กำมะถันแดง
หน้าตา
กำมะถันแดงหรือเรียลการ์ | |
---|---|
ผลึกกำมะถันแดงจากเหมืองในสหรัฐ | |
การจำแนก | |
ประเภท | Sulfide mineral |
สูตรเคมี | As4S4 or AsS |
คุณสมบัติ | |
สี | แดงจนถึงเหลืองส้ม; in polished section, pale gray, with abundant yellow to red internal reflections |
รูปแบบผลึก | Prismatic striated crystals; more commonly massive, coarse to fine granular, or as incrustations |
โครงสร้างผลึก | Monoclinic prismatic |
การเกิดผลึกแฝด | Contact twins on {100} |
แนวแตกเรียบ | Good on {010}; less so on {101}, {100}, {120}, and {110} |
ความยืดหยุ่น | Sectile, slightly brittle |
ค่าความแข็ง | 1.5–2 |
ความวาว | Resinous to greasy |
ดรรชนีหักเห | nα = 2.538 nβ = 2.684 nγ = 2.704 |
คุณสมบัติทางแสง | Biaxial (-) |
ค่าแสงหักเหสองแนว | δ = 0.166 |
การกระจายแสง | r > v, very strong |
การเปลี่ยนสี | จากเกือบไม่มีสีเป็นสีเหลืองทอง |
สีผงละเอียด | แดงอมส้มถึงแดง |
ความถ่วงจำเพาะ | 3.56 |
ความโปร่ง | Transparent |
คุณสมบัติอื่น | เป็นพิษและก่อมะเร็ง |
อ้างอิง: [1][2][3][4] |
กำมะถันแดง สุพรรณถันแดง มาดแดง หรือหรดาลแดง[5]หรือในภาษาอังกฤษเรียกเรียลการ์ (Realgar), α-As4S4 เป็นสารประกอบในกลุ่มอาร์เซนิกซัลไฟด์ ปรากฏในรูปผลึก เป็นเม็ดละเอียด หรือเป็นผง มักจะเกิดร่วมกับออร์พิเมนต์ (As2S3) มีสีส้มแดง ละลายที่ 320 °C ชื่อของสารนี้มาจากจากภาษาอาหรับ rahj al-ġār (رهج الغار, "powder of the mine"), ผ่านทาง ภาษากาตาลา และ ภาษาละตินยุคกลาง[6]
ในตำรายาไทยใช้เป็นยาแก้ลมป่วง กามโรค ในตำรายาจีน ใช้แก้พิษ ขับพยาธิ แก้ลมชัก ในทางอุตสาหกรรมใช้ทำสีและใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง หากร่างกายได้รับมากจะเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง[7]
ภาพของกำมะถันแดง
[แก้]-
ผลึกเรียลการ์บน แคลไซด์, 8.9 x 6.9 x 3.6 cm.จากประเทศจีน
-
เรียลการ์กับเตตระฮีไดรต์ ในประเทศเปรู
-
เรียลการ์เมื่อสัมผัสกับแสงสว่างเป็นเวลานานจะเกิดผงสีแดงอมเหลืองเกาะด้านนอก จึงควรป้องกันการถูกแสง
-
ลักษณะผลึกของเรียลการ์ แสดงโมเลกุลที่เป็นองค์ประกอบคือ As4S4
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Handbook of Mineralogy
- ↑ Realgar at Mindat.org
- ↑ Realgar at Webmineral
- ↑ Klein, Cornelis and Cornelius S. Hurlbut, Manual of Mineralogy, Wiley, 1985, 20th ed., p. 282 ISBN 0-471-80580-7
- ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556. หน้า 11
- ↑ Philip Babcock Grove, บ.ก. (1993). Webster's Third New International Dictionary. Merriam-Webster, inc. ISBN 3-8290-5292-8.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-22. สืบค้นเมื่อ 2014-08-17.