การเมืองกินคน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเมืองกินคน
โปสเตอร์ภาพยนตร์
กำกับจอร์จ คลูนีย์
บทภาพยนตร์จอร์จ คลูนีย์
แกรนท์ เฮสลอฟ
โบ วิลลิมอน
สร้างจากฟาร์รากัท นอร์ธ
โดย โบ วิลลิมอน
อำนวยการสร้างแกรนท์ เฮสลอฟ
จอร์จ คลูนีย์
ไบรอัน โอลิเวอร์
นักแสดงนำไรอัน กอสลิง
จอร์จ คลูนีย์
ฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟฟ์แมน
พอล จิอามัตติ
อีวาน ราเชล วูด
เมริซา โทเม
เจฟฟรีย์ ไรท์
กำกับภาพไฟดอน ปาปามิคาอิล
ตัดต่อสตีเฟน มีเรียน
ดนตรีประกอบอเล็กซานเดร เดสปลา
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายโคลัมเบียพิกเจอส์
วันฉาย31 สิงหาคม ค.ศ. 2011 (2011-08-31)(เวนิส)
ตุลาคม 7, 2011 (สหรัฐฯ)
กุมภาพันธ์ 23, 2012 (ไทย)
ความยาว101 นาที[1]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง$12.5 ล้าน[2]
ทำเงิน$75,993,061[3][4]

การเมืองกินคน (อังกฤษ: The Ides of March) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวดราม่าการเมือง กำกับโดยจอร์จ คลูนีย์ บทภาพยนตร์โดยจอร์จ คลูนีย์ ร่วมกับแกรนท์ เฮสลอฟ และโบ วิลลิมอน ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากละครเวทีเรื่องฟาร์รากัท นอร์ธ (Farragut North) ของวิลลิมอน นำแสดงโดยไรอัน กอสลิง, จอร์จ คลูนีย์, ฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟฟ์แมน, พอล จิอามัตติ, เอฟแวน เรเชล วู้ด, เมริซา โทเม และ เจฟฟรีย์ ไรท์

ภาพยนตร์ The Ides of March ถูกนำเสนอเป็นภาพยนตร์เปิดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสครั้งที่ 68 และเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติไฮฟาครั้งที่ 27 และถูกฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต 2011 และออกฉายในสหรัฐอเมริกา 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 และในไทย 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 [5]

เค้าโครงเรื่อง[แก้]

สตีเฟ่น เมเยอร์ส ผู้จัดการหาเสียงหนุ่ม ที่ทำงานให้กับไมค์ มอร์ริส ผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย และผู้เข้าชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครต เพื่อเข้าแข่งขันเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่มีคู่แข่งหลักอย่างวุฒิสมาชิก เท็ด พูลแมนจากรัฐอาร์คันซอ การรณรงค์หาเสียงของทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องการการสนับสนุนจากวุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครต แฟรงกลิน ทอมสันจากรัฐนอร์ธแคโรไลนา ที่ควบคุมคะแนนเสียงในที่ประชุมกว่า 356 เสียง ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายนึงชนะอย่างเด็ดขาด หลังจากการโต้วาทีที่มหาวิทยาลัยไมอามี ผู้จัดการหาเสียงของพูลแมน ทอม ดัฟฟี่ เข้ามาติดต่อเพื่อขอพบเมเยอร์สอย่างลับๆ เมเยอร์สจึงโทรหาเจ้านายของเขา พอล ซาร่า ซึ่งเป็นผู้จัดการหาเสียงอาวุโส แต่พอลไม่ได้รับสาย เมเยอร์สจึงตัดสินใจพบกันดัฟฟี่ โดยดัฟฟี่เสนอตำแหน่งในการรณรงค์หาเสียงของพูลแมนแต่เมเยอร์สปฏิเสธ เมื่อซาร่าโทรกลับมาถามว่ามีอะไรสำคัญ เมเยอร์สจึงตอบไปว่าไม่มีอะไรต้องเป็นกังวล ในขณะเดียวกัน เมเยอร์สเริ่มความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับมอลลี่ สเติร์นส์ เด็กฝึกงานสาวสวยที่ทำงานในการรณรงค์หาเสียงของมอร์ริส และลูกสาวของแจ็ค สเติร์นส์ ประธานคณะกรรมการแห่งชาติของพรรคเดโมแครต

