทหารส่วนกลางพรรค (Party CMC) กลายเป็นหน่วยงานกำกับดูแลกองทัพเพียงหน่วยงานเดียว และสภากลาโหมถูกยุบใน ค.ศ. 1975[ต้องการอ้างอิง]

ความพยายามของเติ้ง เสี่ยวผิงในการแยกพรรคคอมมิวนิสต์จีนออกจากรัฐในเชิงสถาบันนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการการทหารส่วนกลางแห่งรัฐ (State CMC) ในปัจจุบัน ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1982 โดยรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อทำให้บทบาทของกองทัพในโครงสร้างรัฐบาลเป็นทางการ ทั้งคณะกรรมการกลาโหมและคณะกรรมการการทหารส่วนกลางแห่งรัฐได้รับการอธิบายว่าเป็นหน่วยงาน "ที่ปรึกษา"[1] อย่างไรก็ตาม ตรงกันข้ามกับสภากลาโหม คณะกรรมการการทหารส่วนกลางของพรรคและรัฐนั้นแทบจะเหมือนกันในด้านผู้นำ องค์ประกอบ และอำนาจ[1]

หลังสหรัฐทิ้งระเบิดสถานทูตจีนในเบลเกรดระหว่างการทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียของเนโท เจียง เจ๋อหมินสั่งให้คณะกรรมการฯ เสริมความแข็งแกร่งของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[2]: 253  คณะกรรมการฯ เริ่มความพยายามอย่างกว้างขวางในการปฏิรูปหลักนิยม การปฏิบัติการ และยุทโธปกรณ์ของตนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่ผู้นำจีนคาดการณ์ว่าจะเป็นสหรัฐที่แสดงความเป็นศัตรูมากขึ้นเรื่อย ๆ[2]: 253 

คณะกรรมการมีตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปอยู่ด้วยจนกระทั่งถึง ค.ศ. 1992[ต้องการอ้างอิง] ตำแหน่วนี้ดำรงโดยหยาง ช่างคุน (1945–1954), หฺวาง เค่อเฉิง (1954–1959), หลัว รุ่ยชิง (1959–1966), เย่ เจี้ยนอิง (1966–1977), หลัว รุ่ยชิง (1977–1979), เกิ่ง เปียว (1979–1981), หยาง ช่างคุน (1981–1989) และหยาง ไป๋ปิง (1989–1992)[ต้องการอ้างอิง]

ใน ค.ศ. 2016 สี่กรมใหญ่แบบดั้งเดิมกรมถูกยุบโดยคำสั่งของประธานสี จิ้นผิง และแทนที่ด้วย 15 กรมใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงกองทัพปลดปล่อยประชาชนให้ทันสมัย[3]

การทำงาน

[แก้]

ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะกรรมการฯ มีอำนาจควบคุมดูแลการป้องกันชายแดน การป้องกันทางทะเล การป้องกันทางอากาศ และการป้องกันความมั่นคงที่สำคัญอื่น ๆ[4][ต้องการแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่ปฐมภูมิ] คณะกรรมการฯ มีอำนาจบัญชาการสูงสุดเหนือกองทัพสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงกองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLA) ตำรวจติดอาวุธประชาชน (PAP) และกองกำลังอาสาสมัคร (Militia)[5]

ในระบบการเมืองไตรภาคีของจีนซึ่งประกอบด้วยรัฐ พรรค และกองทัพ คณะกรรมการฯ เป็นองค์กรตัดสินใจที่มีกิจการประจำวันไม่โปร่งใสเท่าคณะกรรมาธิการกลางหรือคณะมนตรีรัฐกิจ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสามองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจหลักของจีน อิทธิพลของคณะกรรมการฯ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและผู้นำ ต่างจากประเทศส่วนใหญ่ คณะกรรมการการทหารส่วนกลางไม่ใช่หน่วยงานที่มีสถานะเทียบเท่ากับกระทรวงอื่น ๆ ของรัฐบาล แม้จีนจะมีกระทรวงกลาโหม แต่กระทรวงนี้มีไว้เพื่อประสานงานกับกองทัพต่างชาติเท่านั้นและไม่มีอำนาจสั่งการ[5]

