การออกแบบให้หมดอายุขัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชฟโรเลต 1923 เป็นหนึ่งในตัวอย่างชิ้นแรก ๆ ของการเปลี่ยนแค่เปลือกรายปี (annual facelifts) ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ผ่านการเปลี่ยนเพียงบอดี้ของรถซึ่งยังใช้เทคโนโลยีเดิมจากเก้าปีก่อน[1]

ในเศรษฐศาสตร์และการออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบให้หมดอายุขัย[2] หรือ การออกแบบให้หมดอายุก่อนวัยอันควร (อังกฤษ: planned obsolescence, built-in obsolescence หรือ premature obsolescence) เป็นนโยบายในการวางแผนหรืออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุขัยการใช้งานที่จำกัด หรือออกแบบให้ออกมาอ่อนแอเพื่อที่จะถูกทิ้ง (obsolete) หลังจากการใช้เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ประเมินมาแล้ว เมื่อสิ้นสุดอายุขัยที่กำหนด ผลิตภัณฑ์อาจไม่สามารถใช้งานได้หรือตกยุค[3] วิธีคิดเบื้องหลังแผนนี้คือการสร้างปริมาตรการค้าในระยะยาวผ่านการลดทอนเวลาระหว่างการซื้อผลิตภัณฑ์ หรือที่เรียกว่า "การย่นย่อวัฏจักรการเปลี่ยนทดแทน" (shortening the replacement cycle)[4] การลดอายุขัยการใช้งานของผลิตภัณฑ์ลงโดยจงใจนำไปสู่การที่ผู้บริโภคมีความจำเป็นต้องซื้อสินค้าใหม่อยู่เรื่อย ๆ[5]

การออกแบบให้หมดอายุขัยมักจะทำงานได้ดีที่สุดในกรณีที่ผู้ผลิตอย่างน้อยมีคู่แข่งน้อยรายในตลาด[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Annual model change was the result of affluence, technology, advertising. Automotive News, September 14, 2008
  2. ปรากฏใช้คำนี้ใน The Momentum และ ADay
  3. Bulow, Jeremy (November 1986). "An Economic Theory of Planned Obsolescence" (PDF). The Quarterly Journal of Economics. Oxford University Press. 101 (4): 729–749. doi:10.2307/1884176. JSTOR 1884176. S2CID 154545959. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-19.
  4. Bidgoli, Hossein (2010). The Handbook of Technology Management, Supply Chain Management, Marketing and Advertising, and Global Management. Wiley. p. 296. ISBN 978-0470249482.
  5. Giles Slade (2006), "Made to Break: Technology and Obsolescence in America", Harvard University Press, p5.
  6. Orbach, Barak (2004). "The Durapolist Puzzle: Monopoly Power in Durable-Goods Market". Yale Journal on Regulation. 21: 67–118. SSRN 496175.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]