การเผยแผ่ศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดใหญ่แห่งบัยตุรเราะฮ์มานที่บันดาร์อาเจะฮ์ จังหวัดอาเจะฮ์ การเผยแผ่ศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซียเริ่มต้นในภูมิภาคนี้

ประวัติการเข้ามาของศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซียค่อนข้างไม่ชัดเจน[1] โดยทฤษฎีหนึ่งระบุว่า ศาสนาอิสลามเดินทางมาจากคาบสมุทรอาหรับโดยตรงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ซึ่งตรงกับสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์และอับบาซียะฮ์ ส่วนอีกทฤษฎียกให้นักเดินทางศูฟีนำอิสลามเข้ามาในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หรือ 13 จากรัฐคุชราตในประเทศอินเดีย หรือจากเปอร์เซีย[2] ก่อนที่หมู่เกาะจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาหลักในประเทศอินโดนีเซียคือศาสนาฮินดู (โดยเฉพาะในธรรมเนียมลัทธิไศวะ) และศาสนาพุทธ[3][4]

หมู่เกาะที่ปัจจุบันอยู่ในอินโดนีเซียได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งเครื่องเทศอย่างจันทน์เทศและกานพลูมานานหลายศตวรรษ ซึ่งเป็นสินค้าหลักในการค้าเครื่องเทศมายาวนานก่อนที่โปรตุเกสเข้ามาที่หมู่เกาะบันดาใน ค.ศ. 1511[5][6] เนื่องจากจุดยุทธศาสตร์ของหมู่เกาะที่เป็นประตูระหว่างโลกมุสลิมกับจีนสมัยจักรวรรดิ บริเวณจึงกลายเป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศที่พลุกพล่านสำหรับพ่อค้าที่ทำธุรกิจการค้าหลายรูปแบบ[7] และเป็นบริเวณที่ผู้คนต่างแบ่งปันวัฒนธรรมของตน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือความเชื่ออิสลาม

ถึงแม่ว่าจะเป็นหนึ่งในการพัฒนาที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย หลักฐานเกี่ยวกับการเข้ามาของอิสลามในอินโดนีเซียกลับมีจำกัด โดยมีการถกเถียงกันอย่างมากในหมู่นักวิชาการเกี่ยวกับข้อสรุปใดที่สามารถสรุปได้เกี่ยวกับการเข้ารีตของชาวอินโดนีเซีย[8]: 3  หลักฐานชั้นปฐมภูมิ (อย่างน้อยในขั้นตอนก่อนหน้าของกระบวนการ) คือป้ายสุสานและบันทึกนักเดินทางสองสามคน แต่ข้อมูลเหล่านั้นแสดงให้เห็นมุสลิมพื้นเมืองในสถานที่หนึ่ง ณ ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น หลักฐานนี้ไม่สามารถอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนกว่านี้ได้ เช่น วิถีชีวิตได้รับผลกระทบจากศาสนาใหม่ หรือมีผลกระทบต่อสังคมอย่างลึกซึ้งเพียงใด และไม่สามารถคาดการณ์ว่าเพียงเพราะมีผู้นำที่รู้กันว่าเป็นมุสลิม ดังนั้นจึงเกิดอิสลามานุวัตรอย่างแพร่หลาย ถึงกระนั้น จุดเปลี่ยนที่ชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อจักรวรรดิมัชปาหิตของฮินดูในชวาตกไปเป็นของรัฐสุลต่านเดอมัก จากนั้นใน ค.ศ. 1527 ผู้นำมุสลิมเปลี่ยนชื่อเมืองซุนดาเกอลาปาเป็นจายาการ์ตา (แปลว่า "ชัยชนะอันล้ำค่า") ซึ่งภายหลังย่อเป็นจาการ์ตา

การเผยแผ่ศาสนาอิสลามเป็นไปอย่างเชื่องช้า[9] หลักฐานที่มีอยู่อย่างจำกัดเท่าที่ทราบกันในปัจจุบันบ่งชี้ว่าการแพร่กระจายของศาสนาอิสลามเร่งตัวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียคือการบรรลุผลโดยสันติวิธีในทางทั่วไป[10][11][12][13] เมื่อพ่อค้ามุสลิมตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ชายฝั่ง พวกเขาก็เริ่มถูกกลืนเข้ากับประชากรพื้นเมือง ภายหลังจึงเกิดชุมชนมุสลิมใหม่ตามหลักฐานในบันทึกการเดินทางของอิบน์ บะฏูเฏาะฮ์, เจิ้งเหอ และมาร์โก โปโล มุสลิมหลายคนแต่งงานระหว่างกันกับเชื้อพระวงศ์และบรรดาลูกหลานได้จัดตั้งรัฐสุลต่านหลายแห่งในสุมาตราและชวา ทำให้สมัยฮินดู-พุทธของประวัติศาสตร์อินโดนีเซียสิ้นสุดลง

ธงรัฐสุลต่านในอินเดียตะวันออก (อินโดนีเซีย)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Introduction to Islam in Indonesia - Development of Indonesian Islam | Indonesia Investments". www.indonesia-investments.com.
  2. Nina Nurmila (31 January 2013). Jajat Burhanudin, Kees van Dijk (บ.ก.). Islam in Indonesia: Contrasting Images and Interpretations. Amsterdam University Press. p. 109. ISBN 9789089644237.
  3. Jan Gonda (1975). Handbook of Oriental Studies. Section 3 Southeast Asia, Religions. BRILL Academic. pp. 3–20, 35–36, 49–51. ISBN 90-04-04330-6.
  4. Ann R. Kinney; Marijke J. Klokke; Lydia Kieven (2003). Worshiping Siva and Buddha: The Temple Art of East Java. University of Hawaii Press. pp. 21–25. ISBN 978-0-8248-2779-3.
  5. Giles Milton (2000). Nathaniel's Nutmeg: The True and Incredible Adventures of the Spice Trader Who Changed the Course of History. Penguin Books. p. 5.
  6. "The Trade in Spices | Silk Roads Programme". en.unesco.org. สืบค้นเมื่อ 2022-06-29.
  7. "The Strait of Malacca – a historical shipping metropolis". World Ocean Review (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-06-29.
  8. Ricklefs, M.C. (1991). A History of Modern Indonesia since c.1300, 2nd Edition. London: MacMillan. ISBN 0-333-57689-6.
  9. Audrey Kahin (2015). Historical Dictionary of Indonesia. Rowman & Littlefield Publishers. pp. 3–5. ISBN 978-0-8108-7456-5.
  10. "Did you know?: The Spread of Islam in Southeast Asia through the Trade Routes | Silk Roads Programme". en.unesco.org. สืบค้นเมื่อ 2022-06-29.
  11. Azra, Azyumardi (2006). Islam in the Indonesian World: An Account of Institutional Formation. Mizan Pustaka. pp. 3–4. ISBN 978-979-433-430-0.
  12. Alles, Delphine (2015). "Historical Detour: The Long Interplay between Transnational Islamic Actors and the Archipelago's Foreign Relations". Transnational Islamic Actors and Indonesia's Foreign Policy: Transcending the State (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 13. ISBN 978-1-317-65592-3.
  13. Ipenburg, At; Roof, Wade Clark (2011). "Indonesia". Encyclopedia of Global Religion (ภาษาอังกฤษ). SAGE Publications. p. 558. ISBN 978-0-7619-2729-7.

ข้อมูล[แก้]

  • Van Nieuwenhuijze, C.A.O. (1958). Aspects of Islam in Post-Colonial Indonesia. The Hague: W. van Hoeve Ltd.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]