โครงสร้าง

[แก้]

มีคณะกรรมการแยกกันสองชุด ได้แก่ คณะกรรมการการทหารส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน และคณะกรรมการการทหารส่วนกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างไรก็ตาม ภายใต้การจัดระบบ "หนึ่งสถาบัน สองชื่อ" คณะกรรมการทั้งสองมีบุคลากร องค์กร และหน้าที่เหมือนกันทุกประการ[6][7][e] โครงสร้างลำดับชั้นคู่ขนานของคณะกรรมการทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถกำกับดูแลกิจกรรมทางการเมืองและการทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[9] รวมถึงการออกคำสั่งเกี่ยวกับการแต่งตั้งระดับสูง การเคลื่อนกำลังพลและการใช้จ่ายด้านอาวุธ[10] คณะกรรมการฯ มีความคลุมเครืออย่างมาก และการประชุมของคณะกรรมการฯ แทบจะไม่ได้รับการเผยแพร่เลย[11]

คณะกรรมการฯ ประกอบด้วยประธาน รองประธาน และสมาชิกอื่น ๆ[5] ประธานคณะกรรมการฯ มักดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนไปพร้อมกัน[12] สายบังคับบัญชาที่สำคัญที่สุดเริ่มจากคณะกรรมการฯ ไปยัง 15 หน่วยงานใหญ่ และตามลำดับ ไปยังแต่ละเหล่าทัพ (กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ) นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังมีอำนาจควบคุมโดยตรงเหนือกองทัพจรวด กองทัพทั้งสามเหล่าทัพที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังสนับสนุนทางยุทธศาสตร์เดิม (กองทัพอวกาศ กองกำลังสนับสนุนสารสนเทศ และกองกำลังปริภูมิไซเบอร์) มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ และสถาบันวิทยาศาสตร์การทหาร[ต้องการอ้างอิง]

หน่วยงาน

[แก้]

ก่อน ค.ศ. 2016 กองทัพปลดปล่อยประชาชนถูกควบคุมโดยสี่กรมใหญ่ หน่วยเหล่านี้ถูกยกเลิกหลังการปฏิรูปกองทัพใน ค.ศ. 2016 ตามคำสั่งของประธานสี จิ้นผิง และถูกแทนที่ด้วย 15 หน่วยงานที่รายงานตรงต่อคณะคณะกรรมการฯ[3] 15 หน่วนงานใหม่ ได้แก่:[13]

  1. สำนักงานทั่วไป (ระดับรองกองบัญชาการภาคพื้น)
  2. กรมเสนาธิการร่วม (ระดับสมาชิกคณะกรรมการฯ)
  3. กรมงานการเมือง (ระดับสมาชิกคณะกรรมการฯ)
  4. คณะกรรมการสอบวินัย (ระดับสมาชิกคณะกรรมการฯ)
  5. คณะกรรมการกิจการการเมืองและกฎหมาย (ระดับกองบัญชาการภาคพื้น)[14]
  6. กรมสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง (ระดับรองกองบัญชาการภาคพื้น)
  7. กรมพัฒนายุทโธปกรณ์ (ระดับรองกองบัญชาการภาคพื้น)
  8. กรมบริหารการฝึกอบรม (ระดับรองกองบัญชาการภาคพื้น)
  9. กรมสรรพกำลังกลาโหม (ระดับรองกองบัญชาการภาคพื้น)
  10. คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ระดับรองกองบัญชาการภาคพื้น)
  11. สำนักงานวางแผนยุทธศาสตร์ (ระดับกองทัพน้อย)
  12. สำนักงานปฏิรูปและโครงสร้างองค์กร (ระดับกองทัพน้อย)
  13. สำนักงานความร่วมมือทางทหารระหว่างประเทศ (ระดับกองทัพน้อย)
  14. สำนักงานการตรวจสอบบัญชี (ระดับกองทัพน้อย)
  15. สำนักงานการบริหารสำนักงาน (ระดับกองทัพน้อย)

