กาแล็กโทซีเมีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กาแล็กโทซีเมีย
(Galactosemia)
กาแล็กโทส
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ

กาแล็กโทซีเมีย (อังกฤษ: Galactosemia หรือ Galactosaemia จากภาษากรีก γαλακτόζη + αίμα แปลว่า กาแล็กโทส+เลือด; การสะสมของกาแล็กโทสในเลือด) หรือ ภาวะกาแล็กโทสในเลือด เป็นโรคเมตาบอลิซึมทางพันธุกรรม (genetic metabolic disorder) ชนิดหนึ่งที่พบได้ยาก อันส่งผลต่อความสามารถของผู้ป่วยในการย่อย (metabolise) กาแล็กโทสมีความผิดปกติ กาแล็กโทซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดออโตโซมัล รีเซสสีฟ (autosomal recessive) ซึ่งส่งผลให้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายกาแล็กโทสบกพร่อง แพทย์ชาวเยอรมัน Friedrich Goppert (1870–1927) เป็นคนแรกที่เล่ารายละเอียดถึงโรคนี้ในปี 1917[1] ซึ่งต่อมาในปี 1956 Herman Kalckar และคณะจึงค้นพบสาเหตุของโรคว่ามาจากความผิดปกติในการย่อยสลายกาแล็กโทส[2]

ความถี่ของโรคอยู่ที่ราว 1 ใน 60,000 ของทารกที่มีเชื้อสายยุโรป ความถี่นี้แตกต่างไปตามเผ่าพันธุ์ เช่น ในบางกรณีอยู่ที่ 1:480 หรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยยุโรปเกือบหนึ่งร้อยเท่า[3]ในประชากรกลุ่มชนร่อนเร่ชาวไอร์แลนด์[4]

สาเหตุ[แก้]

แล็กโตสในอาหาร (เช่นผลิตภัณฑ์จากนม) นั้นจะถูกย่อยสลายเป็นกลูโคสและกาแล็กโทสโดยเอนไซม์แลกเตส (lactase) ซึ่งในผู้ป่วยกาแล็กโทซีเมีย เอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยลายกาแล็กโทสต่อ (ซึ่งคือกาแล็กโทคิเนส - Galactokinase และ กาแล็กโทส-1-ฟอสเฟต ยูริดิลทรานสเฟอเรส - galactose-1-phosphate uridyltransferase) นั้นพบน้อยมากหรือไม่พบไม่เลย ซึ่งส่งผลให้เกิดความเป็นพิษ (toxic level) ของกาแล็กโทสหรือกาแล็กโทส 1-ฟอสเฟต (galactose 1-phosphate) (ซึ่งกฌขึ้นอยู่กับเอนไซม์หนึ่งในสองตัวที่ระบุมาว่าตัวใดที่หายไป) ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่นในกรณีของคลาสสิกกาแล็กโทซีเมีย (classic galactosemia) ซึ่งทำให้เกิดภาวะตับโต (hepatomegaly) ในตับ, ตับแข็ง (cirrhosis), ไตวาย (kidney failure), ต้อกระจก, อาเจียน, ชัก (seizure), น้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia), อิดโรย (lethargy), สมองบาดเจ็บ (brain damage) และรังไข่วาย (ovarian failure) หากไม่ได้รับการรักษา อัตราการเสียชีวิตในทารกที่เป็นกาแล็กโทซีเมียอยู่ที่ 75% โดยประมาณ

กาแล็กโทซีเมียนั้นถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมแบบ ออโตโซมัล รีเซสสีฟ (autosomal recessive) หมายความว่าเด็กต้องได้รับยีนที่ผิดปกติทั้งสองอัน อันหนึ่งจากบิดาและอีกอันจากมารดา และมีกลุ่มเฮเทอโรไซโกต (Heterozygotes) ที่เป็นพาหะ (carrier) ซึ่งมียีนผิดปกติเพียงอันเดียวและไม่แสดงอาการ[5]

ชนิด[แก้]

กาแล็กโทสจะถูกแปลงเป็นกลูโคสผ่านการกระทำของเอนไซม์สามตัว เรียกว่า วิถีเลอลัวร์ (Leloir pathway) ซึ่งแต่ละเอนไซม์ที่ผิดปกติจะส่งผลให้เกิดกาแล็กโทซีเมียชนิดต่าง ๆ ดังนี้:

