ขี่ม้าก้านกล้วย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เด็กชายรุ่งอรุณ ตัวนำโชคของ การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 20

ขี่ม้าก้านกล้วย เป็นการละเล่นเด็กไทย โดยอาศัยก้านกล้วยที่ปลูกไว้ตามบริเวณข้างบ้านและในสวน ซึ่งผู้ใหญ่มักทำให้เด็กๆ เล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน และเป็นการฝึกความแข็งแรงไปในตัว

ประโยชน์[แก้]

  1. การทำท่าเหมือนม้า ทำให้เด็กมีจินตนาการ และ กล้าแสดงออก
  2. เป็นการออกกำลังกายอย่างดี
  3. รักษาประเพณีพื้นบ้านของไทย

การเรียกชื่อ[แก้]

ในภาษาอังกฤษ ราชบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดชื่อภาษาอังกฤษของการละเล่นนี้ ไว้ว่า "Banana rib hobbyhorse riding" จะไม่ใช้การทับศัพท์เนื่องจากไม่สามารถสื่อความหมายได้[1]

วิธีการทำ[แก้]

วัตถุดิบนั้น ทั้งหาง่ายมากและไม่ต้องเสียเงินเลย เพราะสิ่งที่ต้องใช้ก็คือ ต้นกล้วยนั่นเอง ตัดต้นกล้วยมาในลักษณะรูปร่างที่ผอมยาวเล็กน้อย จากนั้นก็ทำรูปร่างให้เหมือนกับคอม้า

วิธีการเล่น[แก้]

วิธีการเล่นคือ ขึ้นขี่บนก้านกล้วย แล้วออกวิ่ง จากนั้นส่งเสียงร้อง ฮี้ฮี้ แต่ถ้ามีผู้เล่น2คนขึ้นไป ก็สามารถจัดเป็นการแข่งขันขึ้นได้ โดยฝ่ายไหนวิ่งเร็วที่สุด ก็จะเป็นผู้ชนะ

ขี่ม้าก้านกล้วยกับปัจจุบัน[แก้]

ปัจจุบันนี้ การขี่ม้าก้านกล้วยเริ่มเลือนหายไปจากสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสภาพสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อน จึงทำให้การละเล่นเด็กไทยต่างๆ ลดลงไปมาก

แต่การขี่ม้าก้านกล้วยก็ยังสามารถพบได้ตามงานวัฒนธรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว และยังกลายเป็นสัญลักษณ์ (Logo) ในงานต่างๆ ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เช่น ตัวนำโชคของการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 20 หรือ สุโขไทเกมส์ เป็นเด็กชายผมจุกเล่นขี่ม้าก้านกล้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. การละเล่นของเด็กไทย - บทความจากเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]