ของเหลววิกฤตยิ่งยวด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ของเหลววิกฤตยิ่งยวด (supercritical fluid, SCF ) คือสารใด ๆ ที่อุณหภูมิและความดันเหนือจุดวิกฤต ซึ่งไม่มีความแตกต่างของสถานะของเหลวและแก๊ส แต่ต่ำกว่าความดันในการอัดให้เป็นของแข็ง[1] มันสามารถละลายผ่านของแข็งที่มีรูพรุนได้เหมือนแก๊ส ละเว้นข้อจำกัดในการถ่ายโอนมวลที่ทำให้การไหลของของเหลวผ่านวัสดุดังกล่าวช้าลง SCF นั้นเหนือกว่าแก๊สมากในด้านความสามารถในการทำละลายวัสดุอย่างของเหลวหรือของแข็ง นอกจากนี้บริเวณใกล้จุดวิกฤต การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความดันหรืออุณหภูมิส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นอย่างมาก ทำให้คุณสมบัติหลายอย่างของของไหลวิกฤตยิ่งยวดสามารถควบคุมได้อย่างละเอียด

ของเหลววิกฤตยิ่งยวดเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศของ ดาวแก๊สยักษ์ เช่น ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์, ดาวเคราะห์คล้ายโลก เช่น ดาวศุกร์ และอาจอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวน้ำแข็งยักษ์ เช่น ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน พบน้ำวิกฤตยิ่งยวดบนโลก เช่น น้ำที่ออกมาจากปล่องแบบน้ำร้อน ซึ่งเป็นปล่องไฮโดรเทอร์มอลใต้น้ำชนิดหนึ่ง[2] มันสามารถใช้แทนตัวทำละลายอินทรีย์ ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมและห้องปฏิบัติการต่าง ๆ คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ เป็นของเหลววิกฤตยิ่งยวดที่ใช้กันมากที่สุด มักใช้สำหรับการสกัดคาเฟอีน และการผลิตกระแสไฟฟ้า คุณสมบัติที่น่าสนใจคือ สารบางชนิดสามารถละลายได้ในสภาวะวิกฤตยิ่งยวดของตัวทำละลาย (เช่น คาร์บอนไดออกไซด์) แต่ไม่ละลายในสถานะแก๊สหรือของเหลว หรือในทางกลับกัน สามารถใช้ในการสกัดสารและขนส่งไปยังที่อื่นในสารละลายก่อนที่จะเก็บไว้ในที่ที่ต้องการโดยเพียงแค่สร้างปัจจัยหรือเหนี่ยวนำการเปลี่ยนสถานะในตัวทำละลาย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Schlosky, Kevin (1989). "Supercritical phase transitions at very high pressure". J. Chem. Educ. 66 (12): 989. Bibcode:1989JChEd..66..989S. doi:10.1021/ed066p989.
  2. Koschinsky, Andrea (2008). "Hydrothermal venting at pressure-temperature conditions above the critical point of seawater, 5°S on the Mid-Atlantic Ridge". Geology. 36 (8): 615. Bibcode:2008Geo....36..615K. doi:10.1130/G24726A.1.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]