ชนิด Diseases Database OMIM Gene โลคัส เอนไซม์ ชื่อ
ชนิดที่ 1
(Type 1)
5056 230400 GALT 9p13 galactose-1-phosphate uridyl transferase classic galactosemia (คลาสสิกกาแล็กโทซีเมีย)
ชนิดที่ 2
(Type 2)
29829 230200 GALK1 17q24 galactokinase galactokinase deficiency (ภาวะขาดกาแล็กโทคิเนส)
ชนิดที่ 3
(Type 3)
29842 230350 GALE 1p36-p35 UDP galactose epimerase galactose epimerase deficiency (ภาวะขาดกาแล็กโทสเอพิเมอเรส), UDP-Galactose-4-epimerase deficiency

การรักษา[แก้]

การรักษาวิธีเดียวสำหรับคลาสสิกกาแล็กโทซีเมีย (classic galactosemia) คือการกำจัดแล็กโทสและกาแล็กโทสออกจากการรับประทานอาหาร ถึงแม้จะมีการจรวจพบโรคที่ทันท่วงทีและมีการจำกัดการทานอาหารทั้งสองชนิดแล้ว ในบางราย ผู้ป่วยอาจมีอาการของกาแล็กโทซีเมียในระยะยาว เช่น พูดลำบาก (speech difficulties), เรียนรู้ลำบาก (learning disabilities), ความไม่สมประกอบทางประสาท (neurological impairment) เช่น อาการสั่น (tremors) และภาวะรังไข่วาย (ovarian failure) ทารกที่มีคลาสสิกกาแล็กโทซีเมียจะไม่สามารถดื่มนมผ่านเต้านม (breast-fed) ได้ เนื่องด้วยในน้ำนมมนุษย์มีแล็กโตส จึงทำให้ต้องดื่มนมสูตรที่ใช้ถั่วเหลืองแทน[6]

กาแล็กโทซีเมียมักถูกสับสนกับภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ (lactose intolerance) แต่กาแล็กโทซีเมียนั้นถือเป็นโรคที่ร้ายแรงกว่ามาก ด้วยอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว ในขณะที่ภาวะแพ้แลกโตสก่อให้เกิดอาการปวดท้องหรือปัญหาในการขับถ่ายเท่านั้น

อาการแทรกซ้อนในระยะยาวของกาแลกโทซีเมียได้แก่

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Goppert F. (1917). "Galaktosurie nach Milchzuckergabe bei angeborenem, familiaerem chronischem Leberleiden". Klinische Wochenschrift. 54: 473–7.
  2. Isselbacher KJ, Anderson EP, Kurahashi K, Kalckar HM (1956). "Congenital Galactosemia, a single enzymatic block in galactose metabolism". Science. 123 (3198): 635–6. Bibcode:1956Sci...123..635I. doi:10.1126/science.123.3198.635. PMID 13311516.
  3. "Classical Galactosaemia - Ireland's Health Service". www.hse.ie.
  4. Murphy M, McHugh B, Tighe O, และคณะ (July 1999). "Genetic basis of transferase-deficient Galactosaemia in Ireland and the population history of the Irish Travellers". Eur. J. Hum. Genet. 7 (5): 549–54. doi:10.1038/sj.ejhg.5200327. PMID 10439960.
  5. Galactosemia เก็บถาวร เมษายน 19, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The University of Utah, Genetics Science Learning Center. 2008.
  6. "Breastfeeding: Diseases and Conditions: Contraindicators | DNPA". www.cdc.gov.
  7. Powell KK, Van Naarden Braun K, Singh RH, Shapira SK, Olney RS, Yeargin-Allsopp M (2009), "Long-term speech and language developmental issues among children with Duarte galactosemia.", Genetics in Medicine, 11 (12): 874–9, doi:10.1097/GIM.0b013e3181c0c38d, PMID 19904210
  8. Waggoner DD, Buist NR, Donnell GN (1990), "Long-term prognosis in galactosaemia: results of a survey of 350 cases..", J Inherit Metab Dis, 13 (6): 802–18, doi:10.1007/BF01800204, PMID 1706789

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก