กิ้งก่าดงคอสีฟ้า
กิ้งก่าหัวสีฟ้า | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Squamata |
วงศ์: | Agamidae |
วงศ์ย่อย: | Agaminae |
สปีชีส์: | C. mystaceus |
ชื่อทวินาม | |
Calotes mystaceus |
กิ้งก่าหัวสีฟ้า[1] (อังกฤษ: Blue-crested Lizard, Indo-Chinese Forest Lizard, Indo-Chinese Bloodsucker; ชื่อวิทยาศาสตร์: Calotes mystaceus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ชนิดหนึ่ง
จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ คล้ายคลึงกับกิ้งก่าหัวแดง แต่บริเวณท้ายทอยมีหนามเล็กๆยื่นออกมา 2 คู่ ในตัวเต็มวัย มีสีสันสวยงามมาก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้มไล่ลงมาอ่อน ตัดกับจุดกลมสีครีม 3 จุด บริเวณข้างลำตัว ตั้งแต่หัวไล่ลงมาจนหลังมีสีฟ้าเข้มแกมเขียว หน้ามีคาดสีขาว เป็นสัตว์ที่มีอาณาเขต ต้นไม้หนึ่งต้นที่พบ อาจพบมีมากกว่า 1 ตัว โดยจะมีตัวผู้ ปกครอง อยู่เสมอ ถิ่นอาศัยค่อนข้างแตกต่างกับกิ้งก่าคอแดง กิ้งก่าวัยอ่อนมักอาศัยอยู่ตามโคนต้นไม้เล็กๆ หรือตามพุ่มไม้ ตัวเต็มวัยมักเกาะหากินตามลำต้นไม้ขนาดใหญ่ หรือ ระดับเรือนยอด โดยวิ่งกินแมลงขนาดใหญ่ตามเปลือกไม้ หรือ พื้น ได้ดี เช่น มด ด้วง แมลงสาบ กิ้งก่าวัยอ่อนชอบกิน ตัวอ่อนด้วง และ แมลงสาบป่า ขนาดเล็ก ช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะปกป้องอาณาเขตต้นไม้และตัวเมียอย่างดุร้าย ขุดหลุมวางไข่ครั้งละ 7-8 ฟอง มักพบในป่าที่ค่อนข้างแห้ง หรือ ตามต้นไม้ริมถนน พบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง . และ มักถูกจำสับสนกับกิ้งก่าอีกสายพันธุ์หนึ่งคือ กิ้งก่าดงคอฟ้า ซึ่งหายากกว่ามาก
ลักษณะ
[แก้]ความยาวจากหัวถึงก้น 10 เซนติเมตร ความยาวจากหัวถึงปลายหาง 25 เซนติเมตร หน้าค่อนข้างสั้น มีหนามเหนือตา และเหนือแผ่นหู มีแผงหนามบนคอ และตามแนวสันหลังโดยเว้นช่วงหลังคอ ลักษณะเด่นคือมีลายแถบสีดำ รูปทรงคล้ายเพชรบริเวณคอที่เป็นช่องว่าง ระหว่างแผงหนาม ลำตัวมักมีสีน้ำตาล เทา หรือดำ สามารถเปลี่ยนสี และลวดลายได้ตามสภาพแวดล้อม และอารมณ์ [2]
การกระจายพันธุ์
[แก้]กิ้งก่าหัวสีฟ้า สามารถพบในประเทศพม่าตอนกลางถึงตอนล่าง ประเทศไทยจนถึงคอคอดกระ ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูล
[แก้]- กิ้งก่าดงคอสีฟ้า, หรรษานานาสัตว์, วารสาร อพวช.
- Calotes mystaceus DUMÉRIL & BIBRON, 1837 : http://reptile-database.reptarium.cz/species?genus=Calotes&species=mystaceus