กูปูวาซู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กูปูวาซู
ต้นกูปูวาซูในพื้นที่ปลูกแห่งหนึ่งใกล้เมืองมาเนาส์ในบราซิล
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: ชบา
วงศ์: ชบา
สกุล: Theobroma
(Willd. ex Spreng.) K.Schum.
สปีชีส์: Theobroma grandiflorum
ชื่อทวินาม
Theobroma grandiflorum
(Willd. ex Spreng.) K.Schum.

กูปูวาซู (โปรตุเกส: cupuaçu, cupuassu, cupuazú, cupu assu, copoasu; ชื่อวิทยาศาสตร์: Theobroma grandiflorum) เป็นพรรณไม้ป่าดิบชื้นชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันกับโกโก้[2] พบขึ้นทั่วไปในแอ่งแอมะซอนและมีการเพาะปลูกในพื้นที่ป่ารกของโคลอมเบีย โบลิเวีย เปรู และตอนเหนือของบราซิลโดยมีการผลิตมากที่สุดในรัฐปารา[2] เนื้อในผลกูปูวาซูเป็นที่นิยมบริโภคตลอดทั้งอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เป็นผลไม้ประจำรัฐปารา[3] และเป็นส่วนผสมในไอศกรีม ของว่างอัดแท่ง[4] และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ[5][6]

ลำต้น[แก้]

ต้นกูปูวาซูโดยทั่วไปมีความสูงระหว่าง 5–15 เมตร (16–49 ฟุต) แต่บางต้นอาจสูงถึง 20 เมตร (66 ฟุต) เปลือกไม้มีสีน้ำตาล ใบมีความยาวระหว่าง 25–35 เซนติเมตร (9.8–13.8 นิ้ว) และกว้าง 6–10 เซนติเมตร (2.4–3.9 นิ้ว) โดยมีเส้นใบ 9 หรือ 10 คู่ เมื่อโตเต็มที่ใบจะเปลี่ยนจากสีออกชมพูเป็นสีเขียว และจะเริ่มออกผลในที่สุด[7]

ผล[แก้]

ผลกูปูวาซูเมื่อเปิดออก

เนื้อสีขาวของผลกูปูวาซูมีกลิ่นหอมที่ได้รับการพรรณนาว่าคล้ายกลิ่นช็อกโกแลตผสมสับปะรด และมักนำมาใช้เป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้ ของหวาน และขนมหวาน น้ำจากผลกูปูวาซูมีรสชาติคล้ายแพร์ กล้วย เสาวรส และเมลอน[8][9]

โดยทั่วไปผลกูปูวาซูจะถูกเก็บจากพื้นดินเมื่อมันตกจากต้นตามธรรมชาติ เราสามารถประเมินความสุกงอมภายในผลได้ยากเนื่องจากภายนอกผลไม่มีการเปลี่ยนสีที่เห็นได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในสภาวะแบบภูมิภาคแอมะซอนตะวันตกของโคลอมเบีย ผลมักจะสุกแก่เต็มที่ภายใน 117 วันหลังจากดอกเจริญเป็นผลชัดเจน[10][11] ชาวบราซิลนิยมกินผลสด ๆ หรือนำผลไปทำของหวาน[12]

ผลิตภัณฑ์อาหารจากกูปูวาซูในเชิงพาณิชย์ได้แก่เนื้อผลและผง[13]

สารพฤกษเคมี[แก้]

กลิ่นรสของผลกูปูวาซูมาจากสารพฤกษเคมีอย่างแทนนิน, ไกลโคไซด์, ทีโอแกรนดิน, แคทิชิน, เควอร์ซิทิน, เค็มป์เฟอรอล และไอโซสกูเทลลาเรน[14] นอกจากนี้ยังมีกาเฟอีน, ธีโอโบรมีน และธีโอฟิลลีนเช่นที่พบในโกโก้ แต่ผลกูปูวาซูมีกาเฟอีนในปริมาณที่ต่ำกว่ามาก[15][16]

เนยกูปูวาซู[แก้]

เนยกูปูวาซู (มังเตย์กาจีกูปูวาซู)

เนยกูปูวาซูเป็นไตรกลีเซอไรด์ที่ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว ทำให้เนยมีจุดหลอมเหลวต่ำ (ประมาณ 30 องศาเซลเซียส) และมีเนื้อสัมผัสนุ่ม จึงเอื้อต่อการนำไปทำขนมหวานที่มีลักษณะคล้ายช็อกโกแลตขาว[2] ส่วนประกอบที่เป็นกรดไขมันหลักของเนยกูปูวาซูคือ กรดสเตียริก (ร้อยละ 38), กรดโอเลอิก (ร้อยละ 38), กรดปาลมิติก (ร้อยละ 11) และกรดแอราคิดิก (ร้อยละ 7)[17][18]

