ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์ พ.ศ. 2566

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์ พ.ศ. 2566

← 2017 1 กันยายน 2023 2029 →
ลงทะเบียน2,709,455 (เพิ่มขึ้น 7.66%)[a]
ผู้ใช้สิทธิ93.41% (ลดลง 1.39pp)[a]
 
ผู้ได้รับเสนอชื่อ ตรรมัน จัณมุกะรัตนัม อึ๋ง ก็อก ส็อง ตั๋น คิม เลียง
พรรค อิสระ อิสระ อิสระ
คะแนนเสียง 1,746,427 390,041 344,292
% 70.40% 15.72% 13.88%

ประธานาธิบดีก่อนการเลือกตั้ง

ฮามิลละฮ์ ยาก็อบ
อิสระ

ว่าที่ประธานาธิบดี

ตรรมัน จัณมุกะรัตนัม
อิสระ

มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 ถือเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์เป็นครั้งที่หก และเป็นครั้งที่สามที่มีผู้ลงสมัครมากกว่าหนึ่งคน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ฮาลิมะฮ์ ยาก็อบ ซึ่งได้รับเลือกโดยไม่มีผู้ลงสมัครแข่งใน การเลือกตั้งปี 2017 ไม่ได้ลงสมัครใหม่ในครั้งนี้

ผู้ลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตำแหน่งไม่สังกัดพรรคการเมือง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้แก่ ตรรมัน จัณมุกะรัตนัม, อึ๋ง ก็อก ส็อง และ ตั๋น คิม เลียง ทั้งหมดเป็นผู้สมัครอิสระหรือได้ลาออกจากตำแหน่งในพรรคการเมืองใด ๆ ที่เคยเป็นสมาชิกอยู่ ทั้งหมดได้รับวุฒิบัตรยืนยันคุณสมบัติ (COE) และวุฒิบัตรรับรองจากชุมชนที่อนุมัติให้สามารถลงแข่งในการเลือกตั้งได้

ตรรมันชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถล่มทลายที่ 70.40% ถือเป็นคะแนนเสียงที่มากที่สุดในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสิงคโปร์ที่มีผู้ลงสมัครแข่ง รวมถึงยังเป็นผู้สมัครที่ไม่ใช่ชาวจีนคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสิงคโปร์[1] คะแนนเสียงสำหรับผู้สมัครคนอื่นค่อนข้างจะแบ่งกัน โดยอึ๋งได้รับคะแนนเสียง 15.72% ส่วนตั๋น ซึ่งเป็นลงเลือกตั้งเป็นครั้งที่สอง ได้รับคะแนนเสียง 13.88% สำหรับตั๋น ถือว่าทำคะแนนได้ดีขึ้นหลังเสียสิทธิ์ในการลงสมัครครั้งแรกเมื่อปี 2011 ตรรมันมีกำหนดการเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 14 กันยายน เป็นประธานาธิบดีสิงคโปร์คนที่เก้า[2]

บทวิเคราะห์

[แก้]

เมื่อประกาศผลการนับคะแนนเบื้องต้นในวันที่ 2 กันยายน นักวิเคราะห์การเมืองเสนอว่าด้วยเสน่ห์ส่วนตัวและประสบการณ์กับผลงานในอดีตของตรรมัน ซึ่งรวมถึงการเป็นสมาชิกสภาจากเขตจูร่ง จีอาร์ซี ที่ซึ่งเขาทำคะแนนได้ดีมาตลอดในการเลือกตั้งสองครั้งเมื่อปี 2015 และ 2020 อาจส่งผลต่อชัยชนะถล่มทลายของเขา ในขณะที่อึ๋งไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ส่วนตั๋นมีประวัติประเด็นอันเป็นข้อโต้เถียง ยูจีน ตัน ระบุไว้ในรายงานพิเศษผลวันลงคะแนนเสียงของซีเอ็นเอว่าเป็นผลที่ "เกินคาด" (mind-boggling) เขายังเน้นย้ำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตั๋นกับพรรคฝ่ายค้าน ระบุว่าตั๋นมี "แรงต้านเยอะเกินไปในการลงสมัครเลือกตั้งครั้งนี้" นอกจากนี้ การรณรงค์เลือกตั้งของตั๋นยังมีลักษณะที่ยูจีนระบุว่ามีความ "รังเกียจสตรี, เหยียดเชื้อชาติ และกระทั่ง นิยมคนพื้นถิ่น" แนวคิดเหล่านี้ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่ปฏิเสธ[3]

เสียงตอบรับต่อผลคะแนนเลือกตั้งจากบรรดานักวิเคราะห์การเมืองมีแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่นนักวิเคราะห์การเมืองจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยัง ศ. ฟีลิกซ์ ตัน (Felix Tan) ระบุว่าผลการเลือกตั้ง "ค่อนข้างจะไม่เป็นตามคาด และออกไปทางน่าประหลาดใจ" และเน้นว่าลักษณะ "สถาบันสู้กับพวกต่อต้านสถาบัน"อาจมีผลต่อผลซึ่งน่าผิดหวัง (anticlimactic) ส่วนผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ Chong Ja Ian วิจารณ์ผลการเลือกตั้ง ระบุว่าตรรมันได้แต้มต่ออย่างมากจาก "คู่แข่งสองคนที่อ่อน"[3]

ในบทความคิดเห็นที่ตีพิมพ์เว็บของซีเอ็นเอ อดีตบรรณาธิการข่าว ฮัน ฟู้ก ควัง (Han Fook Kwang) กล่าวว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้มีความสำคัญยิ่งในทางการเมือง ชัยชนะถล่มทลายของตรรมันถือว่าทำลายข้อกล่าวอ้างของสมาชิกรัฐบาลสิงคโปร์ว่าชาวสิงคโปร์ที่สูงวัยไม่พร้อมที่จะยอมรับนายกรัฐมนตรีที่ไม่ใช่ชาวจีน[4]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 เมื่อเทียบกับปี 2011

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wong, Tessa (2 September 2023). "Tharman Shanmugaratnam: Singapore picks a president who could've been much more". BBC News. สืบค้นเมื่อ 6 September 2023.
  2. Goh, Yan Han (11 August 2023). "Singapore Presidential Election 2023: Polling Day on Sept 1, Nomination Day on Aug 22". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0585-3923. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 11 August 2023.
  3. 3.0 3.1 "'Rather unexpected': Analysts surprised at Tharman's margin of victory in Singapore Presidential Election". CNA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 September 2023.
  4. Han, Fook Kwang (6 September 2023). "Commentary: Why the 2023 Presidential Election results are politically significant". CNA. Singapore: Mediacorp. สืบค้นเมื่อ 6 September 2023.