การเบนตามแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ใบไม้ของกล้วยไม้สกุลเขากวางอ่อน (Phalaenopsis) เบนเข้าหาแสง ขณะที่รากของต้นเบนออกจากแสง

การเบนตามแสง (อังกฤษ: phototropism) เป็นการเบนของพืชโดยมีแสงซึ่งเป็นสิ่งเร้าภายนอก มักพบได้กับพืชที่ปลูกในร่ม ซึ่งสามารถจำแนกได้สองประเภทคือ

  • การเบนเข้าหาแสง (positive phototropism) - ปลายยอดของพืชจะพยายามเบนเข้าหาแสง
  • การเบนออกจากแสง (negative phototropism หรือ skototropism) - รากของพืชจะพยายามงอกไปยังทิศทางที่ไม่มีแสง

สาเหตุของการเบน[แก้]

การเบนตามแสงไม่ใช่เพราะพืชต้องการแสงจึงเบนเข้าหาแสง แต่เป็นเพราะว่าฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่งชื่อว่าออกซินมีผลิตมากที่ปลายยอดพืช ซึ่งด้านที่ได้รับแสงจะมีปริมาณออกซินน้อยกว่าด้านที่ไม่ได้รับแสง จึงทำให้อัตราการยืดเซลล์ของบริเวณที่ได้รับแสงน้อยกว่าด้านที่ไม่ได้รับแสง ปลายยอดพืชจึงเบนเข้าหาแสง[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ชุมพล คุณวาสี. "การตอบสนองและการควบคุมภายในพืช" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-07-02. สืบค้นเมื่อ 13 ก.พ. 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)