ขรรคปุระ

พิกัด: 22°19′49″N 87°19′25″E / 22.330239°N 87.323653°E / 22.330239; 87.323653
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขรรคปุระ

খড়্গপুর
นคร
สถานีรถไฟชุมทางขรรคปุระ
สถานีรถไฟชุมทางขรรคปุระ
ขรรคปุระตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ขรรคปุระ
ขรรคปุระ
ที่ตั้งของขรรคปุระในประเทศอินเดีย
พิกัด: 22°19′49″N 87°19′25″E / 22.330239°N 87.323653°E / 22.330239; 87.323653
ประเทศ อินเดีย
รัฐเบงกอลตะวันตก
เขตปัศจิมเมทินีปุระ
พื้นที่
 • ทั้งหมด127 ตร.กม. (49 ตร.ไมล์)
ความสูง61 เมตร (200 ฟุต)
ประชากร
 (พ.ศ. 2554)
 • ทั้งหมด207,604[1] คน
 • อันดับ221
ภาษา
 • ภาษาราชการเบงกอลและอังกฤษ
เขตเวลาUTC+5:30 (เวลามาตรฐานอินเดีย)
รหัสไปรษณีย์721301 / 721305
รหัสโทรศัพท์ทางไกล03222
ทะเบียนพาหนะWB-36-xxxx
เขตเลือกตั้งโลกสภาเมทินีปุระ
เขตเลือกตั้งวิธานสภาขรรคปุรสัทระ
เว็บไซต์kharagpurmunicipality.org

ขรรคปุระ (เบงกอล: খড়্গপুর; อังกฤษ: Kharagpur) เป็นเมืองในเขตปัศจิมเมทินีปุระ จังหวัดเมทินีปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ขรรคปุระตั้งอยู่บนชายฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำกังสาพตี ทางตอนใต้ของรัฐเบงกอลตะวันตก โดยอยู่ห่างจากนครโกลกาตาซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐไปทางทิศตะวันตกประมาณ 110 กิโลเมตร[2]

ขรรคปุระเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมสำคัญหลายประเภท และเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟชุมทางขรรคปุระ ซึ่งเป็นชุมทางรถไฟที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย[2] เส้นทางรถไฟสายหลักที่ผ่านชุมทางขรรคปุระมีจำนวน 5 สาย ได้แก่สายหาวรา-นาคปุระ-มุมไบ สายหาวรา-เจนไน สายหาวรา-ขรรคปุระ สายอาสานโสละ-ฏาฏานคร-ขรรคปุระ และสายขรรคปุระ-ปุรี ชานชาลาของสถานีรถไฟชุมทางขรรคปุระมีความยาว 1,072.5 เมตร ซึ่งยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก[3] นอกจากนี้ ขรรคปุระยังเป็นที่ตั้งของสถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย ขรรคปุระ (ไอไอที ขรรคปุระ) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในกลุ่มสถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2494[4]

จากรายงานสำมะโนประชากรครั้งล่าสุด ซึ่งจัดทำใน พ.ศ. 2554[1] ขรรคปุระมีประชากร 207,604 คน โดยแบ่งเป็นชาย 106,559 คน และหญิง 101,045 คน ในขณะที่ประชากรรวมของขรรคปุระและเขตปริมณฑล ได้แก่นิคมรถไฟขรรคปุระ และกลายกุนฑะ มีจำนวน 299,683 คน ได้แก่ชาย 153,143 คนและหญิง 146,540 คน ประชากรประมาณร้อยละ 85 ของขรรคปุระรู้หนังสือ ประชากรร้อยละ 80 โดยประมาณนับถือศาสนาฮินดู รองลงมาได้แก่ศาสนาอิสลามซึ่งมีผู้นับถือประมาณร้อยละ 13

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Kharagpur City demography". องค์การสำมะโนประชากรแห่งประเทศอินเดีย. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "Kharagpur". สารานุกรมบริแทนนิกา. 14 มีนาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "District Census Handbook - Paschim Medinipur" (PDF). สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "IIT KGP History". สถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย ขรรคปุระ. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)