ข้ามไปเนื้อหา

การโหยหาอดีต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
The Saturday Evening Post กล่าวว่านิตยสารฉบับนี้ได้รับการยกย่องว่า "เป็นส่วนผสมของการโหยหาอดีตและความรัก"[1]

การโหยหาอดีต (อังกฤษ: nostalgia) เป็นความรู้สึก คิดถึงช่วงเวลาหรือสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับอดีตในทางที่ดี ได้รับการอธิบายว่าเป็นอาการทางการแพทย์ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของความซึมเศร้า โดยในช่วงต้นสมัยใหม่ ได้กลายมาเป็นภาพพจน์เปรียบเทียบที่สำคัญในศิลปะจินตนิยม

การโหยหาอดีตมักเกี่ยวข้องกับความคิดถึงอดีต ทั้งบุคลิกภาพ ความเป็นไปได้ และเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ "วันเก่า ๆ ที่ดี" หรือ "วัยเด็กที่อบอุ่น"[2] มีปัจจัยโน้มเอียงที่เกิดจากอคติทางความคิด เช่น อดีตนั้นดีกว่าปัจจุบัน ทำให้ผู้คนมองอดีตในแง่บวกมากกว่าและมองอนาคตในแง่ลบมากกว่า[3][4][5] เมื่อนำไปใช้กับความเชื่อเกี่ยวกับสังคมหรือสถาบันต่าง ๆ จะเรียกว่า คติเสื่อมถอย (declinism) ซึ่งได้รับการอธิบายว่าเป็น "กลอุบายของจิตใจ" และ "กลยุทธ์ทางอารมณ์ สิ่งที่ให้ความสบายใจเมื่อวันปัจจุบันดูหม่นหมองอย่างไม่อาจยอมรับได้"[6]

ด้านข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการโหยหาอดีตที่มักเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว และได้ศึกษาผลกระทบของการโหยหาอดีตที่เกิดขึ้นในระหว่างการศึกษาเหล่านี้เป็นหลัก มีอารมณ์เป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดความโหยหาอดีตได้เป็นอย่างดี เนื่องจากกระบวนการประมวลผลสิ่งเร้าเหล่านี้ จะดำเนินการผ่านอะมิกดาลาเป็นอย่างแรกซึ่งเป็นฐานของอารมณ์ในสมอง ความทรงจำในอดีตมักเป็นเหตุการณ์สำคัญ บุคคลที่เราห่วงใย และสถานที่ที่เราได้ใช้เวลาอยู่ ด้านปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม เช่น ดนตรี[7] ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ [8] และวิดีโอเกม เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม[9] ยังสามารถเป็นตัวกระตุ้นความโหยหาอดีตที่รุนแรงได้อีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mills, Wes (July 6, 2021). "Saturday Evening Post Celebrates 200 Years". Inside Indiana Business. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2021.
  2. Sedikides, Constantine; Wildschut, Tim; Arndt, Jamie; Routledge, Clay (October 2008). "Nostalgia: Past, Present, and Future". Current Directions in Psychological Science. 17 (5): 304–307. doi:10.1111/j.1467-8721.2008.00595.x.
  3. The Oxford Dictionary of American Political Slang edited by Grant Barrett, p. 90.
  4. Etchells, Pete (January 16, 2015). "Declinism: is the world actually getting worse?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 20 December 2016.
  5. Steven R. Quartz, The State Of The World Isn't Nearly As Bad As You Think, Edge Foundation, Inc., สืบค้นเมื่อ 2016-02-17
  6. Lewis, Jemima (January 16, 2016). "Why we yearn for the good old days". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 20 December 2016.
  7. "Music-Evoked Nostalgia".
  8. Nelakonda, Divya. "Binging on nostalgia – why we replay TV from our youth". the Epic. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  9. "Study: Nostalgia Makes Us Warm, and Cold Makes Us Nostalgic". The Atlantic. 2012-12-04.