การโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก, สงครามโลกครั้งที่สอง
ภาพขาวดำของเครื่องบินหลายเครื่องยนต์บินเป็นฝูงขณะกำลังทิ้งระเบิดจำนวนมาก
เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-29 ซูเปอร์ฟอร์เทรส กำลังทิ้งระเบิดเพลิงที่โยโกฮามะในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945[1]
วันที่18 เมษายน ค.ศ. 1942 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945
สถานที่
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
คู่สงคราม
 สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร
 จีน
 ญี่ปุ่น
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
สหรัฐ กองทัพอากาศที่ห้า
สหรัฐ กองทัพอากาศที่เจ็ด
สหรัฐ กองทัพอากาศที่สิบเอ็ด
สหรัฐ กองทัพอากาศที่สิบสอง
สหรัฐ กองเรือรบที่สาม
สหรัฐ กองเรือรบที่ห้า
สหราชอาณาจักร กองเรือรบแปซิฟิกอังกฤษ
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) กองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน
จักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพภาคเหนือ
จักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพภาคตะวันออก
จักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพภาคกลาง
จักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพภาคตะวันตก
จักรวรรดิญี่ปุ่น กองบัญชาการป้องกันสามัญ
จักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพอากาศสามัญ
ความสูญเสีย
กองทัพอากาศที่ห้า:
31 ลำ
กองทัพอากาศที่เจ็ด:
12 ลำ
กองบัญชาการเครื่องบินขับไล่ที่เจ็ด:
157 ลำ
91 นาย
กองทัพอากาศที่ยี่สิบ:
414 ลำ
มากกว่า 2,600 นาย[2]
เสียชีวิต 241,000–900,000 ราย
บาดเจ็บ 213,000–1,300,000 ราย
ไร้ที่อยู่อาศัย 8,500,000 ราย[3]
ความเสียหายอย่างหนักต่ออุตสาหกรรม
ความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อพื้นที่เมือง
4,200 ลำ[4]

การโจมตีทางอากาศโดยกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรที่ญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อเมืองต่าง ๆ ของประเทศ และคร่าชีวิตผู้คนไประหว่าง 241,000 ถึง 900,000 คน[3] ช่วงปีแรกของสงครามแปซิฟิก การโจมตีเหล่านี้ถูกจำกัดอยู่ที่การตีโฉบฉวยดูลิตเติลในเดือนเมษายน ค.ศ. 1942[5] และการโจมตีขนาดเล็กบนที่มั่นทางทหารบนหมู่เกาะคูริลจากกลาง ค.ศ. 1943[6] การโจมตีด้วยการทิ้งระเบิดเชิงกลยุทธ์เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944[7][8] และต่อเนื่องไปจนถึงการสิ้นสุดสงครามในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945[9][10] กองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตรและหน่วยกองบินเชิงยุทธวิธีที่เน้นภาคพื้นดินเป็นหลักยังโจมตีประเทศญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1945[11]

การทัพทางอากาศของกองทัพสหรัฐต่อประเทศญี่ปุ่นอย่างเอาจริงเอาจังเริ่มต้นในกลาง ค.ศ. 1944[7][12] และรุนแรงขึ้นในช่วงหลายเดือนสุดท้ายของสงคราม[13] ขณะที่แผนในการโจมตีประเทศญี่ปุ่นมีการเตรียมการไว้ก่อนสงครามแปซิฟิกจะเกิดขึ้น แต่จะไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้หากเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-29 ซูเปอร์ฟอร์เทรส ยังไม่พร้อมในการออกรบ[14] ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จนถึง เดือนมกราคม ค.ศ. 1945 เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-29 จอดพักอยู่ที่ประเทศอินเดีย[15] ตลอดจนประเทศจีนเตรียมออกปฏิบัติการการโจมตีเป้าหมายทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นติดต่อกัน 9 ครั้ง แต่ความพยายามนี้ไม่เกิดผล[16][17] การทัพด้วยการทิ้งระเบิดเชิงกลยุทธ์ได้แผ่ขยายไปทั่วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1944 เมื่อฐานทัพในหมู่เกาะมาเรียนาว่างพร้อมใช้อันเป็นผลจากการทัพหมู่เกาะมาเรียนา[18] โดยแต่เดิม การโจมตีเหล่านี้พยายามมุ่งเน้นเป้าหมายไปที่สิ่งปลูกสร้างอุตสาหกรรมโดยการใช้ยุทธวิธีทิ้งการระเบิดจากระดับความสูงต่ำตอนกลางวัน "อย่างแม่นยำ" ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่เกิดผล[19] ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 เครื่องบินทิ้งระเบิดเปลี่ยนยุทธวิธีเป็นการทิ้งระเบิดเพลิงจากระดับความสูงต่ำตอนกลางคืนลงใส่พื้นที่เมือง[20] ยุทธวิธีใหม่นี้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างต่อพื้นที่เมือง[21] นอกจากนี้ เครื่องบินรบจากเรือบรรทุกเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตร[5] และหมู่เกาะรีวกีว[22] ยังจู่โจมเป้าหมายในประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1945 เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมล่วงหน้าสำหรับแผนการบุกประเทศญี่ปุ่นที่มีกำหนดการโจมตีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945[15] ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เมืองในฮิโรชิมะและนางาซากิ[23][24] ถูกโจมตีและส่วนใหญ่ถูกพังทลายโดยระเบิดปรมาณู[25]

