การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแทนตำแหน่งที่ว่าง ธันวาคม พ.ศ. 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแทนตำแหน่งที่ว่าง ธันวาคม พ.ศ. 2553

← พ.ศ. 2550 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2554 →

5 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
  First party Second party Third party
 
พรรค ภูมิใจไทย ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย
ที่นั่งก่อนหน้า 1 1 1
ที่นั่งที่ชนะ 2 1 1
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น1 Steady0 Steady0

  Fourth party Fifth party
 
พรรค ชาติไทยพัฒนา เพื่อแผ่นดิน
ที่นั่งก่อนหน้า 1 1
ที่นั่งที่ชนะ 1 0
ที่นั่งเปลี่ยน Steady0 ลดลง1

รัฐบาลก่อนการเลือกตั้ง

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประชาธิปัตย์

รัฐบาลหลังการเลือกตั้ง

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประชาธิปัตย์

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแทนตำแหน่งที่ว่าง ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 แทนตำแหน่งที่ว่างลง หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 6 คนสิ้นสุดสมาชิกภาพเนื่องจากกรณีถือหุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐหรือบริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ว่าด้วยคุณสมบัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร [1] ซึ่ง ส.ส.ที่พ้นจากสมาชิกภาพประกอบไปด้วย ส.ส.แบบแบ่งเขตทั้งสิ้น 5 คน จึงต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว

ที่มา[แก้]

วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ศาลรัฐธรรมนูญได้เรียกประชุมเพื่อลงมติและเขียนคำวินิจฉัยกลาง ในคดีที่ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรฐานะผู้ร้องส่งความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 16 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 28 คน ที่ถูกร้องว่าสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 119 (5) และ 106 (6) หรือไม่ เพราะอาจกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 (2) (4) ว่าด้วยที่ถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อและบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 12-14/2553 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 วินิจฉัยว่าการกระทำอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) (4) และวรรคสาม ประกอบมาตรา 48 ไม่รวมถึงการถือหุ้นที่มีมาก่อนวันเลือกตั้ง เมื่อการถือหุ้นของผู้ถูกร้องหรือคู่สมรสเป็นการถือหุ้นภายหลังจากที่ผู้ถูกร้องได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วจึงเป็นอันต้องห้าม ส่วนผู้ถูกร้องหรือคู่สมรสรายอื่นถือหุ้นมาก่อนได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่เป็นอันต้องห้าม

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยระบุว่าบริษัทที่ผู้ถูกร้องทั้งหกได้ทำการถือหุ้นอยู่ซึ่งแม้จะมิใช่บริษัทที่ได้รับสัมปทานหรือเป็นคู่สัญญากับรัฐที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอนก็ตาม แต่บริษัทดังกล่าวป็นบริษัทผู้ลงทุนในบริษัทอื่นซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นบริษัทอันมีลักษะต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) การถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวจึงเป็นการถือหุ้นในบริษัทอันมีลักษณะต้องห้ามโดยทางอ้อม ส่วนบริษัทอื่นที่บริษัทดังกล่าวเข้าไปถือหุ้นเป็นบริษัทอันมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) และรวมถึงบริษัทประกอบกิจการโทรศัพท์ได้รับสัมปทานจากหน่วยงานของรัฐและยังเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการโทรคมนาคม จึงเป็นบริษัทอันมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 48 [2]

ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยระบุถึงกรณีจำนวนหุ้นที่รัฐธรรมนูญห้ามการเข้าถือหุ้นในบริษัทที่ต้องห้ามว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุะต้องถือหุ้นจำนวนเท่าใดและไม่ได้ระบุจะต้องมีอำนาจบริหารงานหรือครอบงำกิจการหรือไม่ ฉะนั้นการถือหุ้นเพียงหุ้นเดียวก็ย่อมเป็นการถือหุ้นตามความหมายในรัฐธรรมนูญแล้วแม้ผู้ถือหุ้นจะไม่มีอำนาจบริหารหรือครอบงำกิจการก็ตาม การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติห้ามการถือหุ้นไว้ชัดเจนก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีช่องทางที่จะใช้หรือถูกใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบในทางใดทางหนึ่ง ดังนั้นแม้การซื้อหุ้นของผู้ถูกร้องทั้งหกหรือคู่สมรสจะซื้อในตลาดหลักทรัพย์และเป็นการลงทุนระยะสั้นหรือเพื่อเก็งกำไรก็เป็นอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2)(4) และวรรคสาม ประกอบมาตรา 48 เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของผู้ถูกร้องจำนวนหกรายสิ้นสุดลงตามมาตรา 106 (6) นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่วินิจฉัยให้พ้นสมาชิกภาพ[แก้]

