การเรียนรู้เชิงรับ
การเรียนรู้เชิงรับ[1] (อังกฤษ: passive learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับข้อมูลจากผู้สอน โดยป็นวิธีที่ผู้เรียนไม่ได้รับการตอบกลับจากผู้สอน[2][3] ศัพท์คำนี้มักใช้ร่วมกับคำว่าการสอนทางตรงและการบรรยาย ซึ่งการเรียนรู้เชิงรับเป็นผลที่ได้จากกระบวนการสอนในลักษณะนั้น ลักษณะของการเรียนรู้นี้เน้นไปที่ครูเป็นศูนย์กลางและตรงกันข้ามกับการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ผู้เรียนมีบทบาทเชิงรุกหรือมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนการสอน รวมถึงต่างจากวิธีการโสกราตีสที่ผู้เรียนและผู้สอนมีส่วนร่วมในบทสนทนาเชิงโต้แย้งแบบร่วมมือกัน การเรียนรู้เชิงรับเป็นวิธีการแบบดั้งเดิมที่ใช้ในโรงเรียนแบบโรงงานและโรงเรียนสมัยใหม่ รวมทั้งการให้บริการทางศาสนาทั้งในอดีตและร่วมสมัย
การเรียนรู้เชิงรับไม่ได้เป็นผลลัพธ์ของรูปแบบการศึกษาเพียงเท่านั้น ผู้เรียนเชิงรับอาจซึมซับข้อมูลและความรู้โดยไม่ต้องมีส่วนร่วมกับการได้รับข้อมูลหรือประสบการณ์การเรียนรู้ พวกเขาอาจไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แบ่งปันความรู้หรือมีส่วนร่วมในการสนทนา คาดว่าประชากรประมาณร้อยละ 60 เป็นผู้เรียนเชิงรับ[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศัพท์บัญญัติ ๔๐ สาขาวิชา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ BusinessDirectory.com, definition เก็บถาวร 2019-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 2016-04-02
- ↑ Norbert Michel, John James Cater III, Otmar Varela: Active Versus Passive Teaching Styles: An Empirical Study of Student Learning Outcomes, Human Resource Development Quarterly, DOI: 10.1002/hrdq, John Wiley & Sons, Inc. / Business เก็บถาวร 2015-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 2016-04-02
- ↑ Engage Passive Learnings, Chief Learning Officer, January 10, 2013. Retrieved 2016-04-02