ต่อมาเมเยอร์สยอมรับกับซาร่าว่าเขาพบกับดัฟฟี่ โดยดัฟฟี่บอกว่าพูลแมนจะเสนอตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศให้กับทอมสัน ทำให้แน่ใจได้ว่าพูลแมนจะชนะอย่างแน่นอน ซาร่ากับเมเยอร์สจึงเข้าไปคุยกับมอร์ริสเพื่อโน้มน้าวให้เขายื่นข้อเสนอเดียวกันให้กับทอมสันเพื่อรับรองการสนับสนุนและคะแนนเสียงของผู้แทน มอรร์สปฏิเสธบนหลักการเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับทอมสันและนโยบายของเขา และเพราะต้องการให้การรณรงค์หาเสียงเป็นไปอย่างใสสะอาด

ต่อมาตอนดึกวันหนึ่งขณะที่มอลลี่หลับอยู่ เมเยอร์สเห็นมอร์ริสพยายามจะโทรหาเธอหลังจากที่เขารับโทรศัพท์ของเธอโดยบังเอิญ เมเยอร์สจึงรู้ว่ามอลลี่กับมอร์ริสเคยมีความสัมพันธ์ชั่วข้ามคืนกันเมื่อก่อน เมื่อตอนหยุดพักหาเสียงที่รัฐไอโอวาเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน และตอนนี้มอลลี่ก็ตั้งท้องกับท่านผู้ว่าฯ ซึ่งเสี่ยงต่อการตกเป็นข่าวฉาว เมเยอร์สจ่ายเงินให้เธอเอาไปทำแท้งแล้วเตือนไม่ให้เธอบอกใคร นอกจากนี้เขายังไล่มอลลี่ออกจากการรณรงค์หาเสียงเพื่อหาแน่ใจว่าเธอจะไม่ปริปาก ไอด้า โฮโรวิคซ์ ผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ เปิดเผยกับเมเยอร์สว่ามีแหล่งข่าวนิรนามปล่อยข่าวการพบปะของเขากับดัฟฟี่กับเธอ และขู่ว่าจะตีพิมพ์เรื่องนี้นอกจากเมเยอร์สจะเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับการพบปะครั้งนั้น

ด้วยเหตุนี้ เมเยอร์สจึงมาหาซาร่าเพื่อขอความช่วยเหลือ ด้วยความกลัวว่าข่าวนี้จะทำลายชื่อเสียงของเขา, ของซาร่า และของการรณรงค์หาเสียงโดยภาพรวม ซาร่าจึงเปิดเผยว่าเขาเองเป็นคนที่ปล่อยข่าวให้กับไอด้า ด้วยความเห็นชอบของมอร์ริส เพื่อบังคับให้เมเยอร์สลาออกจากการรณรงค์หาเสียง โดยให้เหตุผลว่าเมเยอร์สไม่ซื่อสัตย์ที่แอบไปพบกับดัฟฟี่ ซาร่าบอกว่านี่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่ทำไปเพราะเสียความเชื่อมั่นในเมเยอร์ส เมเยอร์สที่จนตรอกจึงเข้าหาดัฟฟี่ เพื่อเสนอความช่วยเหลือ แต่ดัฟฟี่สารภาพว่าที่เขานัดพบกับเมเยอร์สก็เพื่อต้องการทำให้การรณรงค์ของคู่แข่งปั่นป่วนเท่านั้น โดยหวังว่าเมเยอร์สจะลาออกมาทำงานก็เขา หรือไม่ก็ถูกซาร่าไล่ออก

