การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกือบหนึ่งในสี่ของดินแดนเอสโตเนียครอบคลุมพื้นที่ชุ่มน้ำ[1] ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการคุ้มครอง และสถานที่ในภาพคือบึงมานนิกยาร์เวอ ในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติเอนด์ลา

การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องและรักษาพื้นที่ที่มีน้ำอยู่หรือใกล้พื้นผิวโลก เช่น ที่ลุ่มน้ำขัง, ที่ลุ่มชื้นแฉะ และพรุ พื้นที่ชุ่มน้ำครอบคลุมพื้นที่อย่างน้อยร้อยละหกของโลก และได้กลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการอนุรักษ์เนื่องจากบริการของระบบนิเวศที่พวกมันจัดหาให้ ผู้คนมากกว่าสามพันล้านคนหรือประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรโลกได้รับความต้องการน้ำขั้นพื้นฐานจากพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นน้ำจืดภายในท้องถิ่น ผู้คนจำนวนเท่ากันพึ่งพาข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งเป็นพืชผลที่ปลูกในพื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติและทำขึ้นเอง ในบางส่วนของโลก เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำกิลอมเบอโรในประเทศแทนซาเนีย ประชากรในท้องถิ่นเกือบทั้งหมดอาศัยการเพาะปลูกในพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อการดำรงชีวิต[2]

การประมงยังเป็นแหล่งโปรตีนและรายได้ที่สำคัญอย่างยิ่งในพื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่ง จากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่า ปริมาณการจับปลาทั้งหมดจากน่านน้ำภายในท้องถิ่น (แม่น้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ) อยู่ที่ 8.7 ล้านเมตริกตันใน ค.ศ. 2002[3] นอกจากอาหารแล้ว พื้นที่ชุ่มน้ำยังมีไฟเบอร์, เชื้อเพลิง และพืชสมุนไพร พวกมันยังให้ระบบนิเวศที่มีคุณค่าสำหรับนกและสัตว์น้ำอื่น ๆ, ช่วยลดผลกระทบที่เป็นอันตรายจากน้ำท่วม, ควบคุมมลพิษ และควบคุมสภาพอากาศ โดยตั้งแต่ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงสุนทรียศาสตร์ เหตุผลในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา

คำจำกัดความของพื้นที่ชุ่มน้ำ[แก้]

มีคำจำกัดความที่หลากหลายของพื้นที่ชุ่มน้ำ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ หรือที่เรียกว่าอนุสัญญาแรมซาร์ นิยามว่าพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้แก่ ทะเลสาบและแม่น้ำ, ที่ลุ่มน้ำขังและที่ลุ่มชื้นแฉะ, ทุ่งหญ้าเปียกและพื้นที่พรุ, โอเอซิส, ปากน้ำ, ดินดอนสามเหลี่ยมและที่ลุ่มราบน้ำขึ้นถึง, พื้นที่ทางทะเลใกล้ชายฝั่ง, ป่าชายเลนและพืดหินปะการัง ตลอดจนแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น บ่อปลา, นาข้าว, อ่างเก็บน้ำ และบ่อเกลือ ในขณะเดียวกัน สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) หรือโครงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ อธิบายว่าพื้นที่ชุ่มน้ำเป็น "พื้นที่ที่น้ำท่วมหรืออิ่มตัวจากน้ำผิวดิน หรือน้ำใต้ดินที่ความถี่และระยะเวลาเพียงพอที่จะรองรับ และภายใต้สภาวะแวดล้อมรองรับ ความชุกของพืชที่ปรับให้เข้ากับชีวิตในสภาพดินอิ่มตัว พื้นที่ชุ่มน้ำโดยทั่วไปประกอบด้วยที่ลุ่มน้ำขัง, ที่ลุ่มชื้นแฉะ, พรุ และพื้นที่ที่คล้ายคลึงกัน"[4] ทั้งนี้ พื้นที่ชุ่มน้ำแตกต่างกันไปตามระดับความเค็ม, เขตภูมิอากาศ, พรรณไม้ประจำถิ่นที่รองรับ, ภูมิประเทศโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นชายฝั่งหรือในแผ่นดิน เป็นต้น

พื้นที่ชุ่มน้ำ

หน้าที่พื้นที่ชุ่มน้ำ[แก้]

หน้าที่หลักที่กระทำโดยพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้แก่ การกรองน้ำ, การจัดเก็บน้ำ, กำลังผลิตทางชีวภาพ และให้แหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า[5] ส่วนหน้าที่เพิ่มเติมและการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำมีอธิบายไว้ในบทความพื้นที่ชุ่มน้ำ

