การเจรจาหกฝ่าย
การเจรจาหกฝ่ายมุ่งแสวงทางออกอย่างสันติต่อความกังวลด้านความมั่นคงอันสืบเนื่องจากโครงการอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ มีการประชุมหลายครั้งของรัฐผู้เข้าร่วม 6 รัฐในกรุงปักกิ่ง ได้แก่ ประเทศเกาหลีเหนือ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐ ประเทศจีนและประเทศรัสเซีย[1]
การเจรจาดังกล่าวเป็นผลจากเกาหลีเหนือถอนตัวจากสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในปี 2546 การเจรจาที่ดูคืบหน้าในรอบที่ 4 และ 5 กลับถูกย้อนโดยเหตุการณ์ภายนอก การเจรจาห้ารอบระหว่างปี 2546 ถึง 2550 มีความคืบหน้าสุทธิเพียงเล็กน้อย[2] โดยเกาหลีเหนือตกลงปิดศูนย์นิวเคลียร์เพื่อแลกกับความช่วยเหลือด้านเชื้อเพลิงและดำเนินการปรับปรุงความสัมพันธ์กับสหรัฐและญี่ปุ่น[3][4] ประเทศเกาหลีเหนือประกาศเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2552 ว่าจะถอนตัวจากการเจรจาหกฝ่ายและจะกลับไปดำเนินการโครงการเสริมสมรรถนะนิวเคลียร์ต่อ[5] เพื่อตอบโต้แถลงการณ์ประธานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ลงวันที่ 13 เมษายน 2552[6] ประเทศเกาหลีเหนือยังขับผู้ตรวจการนิวเคลียร์ทุกคนออกจากประเทศ[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Six-party Talks Kicked off". Permanent Representative of China to the United Nations. 2003-08-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-14. สืบค้นเมื่อ 2017-05-24.
- ↑ Xinhua (2006-12-18). "6-party talks: 2nd phase, 5th round". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-15. สืบค้นเมื่อ 2006-12-19.
- ↑ "Rice hails N Korea nuclear deal". BBC News. 2007-02-13. สืบค้นเมื่อ 2007-02-13.
- ↑ Scanlon, Charles (2007-02-13). "The end of a long confrontation?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2007-02-13.
- ↑ "DPRK Foreign Ministry Vehemently Refutes UNSC's "Presidential Statement"". KCNA. 2009-04-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-10. สืบค้นเมื่อ 2010-07-12.
- ↑ "UNSC Presidential Statement" (PDF). United Nations. 2009-04-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-10. สืบค้นเมื่อ 2010-07-12.
- ↑ Landler, Mark (2009-04-15). "North Korea Says It Will Halt Talks and Restart Its Nuclear Program". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-05-23.