อ้างอิง[แก้]

  1. Fernandez, E.; Moraes, M.; Martinelli, G.; Colli-Silva, M. (2021). "Theobroma grandiflorum". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T191158664A191158666. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-1.RLTS.T191158664A191158666.pt. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 Giacometti DC (1998). "Cupuaçu. In: Neglected Crops: 1492 from a Different Perspective, J.E. Hernándo Bermejo and J. León (eds.). Plant Production and Protection Series No. 26. FAO, Rome, Italy. p. 205-209". Center for New Crops & Plant Products, Purdue University, Department of Horticulture and Landscape Architecture, W. Lafayette, IN, USA.
  3. "Cupuaçu - the taste of the Amazon - Kew". kew.org. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
  4. Balston, Catherine; Derry, Johanna (17 April 2014). "Cupuaçu: Brazil's new alternative to chocolate". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
  5. Prazeres, Isadora (2017). "Elaboration and characterization of snack bars made with ingredients from the Amazon". Acta Amazonica. 47 (2): 103–110. doi:10.1590/1809-4392201602203.
  6. "Brazil: Biodiversity for Food and Nutrition". b4fn.org. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
  7. "Theobroma grandiflorum Cupuassu, Cupuacu PFAF Plant Database". pfaf.org. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
  8. Silva, F.M.; Silva, C.L.M. (1 February 2000). "Note. Quality evaluation of cupuaçu (Theobroma grandiflorum) purée after pasteurization and during storage / Nota. Calidad del puré de cupuaçu (Theobroma grandiflorum) después de la pasterización y durante su almacenamiento". Food Science and Technology International. 6 (1): 53–58. doi:10.1177/108201320000600108.
  9. Teixeira, Maria Francisca Simas; Andrade, Jerusa Souza; Fernandes, Ormezinda Celeste Cristo; Durán, Nelson; Lima Filho, José Luiz de (28 October 2018). "Quality Attributes of Cupuaçu Juice in Response to Treatment with Crude Enzyme Extract Produced byAspergillus japonicus586". Enzyme Research. 2011: 494813. doi:10.4061/2011/494813. PMC 3206358. PMID 22114735.
  10. Hernandez, Claudia (March 1, 2012). "Growth and development of the cupuacu fruit (Theobroma grandiflorum [Wiild. Ex Spreng.] Schum.) in the western colombian Amazon". Agronomia Colombiana. 30: 95–102.
  11. Hernández L., Claudia; Hernández G., María Soledad (28 October 2018). "Growth and development of the cupuaçu fruit (Theobroma grandiflorum [Willd. Ex Spreng.] Schum.) in the western colombian Amazon". Agronomía Colombiana. 30 (1). สืบค้นเมื่อ 28 October 2018 – โดยทาง www.redalyc.org.
  12. "This Brazilian Fruit Makes Beer, Ice Cream, and Faux Chocolate". Atlas Obscura. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
  13. Silva, Alessandra Eluan da; Silva, Luiza Helena Meller da; Pena, Rosinelson da Silva (1 December 2008). "Hygroscopic behavior of açaí and cupuaçu powders". Food Science and Technology. 28 (4): 895–901. doi:10.1590/S0101-20612008000400020.
  14. Yang, H.; Protiva, P.; Cui, B.; Ma, C.; Baggett, S.; Hequet, V.; Mori, S.; Weinstein, I. B.; Kennelly, E. J. (2003). "New bioactive polyphenols from Theobroma grandiflorum ("cupuaçu")". Journal of Natural Products. 66 (11): 1501–1504. doi:10.1021/np034002j. PMID 14640528.
  15. Lo Coco F, Lanuzza F, Micali G, Cappellano G (2007). "Determination of theobromine, theophylline, and caffeine in by-products of cupuaçu and cacao seeds by high-performance liquid chromatography". J Chromatogr Sci. 45 (5): 273–5. doi:10.1093/chromsci/45.5.273. PMID 17555636.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) pdf
  16. Sira, Elevina Pèrez (28 October 2018). The Uses of Cocoa and Cupuaçu Byproducts in Industry, Health, and Gastronomy. Nova Science Publishers. ISBN 9781536134575. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018 – โดยทาง Google Books.
  17. Cohen, K. de O. & Jackix, M. de N. H. (2009). "Características químicas e física da gordura de cupuaçu e da manteiga de cacau" (PDF). Documentos / Embrapa Cerrados (ภาษาโปรตุเกส) (269): 1–22.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  18. "The Uses of Cocoa and Cupuaçu Byproducts in Industry, Health, and Gastronomy - Nova Science Publishers". Nova Science Publishers. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]