ดัฟฟี่เปิดเผยว่าเขาคาดว่าเมเยอร์สจะบอกกับซาร่าเรื่องการพบกันลับๆ ซึ่งจะทำให้ซาร่าหาทางกำจัดเมเยอร์สออกจากการรณรงค์หาเสียง ส่งผลให้การรณรงค์หาเสียงของมอร์ริสแผ่วลง และทำให้การรณรงค์หาเสียงของพูลแมนเข้มแข็งขึ้น ด้วยเหตุที่ว่าซาร่าไล่เมเยอร์สออกไปแล้ว เขาจึงไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะจ้างเมเยอร์สอีก ดัฟฟี่ขอโทษเมเยอร์สกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนะนำให้เมเยอร์สวางมือจากวงการนี้เสียก่อนที่จะเป็นคนเห็นแก่ตัวเหมือนกันเขา เมเยอร์สยื่นข้อเสนอที่จะหักหลังมอร์ริสอย่างเต็มตัว แต่ดัฟฟี่ปฏิเสธเพราะคิดว่าเมเยอร์สทำร้ายมอร์ริสไม่ได้แล้ว และมั่นใจว่าทอมสันจะชนะอย่างแน่นอน ในขณะเดียวกัน มอลลี่ที่รู้ว่าเมเยอร์สถูกไล่ออก ด้วยความกลัวว่าเมเยอร์สจะเปิดโปงเรื่องของเธอ มอลลี่จึงกินยาเกินขนาดจนเสียชีวิต เมเยอร์สที่เพิ่งรู้ตัวว่าถูกทั้งสองฝั่งหลอกใช้ จึงตั้งใจที่จะเล่นงานทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการแก้แค้น

เมเยอร์สแอบไปพบกับทอมสัน ในนามของมอร์ริสเพื่อต่อรองขอเสียงคะแนนจากทอมสันเพื่อแลกกับตำแหน่งรองประธานาธิบดีข้างมอร์ริส ทอมสันแสดงออกอย่างชัดเจนอยากอยู่กับมอร์ริสมากกว่าพูลแมนและตอบตกลงกับเมเยอร์ส ต่อมาเมเยอร์สพบกับมอร์ริสในบาร์ โดยขู่ว่าจะแฉเรื่องอื้อฉาวกับมอลลี่ถ่ามอร์ริสไม่ยอมรับข้อเสนอของเขา โดยให้ไล่ซาร่าออก, แต่งตั้งเมเยอร์สเป็นผู้ดูแลการรณรงค์หาเสียงคนใหม่ และมอบตำแหน่งรองประธานาธิบดีให้กับทอมสัน มอร์ริสยืนยันว่าไม่มีหลักฐาน แต่เมเยอร์สอ้างว่ามีจดหมายลาตายอยู่ในห้องของมอลลี่ที่จะเปิดโปงเรื่องทั้งหมด มอร์ริสจึงยอมแต่โดยดี ซาร่าถูกไล่ออกแต่ยอมรับด้วยความเข้าใจ

ที่งานศพของมอลลี่ ซาร่าเข้าหาเมเยอร์สอย่างเป็นมิตร โดยบอกเมเยอร์สว่าเขารู้ว่าเมเยอร์สต้องมีอะไรที่ใหญ่พอจะทำให้มอร์ริสให้ไล่ซาร่าออกและจ้างเมเยอร์สแทน หลังจากซาร่าถูกไล่ออกจึงไปรับงานที่ปรึกษาปีละล้านเหรียญ ซึ่งตัวเขาเองพอใจและถือว่าเป็นการเกษียณตัวเองจากการเมือง ต่อมาการสนับสนุนจากทอมสันทำให้มอร์ริสกลายเป็นตัวแทนของพรรคไปโดยปริยาย แม้ว่าจะแพ้การเลือกตั้งหาตัวแทนที่รัฐโอไฮโอ ดัฟฟี่ที่ทำให้เมเยอร์สจนตรอกและปฏิเสธข้อเสนอสุดท้ายของมอร์ริสพยายามปั้นหน้าให้ดูดีแม้ว่าจะรู้ชัดแล้วว่าคนที่เขาทำงานให้จะต้องแพ้