กองทัพของประเทศญี่ปุ่นและการป้องกันพลเรือนไม่สามารถหยุดยั้งการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรได้[26] จำนวนของเครื่องบินขับไล่และปืนต่อต้านทางอากาศที่ติดตั้งไว้บนหมู่เกาะนั้นไม่เพียงพอ[27] และเครื่องบินรบและปืนส่วนใหญ่ประสบปัญหาในการตอบโต้กลับ บี-29 ที่ทำการบินในระดับความสูง[28] การขาดแคลนน้ำมัน[29] การฝึกหัดของนักบินที่ไม่เพียงพอ และการขาดการประสานงานกันระหว่างหน่วยจำกัดประสิทธิภาพของกองบินเครื่องบินรบ[30] แม้เมืองต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นนั้นอ่อนแอต่อการโจมตีด้วยระเบิดเพลิง บริการดับเพลิงขาดการฝึกฝนและเครื่องมือ[31] นอกจากนี้ ยังมีที่หลบภัยทางอากาศน้อยแห่งสำหรับพลเรือน[32] ท้ายที่สุด บี-29 สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อพื้นที่เมืองและความสูญเสียของประชาชนในเมืองเล็กน้อย[33]

การทัพด้วยการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่สร้างอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่จะยอมจำนนในกลางเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945[34] อย่างไรก็ตาม มีการโต้เถียงอย่างยาวนานเกี่ยวกับศีลธรรมในการโจมตีเมืองในประเทศญี่ปุ่น[35] รวมถึงการใช้อาวุธปรมาณูที่เป็นที่ถกเถียงมากที่สุด[36] มีการคาดการณ์จำนวนยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากหลายแหล่งไม่เหมือนกัน แต่จะอยู่ในพิสัยระหว่าง 241,000 ถึง 900,000 ราย[37][38][39] นอกจากความสูญเสียที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ต่อชีวิตของพลเรือน การโจมตีสร้างความตกต่ำครั้งใหญ่ต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม[40]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wolk (2004), p. 72
  2. Kerr (1991), p. 276
  3. 3.0 3.1 Kerr (1991), pp. 280–281
  4. Coox (1994), p. 417
  5. 5.0 5.1 "America Hits Back: The Doolittle Tokyo Raiders". Factsheets. National Museum of the US Air Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
  6. Coles and Olson (1951), pp. 387–391
  7. 7.0 7.1 Correll (2009), p. 63
  8. Craven and Cate (1953), p. 102
  9. Kerr (1991), pp. 267–268
  10. Craven and Cate (1953), p. 675
  11. Craven and Cate (1953), pp. 697–700
  12. Craven and Cate (1953), p. 102
  13. Royal Navy (1995), p. 214
  14. Craven and Cate (1953), pp. xiii, 65
  15. 15.0 15.1 Tillman (2010), pp. 32–33
  16. Tillman (2010), p. 65
  17. Correll (2009), p. 65
  18. Craven and Cate (1953), pp. 581–582
  19. Havens (1978), p. 158
  20. Morison (1960), pp. 20–21
  21. Morison (1960), pp. 22–25
  22. Craven and Cate (1953), pp. 695–696
  23. Kerr (1991), p. 271
  24. Frank (1999), pp. 283–285
  25. Craven and Cate (1953), pp. 719–720, 725
  26. Tillman (2010), pp. 31–32
  27. Chun (2006), pp. 24–27
  28. Craven and Cate (1953), pp. 555–556
  29. Spector (1984), pp. 490–491
  30. Foreign Histories Division, Headquarters, United States Army Japan (1980), Homeland Operations Record, pp. 2–4
  31. Tillman (2010), pp. 142–146
  32. Zaloga (2010), p. 25
  33. Frank (1999), pp. 54–56
  34. Kerr (1991), pp. 273–274
  35. Dower (1986), p. 41
  36. Frank (1999), pp. 331–332
  37. Polmar (2004), p. 33
  38. McCurry (2005), p. 441
  39. Frank (1999), p. 435
  40. Hall (1998), pp. 360–361

รายการอ้างอิง[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]