ข้ามไปเนื้อหา

การ์ลัส ปุดจ์ดาโมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การ์ลัส ปุดจ์ดาโมน
ประธานฌานาราลิตัตกาตาลุญญา
ก่อนหน้าอาร์ตูร์ มัส
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม 2559 – 28 ตุลาคม 2560
เป็นที่ขัดแย้ง: 28 ตุลาคม 2560 – 30 ตุลาคม 2560
กษัตริย์สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6
ถัดไปตำแหน่งถูกระงับ
(ควบคุมดูแลโดยโซรายา ซาเอนซ์ เด ซานตามาริอา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริหารดินแดน (สเปน))
นายกเทศมนตรีเมืองฌิโรนา
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม 2554 – 11 มกราคม 2559
ก่อนหน้าอันนา ปากันส์
ถัดไปอิซาเบ็ล มูราดัส
สมาชิกสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา
ดำรงตำแหน่ง
10 พฤศจิกายน 2549 – 28 ตุลาคม 2560
(คำสั่งปลดเป็นที่ขัดแย้ง)
เขตเลือกตั้งฌิโรนา
ประธานสมาคมเทศบาลเพื่อเอกราช
ดำรงตำแหน่ง
17 กรกฎาคม 2558 – 11 มกราคม 2559
ก่อนหน้าฌูแซ็ป มาริอา บิลา ดาบาดัล
ถัดไปฌูแซ็ป อันเดร็ว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
การ์ลัส ปุดจ์ดาโมน อี กาซามาโฌ

29 ธันวาคม พ.ศ. 2505 (61 ปี)
อะเมร์ สเปน
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคผสมประชาธิปไตยกาตาลุญญา (Democratic Convergence of Catalonia)
คู่สมรสมาร์เซลา โตปอร์
บุตรมากาลี,
มาริอา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฌิโรนา
วิชาชีพนักหนังสือพิมพ์

การ์ลัส ปุดจ์ดาโมน อี กาซามาโฌ (กาตาลา: Carles Puigdemont i Casamajó; เกิด 29 ธันวาคม พ.ศ. 2505) เป็นนักหนังสือพิมพ์และนักการเมืองจากแคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน

วันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2016 ปุดจ์ดาโมนได้รับเลือกให้เป็นประธานฌานาราลิตัตดากาตาลุญญา (ทบวงการปกครองตนเองของแคว้น) จากเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา[1] โดยเป็นผลมาจากการเจรจาในวันก่อนหน้าระหว่างพันธมิตรฌุนส์ปัลซี (Junts pel Sí) กับกลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อเอกภาพประชาชน (Popular Unity Candidacy; CUP) ซึ่งบรรลุข้อตกลงร่วมกันที่จะให้เขาดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนอาร์ตูร์ มัส เพื่อประกันความมั่นคงในสภานิติบัญญัติให้แก่ฝ่ายบริหารของฌานาราลิตัต[2][3]

สถานะปัจจุบันของปุดจ์ดาโมนเป็นประเด็นพิพาทหลังจากกาตาลุญญาประกาศเอกราชฝ่ายเดียวจากสเปนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ในมุมมองของอดีตฝ่ายบริหารแคว้นกาตาลุญญา เขายังคงเป็นประธานฌานาราลิตัตดากาตาลุญญา แต่ในมุมมองของรัฐบาลสเปน เขาถูกปลดจากตำแหน่งตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราโคย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560[4] ปุดจ์ดาโมนไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว โดยแถลงว่าเขาจะ "ทำงานเพื่อสร้างประเทศที่เป็นอิสระ" และขอให้ชาวกาตาลุญญา "ต่อต้าน" การบังคับใช้มาตรา 155 แห่งรัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2521 "ตามวิถีประชาธิปไตย"[5] ต่อมาในวันที่ 30 ตุลาคม ปรากฏว่าปุดจ์ดาโมนและคณะผู้บริหารแคว้นบางส่วนที่ถูกปลดจากตำแหน่งได้เดินทางไปเบลเยียมเพื่อหลีกเลี่ยงการดำเนินคดีจากฝ่ายตุลาการสเปน[6] โดยโฆเซ มานูเอล มาซา อัยการสูงสุดของสเปนได้สั่งฟ้องดำเนินคดีอาญากับพวกเขาในข้อหาการกบฏ การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง และการใช้งบประมาณรัฐในทางมิชอบ[7][8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Parlament de Catalunya, บ.ก. (10 January 2016). "El Parlament investeix Carles Puigdemont president de la Generalitat". สืบค้นเมื่อ 11 January 2016.
  2. VilaWeb (บ.ก.). "Junts pel Sí i la CUP tanquen un acord per a dur endavant la legislatura". สืบค้นเมื่อ 9 January 2016.
  3. Generalitat de Catalunya, บ.ก. (9 January 2016). "President Mas: "Faig aquest servei perquè tinc present l'interès del país per sobre de qualsevol altre"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-15. สืบค้นเมื่อ 9 January 2016.
  4. Ponce de León, Rodrigo (27 October 2017). "Rajoy cesa a Puigdemont y su Govern y convoca elecciones para el 21 de diciembre". eldiario.es (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 27 October 2017.
  5. "Catalan ex-leader Carles Puigdemont vows to resist takeover". BBC News. 28 October 2017. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  6. Cortizo, Gonzalo (30 October 2017). "Puigdemont y parte de su gobierno se refugian en Bélgica para evitar a la justicia española". eldiario.es (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  7. Guindal, Carlota (30 October 2017). "La Fiscalía se querella contra Puigdemont y el Govern por rebelión y sedición". La Vanguardia (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  8. Jones, Sam (30 October 2017). "Spanish prosecutor calls for rebellion charges against Catalan leaders". The Guardian. Barcelona. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]