กรมเสนาธิการร่วมเป็นศูนย์กลางประสาทของระบบบัญชาการและควบคุมทางทหารทั้งหมดของจีน รับผิดชอบหน้าที่บริหารงานประจำวันของคณะคณะกรรมการฯ สำนักงานทั่วไปดำเนินการประมวลผลการสื่อสารและเอกสารทั้งหมดของคณะกรรมการฯ ประสานงานการประชุม และส่งต่อคำสั่งและคำสั่งการไปยังหน่วยงานรองอื่น ๆ[15]

หน่วยงานควบคุมร่วม

[แก้]

ศูนย์บัญชาการปฏิบัติการร่วม คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง (Central Military Commission Joint Operations Command Center) ถูกแยกออกจากกรมเสนาธิการร่วมในการปฏิรูป ค.ศ. 2015 และถูกสั่งการโดยตรงจากคณะกรรมการฯ นอกจากการทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการสำหรับการปฏิบัติการร่วมทั้งหมดของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ยังกำกับดูแลหน่วยบัญชาการปฏิบัติการร่วมของแต่ละกองบัญชาการภาคพื้นทั้งห้าด้วย[ต้องการอ้างอิง]

สมาชิก

[แก้]

ตามระเบียบการทหาร ประธานคณะกรรมการฯ จะไม่ได้รับยศทางทหาร ขณะที่รองประธานและสมาชิกคณะกรรมการฯ จะได้รับยศพลเอกโดยตำแหน่ง[16][ต้องการแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่ปฐมภูมิ]

องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ชุดปัจจุบันของพรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกกำหนดขึ้นในการประชุมพรรคครั้งที่ 20 เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2022 คณะกรรมการของรัฐได้รับการยืนยันในการประชุมครั้งที่ 1 ของสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 14[17][18]

ประธานคณะกรรมการฯ
สี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนและประธานาธิบดีจีน
รองประธานคณะกรรมการฯ (2)
  1. พลเอก จาว โย่วเสีย สมาชิกกรมการเมืองชุดที่ 19 และ 20
  2. พลเอก เหอ เว่ย์ตง สมาชิกกรมการเมืองชุดที่ 20
สมาชิกคณะกรรมการฯ (3)
  1. พลเอก หลิว เจิ้นลี่ เสนาธิการกรมเสนาธิการร่วม
  2. พลเรือเอก เหมียว หฺวา ผู้อำนวยการกรมงานการเมือง (ถูกพักงาน)
  3. พลเอก จาง เชิงหมิน เลขาธิการคณะกรรมการสอบวินัย

การบังคับบัญชาระดับสูง

[แก้]

ข้อมูลเมื่อ 2024 กระทรวงกลาโหมของจีนระบุรายชื่อกองบัญชาการระดับสูงไว้ดังนี้:[19]