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติด้วยเสียงข้างมาก 7 ต่อ 1 เห็นว่าการถือครองหุ้นในบริษัทต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญที่ถือว่ามีความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 จะต้องเป็นการถือหุ้นภายหลังการมีสมาชิกภาพเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ดังนั้นจึงส่งผลให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 คนต้องพ้นสมาชิกภาพ ประกอบด้วย

  1. นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
  2. ร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย
  3. นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน
  4. หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา (ไชยยันต์) ปกมนตรี ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน
  5. นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคชาติไทยพัฒนา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  6. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

เขตการเลือกตั้งที่มีการเลือกตั้งใหม่[แก้]

ประกอบไปด้วยทั้งหมด 5 เขตเลือกตั้งดังนี้

  • เขตเลือกตั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร
  • เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดขอนแก่น
  • เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสุรินทร์
  • เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • เขตเลือกตั้งที่ 6 จังหวัดนครราชสีมา

เว้นแต่ตำแหน่งของ ม.ร.ว.กิติวัฒนา จะได้รับการเลื่อนผู้ที่อยู่ในลำดับถัดไปของผู้สมัคร ส.ส.แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 6 คือนายถิรชัย วุฒิธรรมขึ้นมารับตำแหน่งแทน

ผู้สมัครรับเลือกตั้ง[แก้]

ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 14 ราย จากทั้ง 5 เขตเลือกตั้ง

เขต 2 กรุงเทพมหานคร[แก้]

ผู้สมัคร พรรค หมายเลข
นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ พรรคเพื่อไทย
1
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พรรคประชาธิปัตย์
2
นายจำรัส อินทุมาลย์ พรรคไทยพอเพียง
3
นายธันวา ไกรฤกษ์ พรรคธรรมาธิปัตย์
4

เขต 2 ขอนแก่น[แก้]

ผู้สมัคร พรรค หมายเลข
นายอธิปปรัชญ์ ทัดพิชญางกูร พรรคประชาธิปัตย์
1
ร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช พรรคเพื่อไทย
2

เขต 3 สุรินทร์[แก้]

ผู้สมัคร พรรค หมายเลข
นางปทิดา ตันติรัตนานนท์ พรรคเพื่อไทย
1
นายศุภรักษ์ ควรหา พรรคภูมิใจไทย
2

เขต 1 พระนครศรีอยุธยา[แก้]

ผู้สมัคร พรรค หมายเลข
นายองอาจ วชิรพงศ์ พรรคเพื่อไทย
1
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา
2
นางกาญจน์มณี ทรัพย์พันธ์ พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
3

เขต 6 นครราชสีมา[แก้]

ผู้สมัคร พรรค หมายเลข
นายนิติศักดิ์ วันโสภา พรรคชีวิตที่ดีกว่า
1
นายอภิชา เลิศพชรกมล พรรคเพื่อไทย
2
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ พรรคภูมิใจไทย
3

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

ผลการเลือกตั้งในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553 สามารถจำแนกตามพรรคการเมืองดังนี้ [3]

พรรค กรุงเทพฯ ขอนแก่น สุรินทร์ พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา รวม
พรรคภูมิใจไทย - - เพิ่มขึ้น1 - 1 2
พรรคประชาธิปัตย์ 1 - - - - 1
พรรคเพื่อไทย - 1 - - - 1
พรรคชาติไทยพัฒนา - - - 1 - 1
รวม 5
สัญลักษณ์และความหมาย
* ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งที่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
** ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อที่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
ผู้สมัครที่ถูกตัดสิทธิ์
ผู้สมัครที่เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว
( ) หมายเลขประจำตัวของผู้สมัคร
ตัวหนา ผู้สมัครที่ชนะการเลือกตั้ง

เขต 2 กรุงเทพมหานคร[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วยเขตบางคอแหลม เขตสาทร เขตยานนาวา เขตคลองเตย และเขตวัฒนา

  • แทนตำแหน่งของนายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.ลำดับที่ 2 ของเขตเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง เขต 2 กรุงเทพมหานคร
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ประชาธิปัตย์ อภิรักษ์ โกษะโยธิน (2) 71,072 68.68
เพื่อไทย พงษ์พิสุทธิ์​ จินตโสภณ (1)✔ 30,506 29.48
ไทยพอเพียง จำรัส อินทุมาร (3) 1,252 1.21
ธรรมาธิปัตย์ ธันวา ไกรฤกษ์ (4) 661 0.64
ผลรวม 103,491 100.00
บัตรดี 103,491
ไม่ประสงค์ลงคะแนน
บัตรเสีย
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 111,696 33.73
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 331,173 100.00
ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง

เขต 2 ขอนแก่น[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 2 ประกอบไปด้วยอำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล อำเภอหนองสองห้อง อำเภอชนบท อำเภอแวงน้อย อำเภอแวงใหญ่ อำเภอเปือยน้อย อำเภอโนนศิลา และอำเภอโคกโพธิ์ไชย

  • แทนตำแหน่งของร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ลำดับที่ 1 ของเขตเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง เขต 2 จังหวัดขอนแก่น
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
เพื่อไทย ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช (2)* 143,007 79.74
ประชาธิปัตย์ อธิปปรัชญ์ ทัดพิชญางกูร (1) 36,338 20.26
ผลรวม 179,345 100.00
บัตรดี 179,345 96.37
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 3,635 1.95
บัตรเสีย 2,420 1.30
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 186,093 54.89
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 339,048 100.00
เพื่อไทย รักษาที่นั่ง

เขต 3 สุรินทร์[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 3 ประกอบไปด้วยอำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง อำเภอสังขะ อำเภอบัวเชด อำเภอศรีณรงค์ และอำเภอพนมดงรัก

  • แทนตำแหน่งของนางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.ลำดับที่ 2 ของเขตเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง เขต 2 จังหวัดสุรินทร์
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ภูมิใจไทย ศุภรักษ์ ควรหา (2)✔ 104,128 58.08
เพื่อไทย ปทิดา ตันติรัตนานนท์ (1) 75,147 41.92
ผลรวม 179,275 100.00
บัตรดี 179,275
ไม่ประสงค์ลงคะแนน
บัตรเสีย
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 324,203 100.00
ภูมิใจไทย ได้ที่นั่งจาก เพื่อแผ่นดิน

เขต 1 พระนครศรีอยุธยา[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วยอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอท่าเรือ อำเภอมหาราช อำเภอบ้านแพรก อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน อำเภอบางซ้าย อำเภอเสนา อำเภอบางบาล และอำเภอผักไห่

  • แทนตำแหน่งของนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.ลำดับที่ 3 ของเขตเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง เขต 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ชาติไทยพัฒนา เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร (2)* 84,518 48.69
เพื่อไทย องอาจ วชิรพงศ์ (1) 78,497 45.23
เครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย กาญจน์มณี ทรัพย์พันธ์ (3) 10,554 6.08
ผลรวม 173,569 100.00
บัตรดี 173,569
ไม่ประสงค์ลงคะแนน
บัตรเสีย
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 100.00
ชาติไทยพัฒนา รักษาที่นั่ง

เขต 6 นครราชสีมา[แก้]

เขตการเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วยอำเภอโชคชัย อำเภอหนองบุญมาก อำเภอจักราช อำเภอห้วยแถลง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ

  • แทนตำแหน่งของนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์​ ส.ส.ลำดับที่ 1 ของเขตเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง เขต 6 จังหวัดนครราชสีมา
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ภูมิใจไทย บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ (3)* 82,978 55.38
เพื่อไทย อภิชา เลิศพชรกมล (2) 63,487 42.37
ชีวิตที่ดีกว่า นิติศักดิ์​ วันโสภา (1) 3,366 2.25
ผลรวม 149,831 100.00
บัตรดี 149,831
ไม่ประสงค์ลงคะแนน
บัตรเสีย
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 235,753 100.00
ภูมิใจไทย รักษาที่นั่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. ไทยรัฐออนไลน์ (4 November 2010). "ศาลรธน.ลงดาบฟัน 6 ส.ส.หลุดสมาชิกภาพ". thairath. สืบค้นเมื่อ 28 March 2021.
  2. ปฐมพงษ์ พิพัฒนธนากิจ (19 June 2011). "คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดสมาชิกภาพตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2550". public-law.net. สืบค้นเมื่อ 28 March 2021.
  3. ไทยรัฐออนไลน์ (13 December 2010). "ผลเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ไม่เป็นทางการ'ภูมิใจไทย'ซิว 2 เขต". thairath. สืบค้นเมื่อ 28 March 2021.

ดูเพิ่ม[แก้]