เมเยอร์สในตำแหน่งผู้จัดการรณรงค์หาเสียงอาวุโส กำลังเดินทางไปสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์กับจอห์น คิง เมื่อไอด้ามาหายังไม่ทันตั้งตัว และบอกว่าบทความต่อไปของเธอจะเกี่ยวกับเรื่องราวที่เมเยอร์สก้าวขึ้นมาถึงจุดนี้และมอบชัยชนะให้กับมอร์ริส เมเยอร์สตอบสนองด้วยการให้ รปภ. ห้ามเธอไม่ให้เข้ามาใกล้ ต่อมาเมื่อมอร์ริสกำลังกล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยความสำคัญของความซื่อสัตย์และศักดิ์ศรี เมเยอร์สที่ถูกถามเพื่อขอความเห็น จึงเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

รายชื่อนักแสดงนำ[แก้]

  • ไรอัน กอสลิง เป็น สตีเฟ่น เมเยอร์ส ผู้จัดการรณรงค์หาเสียงให้กับมอร์ริส[6]
  • จอร์จ คลูนีย์ เป็น ไมค์ มอร์ริส ผู้ว่าการรัฐเพนซิลเวเนีย และผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต[6]
  • ฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟฟ์แมน เป็น พอล ซาร่า ผู้จัดการรณรงค์หาเสียงให้กับมอร์ริส และหัวหน้าของเมเยอร์ส[7]
  • พอล จิอามัตติ เป็น ทอม ดัฟฟี่ ผู้จัดการรณรงค์หาเสียงให้กับเท็ด พูลแมน
  • เอฟแวน เรเชล วู้ด เป็น มอลลี่ สเติร์นส์ เด็กฝึกงานในการรณรงค์หาเสียงของมอร์ริส และคู่รักของเมเยอร์ส[8]
  • เมริซา โทเม เป็น ไอด้า โฮโรวิคซ์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์[8]
  • เจฟฟรีย์ ไรท์[7] เป็น วุฒิสมาชิกแห่งรัฐนอร์ธแคโรไลนา แฟรงกลิน ทอมสัน จากพรรคเดโมแครต
  • เจนนิเฟอร์ อีลาย เป็น ซินดี้ มอร์ริส ภริยาของท่านผู้ว่าฯ มอร์ริส
  • เกรกอรี่ อิทซิน เป็น อดีตวุฒิสมาชิกแจ๊ค สเติร์นส์ พ่อของมอลลี่ สเติร์นส์ และประธานคณะกรรมการแห่งชาติของพรรคเดโมแครต
  • ไมเคิล แมนเทล เป็น เท็ด พูลแมน วุฒิสมาชิกแห่งรัฐอาร์คันซอ และคู่แข่งของมอรร์สในการแข่งขันเลือกตัวแทนพรรคเดโมแครต
  • แม็กซ์ มิงเฮลลา เป็น เบ็น ฮาร์เพ็น[7] สมาชิกในคณะทำงานรณรงค์หาเสียงของมอร์ริส

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Ides of March (15)". E1 Films. British Board of Film Classification. 12 กันยายน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. Kaufman, Amy (6 ตุลาคม พ.ศ. 2554). "Movie Projector: 'Real Steel' to crush 'Ides of March'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "The Ides of March (2011)". Box Office Mojo. Amazon.com. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "The Ides of March". The-Numbers.com. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "เรื่องย่อ The Ides of March". Kapook.com. Kapook.com. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม พ.ศ. 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 Fischer, Russ (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553). "Sony Picks up George Clooney's 'The Ides of March' For December 2011 Release". /Film. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-19. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 "The Ides of March (2011)". All Media Guide. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 McNary, Dave (27 ตุลาคม พ.ศ. 2553). "Clooney to direct Gosling in 'Ides of March'". Variety. Reed Business Information. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-19. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)