 สถาบัน   ผูนำ 
คณะกรรมการการทหารส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 20
ประธาน สี จิ้นผิง (习近平)
รองประธาน จาง โย่วเสีย (张又侠)
เหอ เว่ย์ตง (何卫东)
สมาชิก หลิว เจิ้นลี่ (刘振立)
เหมียว หฺวา (苗华)
จาง เชิงหมิน (张升民)
คณะกรรมการการทหารส่วนกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน ชุดที่ 14
ประธาน สี จิ้นผิง (习近平)
รองประธาน จาง โย่วเสีย (张又侠)
เหอ เว่ย์ตง (何卫东)
สมาชิก หลิว เจิ้นลี่ (刘振立)
เหมียว หฺวา (苗华)
จาง เชิงหมิน (张升民)
หน่วยงานปฏิบัติการของคณะกรรมการฯ
สำนักงานทั่วไป ผู้อำนวยการ: พลโท จง เช่าจฺวิน: (钟绍军)
กรมเสนาธิการร่วม เสนาธิการ: พลเอก หลิว เจิ้นลี่ (刘振立)
กรมงานการเมือง ผู้อำนวยการ: พลเรือเอก เหมียว หฺวา (苗华)
กรมสนับสนุนการส่งกำลังบำรุง เจ้ากรม: พลตรี จาง หลิน (张林)
กรรมาธิการการเมือง: ว่าง
กรมพัฒนายุทโธปกรณ์ เจ้ากรม: พลเอก สฺวี่ เสฺวเฉียง (许学强)
กรรมาธิการการเมือง: ว่าง
กรมบริหารการฝึกอบรม ผู้อำนวยการ: พลโท หวัง เผิง (王鹏)
กรรมาธิการการเมือง: ว่าง
กรมสรรพกำลังกลาโหม ผู้อำนวยการ: พลโท หลิว ฟาชิ่ง (刘发庆)
กรรมาธิการการเมือง: พลโท หวัง ตงไห่ (王东海)
คณะกรรมการสอบวินัย เลขาธิการ: พลเอก จาง เชิงหมิน (张升民)
คณะกรรมการกิจการการเมืองและกฎหมาย เลขาธิการ: พลเรือเอก หวัง เหรินหฺวา (王仁华)
คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้อำนวยการ: พลเรือโท จ้าว เสี่ยวเจ๋อ (赵晓哲)
สำนักงานวางแผนยุทธศาสตร์ ผู้อำนวยการ: พลตรี เฉิ่น ฟางอู๋ (沈方吾)
สำนักงานปฏิรูปและโครงสร้างองค์กร ผู้อำนวยการ: พลตรี หลี่ เผิงอี้ (李鹏翼)
สำนักงานความร่วมมือทางทหารระหว่างประเทศ ผู้อำนวยการ: พลอากาศตรี หลี่ ปิน (李斌)
สำนักงานการตรวจสอบบัญชี ผู้อำนวยการตรวจบัญชี: พลตรี ซุน ปิน (孙斌)
สำนักงานการบริหารสำนักงาน ผู้อำนวยการ: พลเรือตรี เกา ต้ากวง (高大光)
กรรมาธิการการเมือง: พลอากาศตรี หัน กั๋วฉี่ (韩国启)
ศูนย์บัญชาการปฏิบัติการร่วม
ศูนย์บัญชาการปฏิบัติการร่วม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด: สี จิ้นผิง (习近平)
กองบัญชาการภาคพื้น
กองบัญชาการภาคพื้นภาคตะวันออก ผู้บัญชาการ: พลเอก หลิน เซี่ยงหยาง (林向阳)
กรรมาธิการการเมือง: พลเรือเอก หลิว ชิงซง (刘青松)
กองบัญชาการภาคพื้นภาคใต้ ผู้บัญชาการ: พลเอก อู๋ ย่าหนาน (吴亚男)
กรรมาธิการการเมือง: พลเอก หวัง เหวินเฉฺวียน (王文全)
กองบัญชาการภาคพื้นภาคตะวันตก ผู้บัญชาการ: พลเอก วัง ไห่เจียง (汪海江)
กรรมาธิการการเมือง: พลเอก หลี่ เฟิ่งเปียว (李凤彪)
กองบัญชาการภาคพื้นภาคเหนือ ผู้บัญชาการ: พลเอก หวัง เฉียง (王强)

กรรมาธิการการเมือง: พลเอก เจิ้ง เสฺวียน (郑璇)

กองบัญชาการภาคพื้นภาคกลาง ผู้บัญชาการ: พลเอก หฺวาง หมิง (黄铭)
กรรมาธิการการเมือง: พลเอก สฺวี เต๋อชิง (徐德清)
เหล่าทัพกองทัพปลดปล่อยประชาชน
กองทัพบก ผู้บัญชาการ: พลเอก หลี่ เฉียวหมิง (李桥铭)
กรรมาธิการการเมือง: พลเอก ฉิน ชู่ถง (秦树桐)
กองทัพเรือ ผู้บัญชาการ: พลเรือเอก หู จงหมิง (胡中明)
กรรมาธิการการเมือง: พลเรือเอก ยฺเหวียน หฺวาจื้อ (袁华智)
กองทัพอากาศ ผู้บัญชาการ: พลอากาศเอก ฉาง ติงฉิว (常丁求)
กรรมาธิการการเมือง: พลอากาศเอก กัว ผู่เซี่ยว (郭普校)
กองทัพจรวด ผู้บัญชาการ: พลเอก หวัง โฮ่วปิน (王厚斌)
กรรมาธิการการเมือง: พลเอก สฺวี ซีเชิ่ง (徐西盛)
เหล่าทัพเสริมกองทัพปลดปล่อยประชาชน
กองทัพอวกาศ ผู้บัญชาการ: พลโท ห่าว เว่ย์จง (郝卫中)
กรรมาธิการการเมือง: พลอากาศโท เฉิน ฮุย (陈辉)
กองกำลังปริภูมิไซเบอร์ ผู้บัญชาการ: ว่าง
กรรมาธิการการเมือง: ว่าง
กองกำลังสนับสนุนสารสนเทศ ผู้บัญชาการ: พลโท ปี้ อี้ (毕毅)
กรรมาธิการการเมือง: พลเอก หลี เหว่ย์ (李伟)
กองกำลังสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงร่วม ผู้บัญชาการ: พลโท หวัง ลี่เหยียน (王立岩)
กรรมาธิการการเมือง: ว่าง
สถาบันวิชาการที่ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการฯ
สถาบันวิทยาศาสตร์การทหาร อธิการบดี: พลเอก หยาง เสฺวจฺวิน (杨学军)
กรรมาธิการการเมือง: พลเอก หลิง ฮ่วนซิน (凌焕新)
มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ อาจารย์ใหญ่: พลเอก เซี่ยว เทียนเลี่ยง (肖天亮)
กรรมาธิการการเมือง: พลเอก เจิ้ง เหอ (郑和)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกลาโหม อาจารย์ใหญ่: พลตรี หลี เซียง (黎湘)
กรรมาธิการการเมือง: พลตรี ฟู่ อ้ายกั๋ว (傅爱国)
กองบัญชาการตำรวจติดอาวุธประชาชน
ตำรวจติดอาวุธประชาชน ผู้บัญชาการ: พลตำรวจเอก หวัง ชุนหนิง (王春宁)
กรรมาธิการการเมือง: พลตำรวจเอก จาง หงปิง (张红兵)

การเลือกตั้ง

[แก้]

ตามธรรมนูญพรรคคอมมิวนิสต์จีน สมาชิกของคณะกรรมการฯ ได้รับการเลือกตั้งโดยคณะกรรมาธิการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[20] ในทางปฏิบัติ การเป็นสมาชิกพรรคถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในทำนองเดียวกัน คณะกรรมการฯ แห่งรัฐได้รับการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญโดยสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) และตามทฤษฎีแล้วรายงานต่อสภาประชาชนแห่งชาติและคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา[21] แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่สามารถแยกแยะออกจากคณะกรรมการฯ ของพรรคได้[11] ความแตกต่างในผลการเลือกตั้งนี้ส่งผลให้เกิดความแตกต่างเพียงอย่างเดียวในสมาชิกภาพระหว่างสองคณะกรรมการ เนื่องจากองค์กรของพรรค เช่น สภาแห่งชาติพรรคและคณะกรรมาธิการกลางจะประชุมกันในเวลาที่ต่างจากสภาประชาชนแห่งชาติ ตัวอย่างเช่น บางคนได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่คณะกรรมการฯ ของพรรคในการประชุมพรรคครั้งที่ 16 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2002 แต่พวกเขาเข้าร่วมคณะกรรมการฯ แห่งรัฐในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2003 เมื่อการประชุมครั้งที่ 1 ของสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 10 จัดขึ้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Mulvenon, James C., บ.ก. (2002). "The Pinnacle of the Pyramid: The Central Military Commission". The People's Liberation Army as Organization. RAND Corporation. ISBN 978-0-8330-3303-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-28. สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
  2. 2.0 2.1 Cunningham, Fiona S. (2025). Under the Nuclear Shadow: China's Information-Age Weapons in International Security. Princeton University Press. doi:10.2307/jj.16040335. ISBN 978-0-691-26103-4. JSTOR jj.16040335.
  3. 3.0 3.1 Lague, David; Lim, Benjamin Kang (23 April 2019). "How China is replacing America as Asia's military titan". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020.
  4. "Law of the People's Republic of China on National Defense". National People's Congress. 26 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2023. สืบค้นเมื่อ 24 September 2023.
  5. 5.0 5.1 5.2 Liu, Zhen (18 October 2022). "What is China's Central Military Commission and why is it so powerful?". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2023. สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
  6. Wang, Yongsheng; Li, Yüping (2007). "Lijie Zhonggong Zhongyang Junshi Weiyuanhui de zucheng ji lishi beijing" 历届中共中央军事委员会的组成及历史背景 [The make-up and historical background of past iterations of the Central Military Commission]. Military History (ภาษาChinese (China)) (6): 11–14.
  7. "Rumours swirl after China's defence minister, Li Shangfu, is sacked". The Economist. October 26, 2023. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-29. สืบค้นเมื่อ 2023-10-29. ...the state’s Central Military Commission, a notional body that replicates another one with real power controlled by the party.
  8. "Sicherheitskommission beim Politbüro des ZK der SED". Stasi-Unterlagen-Archiv (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-18. สืบค้นเมื่อ 2024-03-05.
  9. Saunders, Phillip C.; Scobell, Andrew, บ.ก. (2020-12-31), "3. The Riddle in the Middle: China's Central Military Commission in the Twenty-first Century", PLA Influence on China's National Security Policymaking, Stanford University Press, pp. 84–119, doi:10.1515/9780804796286-005, ISBN 978-0-8047-9628-6, S2CID 242615158
  10. "How China is Ruled: Military Affairs Commission". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2017. สืบค้นเมื่อ June 5, 2010.
  11. 11.0 11.1 "Decoding Chinese Politics: Military". Asia Society. สืบค้นเมื่อ 11 October 2024.
  12. Saunders et al. 2019, p. 521.
  13. "国防部新闻事务局官微发布中央军委机关英文译名". People's Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-26. สืบค้นเมื่อ 2016-01-15.
  14. Erickson, Andrew (2024-04-11). "CMSI Note #5: Admiral Wang Renhua: Exemplifying Jointness and Oversight for China's Navy amid Xi's Grade-and-Rank Reforms". CMSI Notes.
  15. "Introduction Appendix: Central Military Commission Reforms". National Defense University Press (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-05-11.[ลิงก์เสีย]
  16. "Regulations on the Military Ranks of Officers of the Chinese People's Liberation Army". National People's Congress. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2022. สืบค้นเมื่อ 24 September 2023.
  17. "新一届中央军委委员中3位是从战火中走出的将军". Sina. 2017-10-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-28. สืบค้นเมื่อ 2017-10-28.
  18. "New PRC Central Military Commission vice chairmen, members pledge allegiance to Constitution". Xinhua News Agency. 11 March 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2023. สืบค้นเมื่อ 11 March 2023.
  19. "CMC Departments". Ministry of National Defense. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-16. สืบค้นเมื่อ 2024-05-16.
  20. Panyue, Huang (27 October 2022). "Full text of Constitution of Communist Party of China - China Military". China Military. Xinhua News Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-24. สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
  21. "Constitution of the People's Republic of China". National People's Congress. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-03. สืบค้นเมื่อ 2022-08-08.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน