กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 19

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 19
เมืองเจ้าภาพจังหวัดเพชรบุรี
ทีมเข้าร่วม76 จังหวัด
นักกีฬาเข้าร่วม4,433 คน
กีฬา24 ชนิดกีฬา
พิธีเปิด19 มีนาคม 2546 (2546-03-19)
พิธีปิด29 มีนาคม 2546 (2546-03-29)
ประธานพิธีเปิดนิรันดร์ชัย เพชรสิงห์

การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 19 หรือ ช้างเผือกเกมส์[1] จังหวัดเพชรบุรี ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 19 รูปแบบใหม่ซึ่งกำหนดให้มีการแข่งขันระหว่างวันที่ 19-29 มีนาคม พ.ศ. 2546 โดยมีนายนิรันดร์ชัย เพชรสิงห์ ผู้ว่า ราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานกรรมการจัดการแข่งขัน มีการแข่งขันกีฬารวม 24 ประเภท คือ กรีฑา แบดมินตัน บาสเกตบอล มวยสากลสมัครเล่น จักรยาน ลีลาศ ฟุตบอล กอล์ฟ ยิมนาสติก แฮนด์บอล ยูโด เทนนิส รักบี้ฟุตบอล มวยไทยสมัครเล่น เปตอง ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส เทควันโด เซปักตะกร้อ วอลเลย์บอล ยกน้ำหนัก มวยปล้ำ ยิงปืน และสนุกเกอร์ มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 5 ภาค จำนวน 4,433 คน รวมนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้น 5,576 คน


การคัดเลือกนักกีฬา[แก้]

แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

  • การแข่งขันระดับจังหวัด เป็นการแข่งขันเพื่อคัดเลือกนักกีฬาตัวแทนของจังหวัด โดยให้จังหวัดดำเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จก่อนการแข่งขันคัดเลือกระดับภาค ไม่น้อยกว่า 2 เดือน
  • การแข่งขันระดับภาค เป็นการแข่งขันเพื่อคัดเลือกนักกีฬาของแต่ละภาค โดยให้แต่ละจังหวัดภายในภาค ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันตามชนิดและประเภทกีฬาที่มีการคัดเลือก ทั้งนี้ต้องดำเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จก่อนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ไม่น้อยกว่า 4 เดือน
  • การแข่งขันระดับชาติ เป็นการดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาที่จังหวัดส่งเข้าร่วมการแข่งขันได้โดยตรง เว้นแต่ชนิดกีฬาที่กำหนดให้มีการการแข่งขันคัดเลือกในระดับภาค โดยจะต้องดำเนินการจัดการแข่งขันในช่วงระยะเวลาที่ กกท. กำหนด


จังหวัดที่ร่วมแข่งขัน[แก้]

การแบ่งภาคกีฬาเยาวชนแห่งชาติ[แก้]

เพื่อเป็นการพัฒนากีฬาเยาวชนของชาติ และให้การดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้แบ่งกลุ่มการ แข่งขันโดยกำหนดจังหวัดที่ใกล้เคียงและสะดวกแก่การคมนาคมรวมกันเข้าเป็นภาค รวมทั้งสิ้น 5 ภาค ประกอบด้วย

  • ภาค 1 มี 15 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครปฐม นนทบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ปทุมธานี ระยอง สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสระแก้ว
  • ภาค 2 มี 13 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครสวรรค์ ปราจีนบุรี อยุธยา ราชบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี สระบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี
  • ภาค 3 มี 19 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
  • ภาค 4 มี 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง ปัตตานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี
  • ภาค 5 มี 15 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย และอุตรดิตถ์

ชนิดกีฬา[แก้]

การจำแนกชนิดกีฬาที่บรรจุเข้าแข่งขัน[แก้]

  • กีฬาบังคับ ได้แก่ กรีฑา และว่ายน้ำ
  • กีฬาสากล จัดแข่งขันไม่น้อยกว่า 13 ชนิดกีฬา แต่ไม่เกิน 18 ชนิดกีฬา โดยเลือกจากชนิดกีฬาที่ กกท. อนุญาตให้ดำเนินการจัดตั้งสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย ได้แก่ แบดมินตัน บาสเกตบอล มวยสากลสมัครเล่น จักยาน ลีลาศ ฟุตบอล ยิมนาสติกสากล-ลีลา ยูโด เปตอง รักบี้ฟุตบอล เซปัคตะกร้อชาย-หญิง เทเบิลเทนนิส เทควันโด เทนนิส วอลเลย์บอลในร่ม-ชายหาด ยกน้ำหนัก กอล์ฟ แฮนด์บอล มวยปล้ำ ยิงปืน และสนุกเกอร์
  • กีฬาอนุรักษ์ จัดแข่งขันไม่น้อยกว่า 1 ชนิดกีฬา แต่ไม่เกิน 2 ชนิดกีฬา ได้แก่ มวยไทยสมัครเล่น

อ้างอิง[แก้]

  1. http://football.sanook.com/others/00633.php "ช้างเผือกเกมส์"พร้อม 24ชนิดกีฬาช่อง 11 ยิงสด