การแมทชิงอิมพีแดนซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภาพของแหล่งจ่ายไฟและความต้านทานที่เป็นโหลดของวงจร

ในสาขาอิเล็กทรอนิกส์ การแมทชิงอิมพีแดนซ์ (อังกฤษ: impedance matching)[note 1] คือการปฏิบัติเพื่อการออกแบบอิมพีแดนซ์ด้านขาเข้า (อังกฤษ: input impedance) ของโหลดไฟฟ้า เพื่อเพิ่มการถ่ายโอนพลังงานจากแหล่งกำเนิดสัญญาณให้ได้มากสุด หรืออิมพีแดนซ์ด้านขาออก (อังกฤษ: output impedance) ของแหล่งกำเนิดสัญญาณเพื่อลดการสะท้อนสัญญาณจากโหลดไฟฟ้าให้ต่ำสุด

ในกรณีที่มีความซับซ้อน อิมพีแดนซ์ของแหล่งจ่ายไฟ ZS และอิมพีแดนซ์ของโหลด ZL การถ่ายโอนพลังงานสูงสุดจะเป็นไปได้เมื่อ

เมื่อเครื่องหมายดอกจันหมายถึงค่า complex conjugate[note 2] ของตัวแปร

เมื่อ ZS หมายถึงอิมพีแดนซ์ลักษณะเฉพาะ (อังกฤษ: characteristic impedance) (หรือแค่อิมพีแดนซ์) ของสายส่ง, การสะท้อนต่ำสุดจะเป็นไปได้เมื่อ

แนวคิดของการแมชชิงอิมพีแดนซ์พบการใช้งานครั้งแรกในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ก็มีความเกี่ยวข้องในการใช้งานอื่น ๆ ในที่ซึ่งรูปแบบหนึ่งของพลังงาน, ไม่จำเป็นต้องเป็นไฟฟ้า, จะมีการโอนระหว่างแหล่งจ่ายกับโหลด ทางเลือกในการแมทชิงอิมพีแดนซ์ก็คือการสะพานอิมพีแดนซ์ (อังกฤษ: impedance bridging) ซึ่งอิมพีแดนซ์ของโหลดจะถูกเลือกให้มีขนาดใหญ่กว่าความต้านทานของแหล่งจ่ายไฟอย่างมาก เพื่อให้สามารถถ่ายโอนแรงดันให้มากที่สุด (มากกว่าจะเป็นการถ่ายโอนพลังงาน) อันเป็นเป้าหมายในการทำงานแบบนี้

Note[แก้]

  1. อิมพีแดนซ์ทางไฟฟ้าหมายถึงอัตราส่วนของเฟสแรงดันไฟฟ้าต่อเฟสกระแสไฟฟ้า เป็นการวัดแรงต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าที่เปลียนแปลงไปตามเวลาในวงจรไฟฟ้าหนึ่ง
  2. ค่าซับซ้อนสองค่า ส่วนที่เป็นค่าจริงจะเท่ากันแต่ส่วนที่เป็นค่าในอุดมคติมีเครื่องหมายต่างกัน เช่นค่า complex conjugate ของ 3+4i คือ 3−4i เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]