ขนมจีบ
ขนมจีบ | |||||||||||
![]() | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 燒賣 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 烧卖 | ||||||||||
|
ขนมจีบ (จีนตัวย่อ: 烧卖; จีนตัวเต็ม: 燒賣; พินอิน: shāomài; ยฺหวิดเพ็ง: siu1 maai6*2) เป็นอาหารจีนประเภทติ่มซำที่ทำจากเนื้อสัตว์ห่อด้วยแป้งแล้วนำไปนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้เนื้อหมูสับแต่ก็อาจมีการใช้เนื้อสัตว์ชนิดอื่น รวมถึงไม่ใช้เนื้อ แป้งห่อใช้แป้งสาลีเป็นหลัก แต่ก็มีการใช้แป้งอื่น หรืออาจไม่ใช้แป้งห่อก็ได้[1]
ชื่อเรียก
[แก้]มีทฤษฎีหลายประการเกี่ยวกับที่มาของชื่อ หนึ่งในนั้นคือมาจากการที่ในประเทศจีน รวงข้าวสาลีที่เปลี่ยนเป็นสีดำเนื่องจากโรคจะถูกเผาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ได้ถูกเรียกชื่อว่า 燒麥 นี่จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ เนื่องมาจากมีลักษณะคล้ายคลึงกัน[2]
อย่างไรก็ตาม ในมณฑลทางตอนใต้ของจีนมักเขียนเป็น 燒賣 โดยที่ 麥 กับ 賣 นั้นออกเสียงเหมือนกันในภาษาจีนกลาง[3] ปัจจุบันการเขียนว่า 燒賣 เป็นที่นิยมใช้ทั่วไปมากกว่า
ประวัติศาสตร์
[แก้]เอกสารประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งพบคำว่า shumai คือ สิ่งพิมพ์ของโครยอในยุคราชวงศ์หยวน ช่วงศตวรรษที่ 14 ซึ่งกล่าวถึงร้านค้าในต้าตู (ปัจจุบันคือปักกิ่ง) เมืองหลวงของราชวงศ์หยวน[3][4]
บทที่ 42 ของนวนิยายเรื่องบุปผาในกุณฑีทอง ซึ่งเป็นนวนิยายในยุคราชวงศ์หมิง มีคำบรรยายถึงตัวละครที่กำลังกินขนมจีบ[4]
เมื่อจักรพรรดิองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ชิง เฉียนหลง เดินทางลงใต้ของแม่น้ำแยงซี ได้มีขนมจีบใส่เนื้อหมูและผักปวยเล้งปรากฏบนเมนูหลายครั้ง[4]
การทำ
[แก้]ขนมจีบมักจะทำโดยการนึ่ง แต่ก็สามารถย่างบนกระทะร้อน ทอดน้ำมัน หรือใส่ในซุป ได้เช่นกัน[5] [5]
ในภาคเหนือของจีนมีการวัตถุดิบเป็น เนื้อแกะ ต้นหอม หัวไชเท้า ส่วนทางใต้อาจใช้ เนื้อหมู และ ข้าวเหนียว[6]
ขนมจีบญี่ปุ่น
[แก้]
ที่ประเทศญี่ปุ่นเรียกขนมจีบว่า ชูไม (しゅうまい) โดยมีที่มาจากเสียงอ่านในภาษากวางตุ้ง "ซิ้วหมาย" นอกจากนี้ยังมีการเรียกว่า "ชิอุไม" (しうまい) ด้วย
ว่ากันว่าร้านอาหารฮากุงะเตย์ (博雅亭) ในเมืองโยโกฮามะเป็นร้านแรกที่ผลิตและจำหน่ายขนมจีบในปี 1899[7] ร้านคิโยเก็งเปิดทำการในปี 1908 และเริ่มจำหน่าย เบ็นโตขนมจีบ (シウマイ弁当) ซึ่งเป็นเอกิเบ็งที่ใส่ขนมจีบ ทำให้ขนมจีบเป็นที่รู้จักในญี่ปุ่นขึ้นมา
ในเมืองคารัตสึของจังหวัดซางะ มีการนำเนื้อหมึกมาใช้เป็นไส้ขนมจีบ เกิดเป็นเมนูที่เรียกว่า อิกาชูไม ถือเป็นอาหารพิเศษประจำท้องถิ่นที่ได้รับความนิยม[8][9]
