สัญประกาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ขีดเส้นใต้)
◌̲ ◌̳
สัญประกาศ
วรรคตอน
อะพอสทรอฟี   '
วงเล็บ [ ]  ( )  { }  ⟨ ⟩
ทวิภาค :
จุลภาค ,  ،  
จุดไข่ปลา   ...  . . .      
อัศเจรีย์  !
มหัพภาค .
กิลเลอเมต ‹ ›  « »
ยัติภังค์ -
ยัติภาค   
ปรัศนี  ?
อัญประกาศ ‘ ’  “ ”  ' '  " "
อัฒภาค ;
ทับ /    
ตัวแบ่งคำ
อินเตอร์พังก์ ·
เว้นวรรค     
การพิมพ์ทั่วไป
แอมเพอร์แซนด์ &
ดอกจัน *
แอต @
แบ็กสแลช \
เบสิสพอยต์
บุลเลต
แคเรต ^
แดกเกอร์ † ‡ ⹋
องศา °
บุพสัญญา ” 〃
ดับเบิลไฮเฟน = ⸗
อัศเจรีย์กลับหัว ¡
ปรัศนีกลับหัว ¿
เครื่องหมายอ้างอิง
เครื่องหมายคูณ ×
นัมเบอร์, แฮชแท็ก #
นูเมอโร
ออเบอลุส ÷
ตัวบอกลำดับ º ª
สัญลักษณ์ร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)  %
สัญลักษณ์พันละ (เปอร์มิลล์)
พิลโครว์
บวกและลบ + −
บวกหรือลบ ± ∓
ไพรม์     
เซกชัน §
ทิลเดอ, ตัวหนอน ~
อันเดอร์สกอร์ _
เส้นตั้ง |    ¦
ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ©
กอปปีเลฟต์ 🄯
ลิขสิทธิ์การอัดเสียง
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ®
เซอร์วิสมาร์ก
เครื่องหมายการค้า
สกุลเงิน
เครื่องหมายสัญลักษณ์สกุลเงิน ¤

؋฿¢$֏ƒ£元 圆 圓 ¥

การพิมพ์เฉพาะทาง
แอสเทอริซึม
ฟลอวรอน
ดัชนี
อินเทอร์รอแบง
วรรคตอนไอเรอนี
ลอซินจ์
ไท
ที่เกี่ยวข้อง
ในภาษาอื่น ๆ
ในภาษาไทย
โคมูตร
ตีนครุ
ไปยาลน้อย
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ฟองมัน
ไม้ยมก
อังคั่น , ฯะ, , ๚ะ

สัญประกาศ เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง เป็นการขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญหรือข้อความที่ควรสังเกตพิเศษ อาจจะมีหนึ่งเส้นหรือสองเส้น ตัวอย่างการใช้เช่น

  • ประโยคนี้ สำคัญน้อยกว่า ประโยคนี้
  • ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

สัญประกาศแต่เดิมใช้กับเอกสารที่เขียนด้วยลายมือหรือเครื่องพิมพ์ดีดสำหรับการเน้นข้อความ ในการตรวจเรียงพิมพ์เอกสารลายมือ สัญประกาศถูกใช้เพื่อแสดงว่าข้อความที่ขีดเส้นใต้ควรใช้ไทป์เฟซพิเศษสำหรับเน้นข้อความ เช่นตัวเอนเป็นต้น แต่ในปัจจุบัน เราสามารถเลือกใช้ไทป์เฟซแบบตัวหนาหรือตัวเอนแทนได้ในคอมพิวเตอร์โดยตรง สัญประกาศจึงลดบทบาทความสำคัญลง

บางครั้งสัญประกาศถูกใช้เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษร เพื่อแสดงว่าอักษรตัวนั้นออกเสียงแตกต่างออกไปจากปกติ

การใช้ในคอมพิวเตอร์[แก้]

ในเว็บเบราว์เซอร์ทั่วไป การเชื่อมโยงหลายมิติจะถูกแสดงให้มีขีดเส้นใต้โดยปกติ แต่ทั้งผู้เยี่ยมชมและผู้สร้างเว็บไซต์ สามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงผลการเชื่อมโยงหลายมิติบางส่วนหรือทั้งหมดให้แตกต่างไปจากเดิมได้

