ข้ามไปเนื้อหา

การแพร่เชื้อทางอากาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
A red poster with illustrations and the text: "AIRBORNE PRECAUTIONS. EVERYONE MUST: Clean their hands, including before entering and when leaving the room. Put on a fit-tested N-95 or higher level respirator before room entry. Remove respirator after exiting the room and closing the door. Door to room must remain closed."
ใบปิดประกาศสรุปข้อควรระวังสำหรับการแพร่เชื้อทางอากาศในสถานพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศนอกห้องพักผู้ป่วยที่ติดเชื้อซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านทางอากาศ[1]
วีดิทัศน์อธิบายเกี่ยวกับการลดการแพร่เชื้อทางอากาศภายในอาคาร

การแพร่เชื้อทางอากาศ (อังกฤษ: airborne transmission) คือการแพร่เชื้อของโรคติดต่อผ่านละอองธุลีที่สามารถอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานและสามารถถูกเคลื่อนย้ายไปตำแหน่งอื่นได้[2] โรคที่สามารถแพร่เชื้อทางอากาศได้มีหลายโรค ทั้งที่พบในมนุษย์และในสัตว์ เชื้อก่อโรคนั้น ๆ อาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา สามารถแพร่ผ่านการหายใจ การพูด การไอ จาม การปัดฝุ่น การพ่นสเปรย์ การกดน้ำที่โถชำระ และกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดอนุภาคละอองลอย (aerosol) หรือละอองฝอย (droplets) โดยทั่วไปแล้วโรคติดต่อที่แพร่เชื้อทางอากาศจะไม่นับรวมโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ เช่น สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย แก๊สที่มีพิษต่อร่างกาย หรือฝุ่นอนุภาคอื่น ๆ

แต่เดิมแล้วทางการแพทย์จะถือว่าการแพร่เชื้อทางอากาศเป็นคนละอย่างกับการแพร่เชื้อผ่านละอองฝอย ซึ่งมีที่มาจากความเข้าใจผิดในพฤติกรรมทางกายภาพของอนุภาคขนาดต่าง ๆ[3] โดยเคยเชื่อกันว่าละอองฝอยของสารคัดหลั่งระบบหายใจจะมีขนาดใหญ่มากพอที่จะตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็วหลังจากถูกปลดปล่อยออกมา[4] อย่างไรก็ดีตามนิยามใหม่มองว่า อนุภาคขนาดใด ๆ ที่สามารถถูกสูดหายใจเข้าไปได้ ถือว่ามีศักยภาพที่จะเป็นอนุภาคที่ก่อให้เกิดการแพร่เชื้อทางอากาศได้ทั้งสิ้น[3]

คนแต่ละคนสามารถแพร่ละอองลอยและละอองฝอยได้หลายขนาด หลายปริมาณ และมีความเข้มข้นของเชื้อโรคแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละคนและกิจกรรมที่ทำ[5] ละอองฝอยที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 ไมโครเมตรมักตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็วในระยะไม่เกิน 2 เมตร จากจุดกำเนิด[5][4] และอาจมีอนุภาคละอองลอยที่มีเชื้อก่อโรคตกค้างอยู่ในอากาศบริเวณนั้นได้อีกระยะเวลาหนึ่ง โดยจะมีความเข้มข้นของเชื้อก่อโรคสูงสุดภายในรัศมี 2 เมตร แต่ก็สามารถเดินทางไปตำแหน่งอื่น และอาจไปสะสมเพิ่มความเข้มข้นในตำแหน่งอื่นของห้องได้อีกด้วย

จุดตัด 5 ไมโครเมตรที่เดิมเคยใช้กันแพร่หลายในการแบ่งแยกว่าอนุภาคใดเป็นอนุภาคที่สามารถทำให้เกิดการแพร่เชื้อทางอากาศได้หรือไม่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นทวิภาคลวงที่ไม่มีที่มาทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากอนุภาคที่ออกมากับลมหายใจมักมีขนาดหลากหลายออกมาพร้อม ๆ กัน และจะล่องลอยไปหรือตกลงสู่พื้นขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมอีกหลายอย่าง ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับเฉพาะขนาดแรกเริ่มของมันเท่านั้น อย่างไรก็ดี แนวคิดนี้ถูกนำมาใช้ในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคในโรงพยาบาลมานานหลายทศวรรษ[5] ข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับการแพร่กระจายในอาคารของสารคัดหลั่งระบบหายใจทำให้เชื่อว่าอนุภาคขนาด 20 ไมโครเมตร ในระยะแรกที่ถูกปลดปล่อยออกมาจะลอยไปตามกระแสอากาศในช่วงแรก ซึ่งอาจเป็นกระแสอากาศจากการไอจามหรือจากลมเครื่องปรับอากาศก็ได้ แต่เมื่อเดินทางไปไกลขึ้นก็จะค่อย ๆ ตกลงสู่พื้นตามแรงโน้มถ่วง[6] มีการพบว่าอนุภาคที่มีขนาดดังกล่าวเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกดักจับที่เยื่อเมือกของโพรงจมูกมากที่สุด[7] และเนื่องจากตำแหน่งนี้มักเป็นตำแหน่งเริ่มต้นของการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19[8] จึงเป็นเหตุผลให้น่าเชื่อว่าอนุภาคขนาดดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการระบาดทั่วของโควิด-19

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Transmission-Based Precautions". U.S. Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-01-07. สืบค้นเมื่อ 2020-03-31.
  2. Siegel JD, Rhinehart E, Jackson M, Chiarello L, Healthcare Infection Control Practices Advisory Committee. "2007 Guideline for Isolation Precautions: Preventing Transmission of Infectious Agents in Healthcare Settings" (PDF). CDC. p. 19. สืบค้นเมื่อ 2019-02-07. Airborne transmission occurs by dissemination of either airborne droplet nuclei or small particles in the respirable size range containing infectious agents that remain infective over time and distance
  3. 3.0 3.1 Tang, Julian W.; Marr, Linsey C.; Li, Yuguo; Dancer, Stephanie J. (2021-04-14). "Covid-19 has redefined airborne transmission". BMJ (ภาษาอังกฤษ). 373: n913. doi:10.1136/bmj.n913. ISSN 1756-1833. PMID 33853842.
  4. 4.0 4.1 Zhang N, Chen W, Chan PT, Yen HL, Tang JW, Li Y (July 2020). "Close contact behavior in indoor environment and transmission of respiratory infection". Indoor Air. 30 (4): 645–661. doi:10.1111/ina.12673. PMID 32259319.
  5. 5.0 5.1 5.2 Staudt A, Saunders J, Pavlin J, Shelton-Davenport M, และคณะ (Environmental Health Matters Initiative, National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine) (2020-10-22). Shelton-Davenport M, Pavlin J, Saunders J, Staudt A (บ.ก.). Airborne Transmission of SARS-CoV-2: Proceedings of a Workshop in Brief. Washington, D.C.: National Academies Press. doi:10.17226/25958. ISBN 978-0-309-68408-8. PMID 33119244.
  6. Hunziker P (2020-12-16). "Minimizing exposure to respiratory droplets, 'jet riders' and aerosols in air-conditioned hospital rooms by a 'Shield-and-Sink' strategy" (PDF). medrxiv.org. doi:10.1101/2020.12.08.20233056. S2CID 229291099.
  7. Kesavanathan J, Swift DL (January 1998). "Human Nasal Passage Particle Deposition: The Effect of Particle Size, Flow Rate, and Anatomical Factors". Aerosol Science and Technology. 28 (5): 457–463. Bibcode:1998AerST..28..457K. doi:10.1080/02786829808965537. ISSN 0278-6826.
  8. Adlish, John I.; Neuhold, Piero; Surrente, Riccardo; Tagliapietra, Luca J. (18 June 2021). "RNA Identification and Detection of Nucleic Acids as Aerosols in Air Samples by Means of Photon and Electron Interactions". Instruments (ภาษาอังกฤษ). 5 (2): 23. doi:10.3390/instruments5020023.