ในเมืองอาชิกางะของจังหวัดโทจิงิ มีอาหารท้องถิ่นชนิดหนึ่ง เรียกว่าอาชิกางะชูไม ซึ่งไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์[9][10] นอกจากนี้แล้ว ในเมืองคานุมะ จังหวัดเดียวกัน มีความเคลื่อนไหวเพื่อทำให้เมืองนี้เป็น "เมืองแห่งขนมจีบ" เพราะเป็นสถานที่เกิดของประธานคนแรกของคิโยเก็ง[11][12][13][14]
มีการใช้ขนมจีบเป็นส่วนประกอบของโอเด็ง [15] มีการขายตามร้านสะดวกซื้อ[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ シュウマイ潤 (2018-05-16). "シュウマイ潤の焼売探訪。「焼売」の"プロレス"的魅力を体感できる『野田焼売店』の魅力とは?". 食楽web. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30.
- ↑ "知っているようで知らない!点心の王道シュウマイの基礎知識". オリーブオイルをひとまわし. 2020-02-27. สืบค้นเมื่อ 2024-12-20.
- ↑ 3.0 3.1 瑞真 (2017-06-13). "绝处逢生时的意外发明—烧卖". 大紀元時報 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2022-07-01.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 西坡 (2020-04-25). "烧卖" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2022-07-01.
- ↑ 5.0 5.1 "焼売はごちそうだ!". ELLE gourmet. ハースト婦人画報社 (25): 115. 2021.
- ↑ 国立民族学博物館 (2015-10-14). "嗜好に応じ進化する庶民の食" (PDF). 京都新聞. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-01. สืบค้นเมื่อ 2022-06-29.
- ↑ ""元祖"は崎陽軒ではなかった!? 焼売の奥深き世界". AERA dot. 2015-04-01. สืบค้นเมื่อ 2022-06-29.
- ↑ "佐賀県のいかしゅうまい". 旅ぐるたび. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-03. สืบค้นเมื่อ 2018-08-19.
- ↑ 9.0 9.1 "ブーム到来? 常識外れの「ご当地焼売」に注目せよ!!". AERA dot. 朝日新聞社. 2015-05-26. สืบค้นเมื่อ 2018-08-30.
- ↑ "県南編(1)シューマイ 肉なしでモチッ". YOMIURI ONLINE. 読売新聞社. 2014-02-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-30. สืบค้นเมื่อ 2018-08-30.
- ↑ "鹿沼 シューマイのまちへ 崎陽軒の初代社長、市出身 商議所中心に3者連携". 下野新聞. 2020-10-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-01. สืบค้นเมื่อ 2021-01-01.
- ↑ "認知ゼロなのに?シューマイまちおこしのワケ". 日テレNEWS24. 日本テレビ放送網. 2020-10-23. สืบค้นเมื่อ 2021-01-01.
- ↑ "鹿沼 シューマイの街に". 読売新聞. 2020-12-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-01. สืบค้นเมื่อ 2021-01-01.
- ↑ 重政紀元 (2024-08-08). "ギョーザの街の隣がなぜシウマイの街に きっかけは崎陽軒との縁". 朝日新聞. สืบค้นเมื่อ 2024-08-10.
- ↑ "変わりおでん". アサヒビール. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01.
- ↑ "ファミリーマート 人気のおでんBEST5". 第三文明. 第三文明社 (2018年11月号). 2018.