แท็กของ HTML คือ <ins> ซึ่งใช้สำหรับระบุว่าเป็นข้อความที่แทรกเพิ่มเข้ามา มักจะถูกแสดงผลให้เป็นข้อความขีดเส้นใต้ และแท็ก <u> ซึ่งใช้สำหรับนำเสนอว่าข้อความจะต้องขีดเส้นใต้ ก็เป็นแท็กที่ล้าสมัยเนื่องจากสามารถใช้สไตล์ชีตแทนได้ นั่นคือ {text-decoration: underline} แต่แท็กเหล่านี้ก็ยังคงมีอยู่ในภาษามาร์กอัพอื่นๆ รวมทั้งในมีเดียวิกิ

ในแฟ้มข้อความธรรมดา รวมทั้งข้อความอีเมลแบบแอสกี การขีดเส้นใต้ไม่สามารถกระทำได้ในข้อความ จึงเปลี่ยนไปใช้อักขระอันเดอร์สกอร์ (_) คลุมที่ข้อความแทนการขีดเส้นใต้ เช่น "You must use an _emulsion_ paint on the ceiling."

ในยูนิโคดมีอักขระชื่อว่า "เส้นล่างแบบผสาน" (combining low line) ที่ U+0332 (◌̲) และ "เส้นล่างคู่แบบผสาน" (combining double low line) ที่ U+0333 (◌̳) ซึ่งจะทำให้เกิดผลลัพธ์คล้ายการขีดเส้นใต้เมื่อใส่อักขระนี้ต่อท้ายตัวอักษรสลับกันไป เช่น u̲n̲d̲e̲r̲l̲i̲n̲e̲ (ความตรงของเส้นขึ้นอยู่กับไทป์เฟซ) อักขระตัวนี้ไม่ควรสับสนกับ "มาครอนใต้แบบผสาน" (combining macron below) ซึ่งเป็นเส้นที่สั้นกว่า

สัญประกาศในภาษาอื่น[แก้]

เดิมภาษาจีนไม่มีการใช้สัญประกาศ เนื่องจากงานเขียนโบราณของจีนล้วนใช้พู่กัน แต่เมื่อมีการพัฒนาเทคนิคการพิมพ์ขึ้น จึงเริ่มมีการใช้สัญประกาศ แต่ไม่ได้ใช้สำหรับการเน้นข้อความ

สัญประกาศในภาษาจีนมีสองแบบคือ "เครื่องหมายชื่อเฉพาะ" (จีนตัวย่อ: 专名号; จีนตัวเต็ม: 專名號; พินอิน: zhuānmínghào จวานหมิงเฮ่า) เป็นเส้นตรงเหมือนขีดเส้นใต้ธรรมดา (_) ใช้สำหรับกำกับที่ข้อความที่เป็นวิสามานยนาม อาทิชื่อบุคคลหรือสถานที่ อีกแบบหนึ่งคือ "เครื่องหมายชื่อหนังสือ" (จีนตัวย่อ: 书名号; จีนตัวเต็ม: 書名號; พินอิน: shūmínghào ซูหมิงเฮ่า) เส้นจะมีลักษณะเป็นคลื่น () ใช้กำกับชื่อหนังสือเท่านั้น (ปัจจุบันนิยมใช้วงเล็บแหลม 《》〈〉 คร่อมชื่อหนังสือแทน)

ในกรณีที่มีชื่อเฉพาะอยู่ติดกันสองตัวขึ้นไป ชื่อเฉพาะแต่ละชื่อจะเขียนสัญประกาศแยกกัน ดังนั้นในการพิมพ์จึงมีการใส่ช่องว่างแคบๆ คั่นระหว่างชื่อเฉพาะเหล่านั้น และถ้าหากหนังสือเขียนในแนวตั้ง สัญประกาศก็จะเขียนในแนวตั้งกำกับไว้ที่ด้านข้างของอักษรแทน (︳︴)

ดูเพิ่ม[แก้]