การเรียนรู้ตามอัธยาศัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (อังกฤษ: Informal learning) มีลักษณะเฉพาะคือมีการวางแผนและการจัดการในระดับต่ำในด้านบริบทการเรียนรู้, การสนับสนุนการเรียนรู้, เวลาในการเรียนรู้ และวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้[1] ซึ่งต่างจากการเรียนรู้ในระบบ, การเรียนรู้นอกระบบ เนื่องจากการเรียนรู้ตามอัธยาศัยไม่มีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ แต่ดูจากความตั้งใจที่จะกระทำจากมุมมองของผู้เรียน เช่น การแก้ปัญหา วิธีการโดยทั่วไปของการเรียนรู้ตามอัธยาศัย เช่น การลองผิดลองถูกหรือการเรียนรู้จากการกระทำ, การแสดงตัวอย่าง, การให้ข้อมูลป้อนกลับในเชิงแก้ไขและการสะท้อนคิด[2][3] การเรียนรู้ตามอัธยาศัยเป็นปรากฏการณ์ต่อเนื่องของการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมหรือการเรียนรู้ผ่านการสร้างความรู้ ซึ่งต่างจากมุมมองดั้งเดิมของการเรียนรู้ที่มีครูเป็นศูนย์กลางผ่านการได้รับความรู้ ประมาณการว่าร้อยละ 70–90 ของการเรียนรู้ของผู้ใหญ่เกิดขึ้นในแบบตามอัธยาศัยและนอกสถาบันการศึกษา[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kyndt, Eva; Baert, Herman (2013). "Antecedents of Employees' Involvement in Work-Related Learning". Review of Educational Research. American Educational Research Association. 83 (2): 273–313. doi:10.3102/0034654313478021. ISSN 0034-6543. S2CID 145446612.
  2. Decius, Julian; Schaper, Niclas; Seifert, Andreas (2019). "Informal workplace learning: Development and validation of a measure". Human Resource Development Quarterly. Wiley. 30 (4): 495–535. doi:10.1002/hrdq.21368. ISSN 1044-8004. S2CID 201376378.
  3. Tannenbaum, S. I., Beard, R. L., McNall, L. A., & Salas, E. (2010). Informal Learning and Development in Organizations. In S. W. J. Kozlowski, & E. Salas (Eds.), Learning, training, and development in organizations (pp. 303-332). New York: Routledge.
  4. Cerasoli, Christopher P.; Alliger, George M.; Donsbach, Jamie S.; Mathieu, John E.; Tannenbaum, Scott I.; Orvis, Karin A. (2017-04-26). "Antecedents and Outcomes of Informal Learning Behaviors: a Meta-Analysis". Journal of Business and Psychology. Springer Science and Business Media LLC. 33 (2): 203–230. doi:10.1007/s10869-017-9492-y. ISSN 0889-3268. S2CID 53410750.