การกรอง[แก้]

Depiction of the food web of a freshwater wetland.
พื้นที่ชุ่มน้ำจุนเจือใยอาหารขนาดใหญ่และซับซ้อน ซึ่งมีหน้าที่และประโยชน์นานาประการแก่ธรรมชาติและมนุษย์

พื้นที่ชุ่มน้ำช่วยในการกรองน้ำโดยการกำจัดสารอาหารส่วนเกิน ทำให้น้ำช้าลงเพื่อให้อนุภาคหลุดออกจากน้ำ ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่รากพืชได้ จากการศึกษาพบว่าสามารถขจัดฟอสฟอรัสได้ถึง 92 เปอร์เซ็นต์ และไนโตรเจน 95 เปอร์เซ็นต์ได้ออกจากน้ำผ่านพื้นที่ชุ่มน้ำ[6] พื้นที่ชุ่มน้ำยังปล่อยให้สารมลพิษเกาะตัวและเกาะติดกับอนุภาคในดิน ซึ่งมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของตะกอนที่ไหลบ่าเข้ามา[6] และมีการพบพืชชุ่มน้ำบางแห่งมีโลหะหนักสะสมมากกว่า 100,000 เท่าของความเข้มข้นของน้ำโดยรอบ[7] หากปราศจากการทำงานเหล่านี้ ทางน้ำจะเพิ่มปริมาณสารอาหารและสารก่อมลพิษอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การสะสมความเข้มข้นสูงที่แยกออกมาต่างหาก ตัวอย่างของสถานการณ์ดังกล่าวคือพื้นที่มรณะของแม่น้ำมิสซิสซิปปี โดยเป็นบริเวณที่สารอาหารส่วนเกินทำให้เกิดสาหร่ายบนพื้นผิวจำนวนมาก ซึ่งใช้ออกซิเจนจนหมดและทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน (ระดับออกซิเจนต่ำมาก)

พื้นที่ชุ่มน้ำสามารถกรองและดูดซับแบคทีเรียที่เป็นอันตรายจากน้ำได้ ห่วงโซ่อาหารที่ซับซ้อนของพวกมันเป็นแหล่งจุลชีพและแบคทีเรียต่าง ๆ ซึ่งสัตว์ไม่มีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกินเข้าไป สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเหล่านี้สามารถกรองแบคทีเรียได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์จากน้ำด้วยวิธีนี้[6]

พื้นที่จัดเก็บ[แก้]

พื้นที่ชุ่มน้ำสามารถกักเก็บน้ำท่วมได้ประมาณ 1–1.5 แกลลอนต่อเอเคอร์[5] เมื่อรวมกับพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งหมดโดยประมาณในสหรัฐ (107.7 ล้านเอเคอร์)[8] หมายความว่าพื้นที่ชุ่มน้ำของสหรัฐมีแนวโน้มว่าจะกักเก็บน้ำท่วมได้มากกว่าล้านล้านแกลลอน โดยการจัดเก็บและชะลอน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำสามารถเติมน้ำบาดาลได้[5] "ที่ลุ่มน้ำขัง 550,000 เอเคอร์ในรัฐฟลอริดามีมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ต่อปีสำหรับบทบาทในการกักเก็บน้ำและเติมให้กับชั้นหินอุ้มน้ำ"[7] ตลอดจนการรวมความสามารถของพื้นที่ชุ่มน้ำในการกักเก็บและชะลอน้ำเข้ากับความสามารถในการกรองตะกอน พื้นที่ชุ่มน้ำทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันการกร่อนที่แข็งแกร่ง[6]

ผลผลิตทางชีวภาพ[แก้]

โดยผ่านความสามารถในการดูดซับสารอาหารในพื้นที่ชุ่มน้ำ พวกมันสามารถให้ผลผลิตทางชีวภาพสูง (สามารถผลิตชีวมวลได้อย่างรวดเร็ว) พื้นที่ชุ่มน้ำจืดเปรียบได้กับป่าดิบชื้นในด้านผลผลิตของพืช[5] ซึ่งความสามารถในการสร้างชีวมวลอย่างมีประสิทธิภาพอาจมีความสำคัญต่อการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก

แม้ว่าพื้นที่ชุ่มน้ำจะครอบคลุมพื้นที่เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นผิวดินของสหรัฐต่อเนื่อง แต่ก็เกื้อกูล 31 เปอร์เซ็นต์ของชนิดพืช[5] มันยังจุนเจืออาหารและการทำรังนกได้ถึงครึ่งหนึ่งของสายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ[5] ในขณะที่ประชากรนกมีบทบาทสำคัญในสายใยอาหาร แต่ก็เป็นจุดสนใจของกีฬาสันทนาการที่มีฐานะต่าง ๆ (การล่านกน้ำและการดูนกเป็นคู่)

ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า[แก้]

ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่ามีความสำคัญไม่เพียงแต่สำหรับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงโอกาสในการพักผ่อนหย่อนใจ[5] ตามวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าได้รับการจัดการเพื่อรักษาและใช้ทรัพยากรในลักษณะที่ยั่งยืน ร้อยละเก้าสิบห้าของปลาและสัตว์น้ำที่มีเปลือกที่เก็บเกี่ยวในเชิงพาณิชย์ทั้งหมดในสหรัฐต้องอาศัยพื้นที่ชุ่มน้ำ[5] เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติมัสกาตาทักเป็นตัวอย่างของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับการล่าสัตว์, ตกปลา, การสังเกตสัตว์ป่า และการถ่ายภาพที่มีการจัดการสัตว์ป่าที่ดี[9] บางส่วนของพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีการจัดการเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของนกอพยพ เช่น นกน้ำและนกที่มีเสียงเพราะ ส่วนผู้ล่าสัตว์ในสหรัฐ 14 ล้านคนสร้างรายได้มากกว่า 50 พันล้านดอลลาร์ต่อปีในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ[7] โดยไม่รวม 60 ล้านคนที่ดูนกอพยพเป็นงานอดิเรก ส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำฟลอริดาคีส์สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวประจำปีเพียงอย่างเดียวมากกว่า 800 ล้านดอลลาร์[7]

พื้นที่ชุ่มน้ำสามารถรองรับนกได้หลากหลายอย่างน่าประหลาดใจ แม้ว่าจะมีการจัดการเพื่อการใช้งานของมนุษย์ เช่นเดียวกับพื้นที่ชุ่มน้ำที่จัดการโดยชุมชนของที่ราบน้ำท่วมขังคงคาทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งมีความหนาแน่นของมนุษย์สูงที่สุดในโลก แต่ยังมีความหลากหลายของนกที่รู้จักกันดีที่สุดในพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อเกษตรกรรมในทุกที่[10] ในทำนองเดียวกัน ตรงกันข้ามกับสมมติฐานทั่วไปที่ว่าความหนาแน่นของมนุษย์ในเขตร้อนชื้นจะขัดขวางการใช้บ่อน้ำในเมืองของนก (พื้นที่ชุ่มน้ำน้อยกว่า 5 เฮกตาร์) โดยสระน้ำของเดลี เมืองหลวงของอินเดียมีนกมากกว่า 117 สายพันธุ์ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ของนกทั้งหมดที่เคยเห็นในเมือง[11] อนึ่ง การค้นคว้าเมื่อเร็ว ๆ นี้จากประเทศในซีกโลกใต้ทั่วโลกช่วยให้เข้าใจว่าการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำแบบดั้งเดิมของมนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์จำนวนมาก เมื่อการล่าสัตว์ที่ผิดกฎหมายถูกควบคุมให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดผ่านความเชื่อทางวัฒนธรรม สามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่ดีเยี่ยม

การอนุรักษ์แบ่งตามประเทศ[แก้]

ความพยายามในการอนุรักษ์แตกต่างกันไปตามความเอาจริงเอาจังและวิธีการในแต่ละประเทศ โดยรายการต่อไปนี้ไม่ครอบคลุม

ประเทศนิวซีแลนด์[แก้]

พื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศนิวซีแลนด์กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ถูกสูบออกไปตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป โดยส่วนใหญ่เป็นการสร้างพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งขณะนี้พื้นที่ชุ่มน้ำได้รับการคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติการจัดการทรัพยากร ค.ศ. 1991

สาธารณรัฐมาซิโดเนีย[แก้]

เศษของแหล่งที่อยู่อาศัยของพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยังคงมีอยู่ในสาธารณรัฐมาซิโดเนีย โดยมีอยู่ในฐานะการร่วมกันของที่ลุ่มชื้นแฉะหรือที่ลุ่มน้ำขัง ที่ดินเหล่านี้มีอยู่ที่สติวเดนซิสเต (ส่วนเล็ก ๆ ใกล้ทะเลสาบโอครีด), เปลาโกเนีย (หมู่บ้านเชปิโกโว), บ่อน้ำแร่เนกอร์ตซี, บันสโก, พื้นที่ชุ่มน้ำเบลชิชเต และที่ลุ่มชื้นแฉะโมโนสปิโตโว พื้นที่ที่ลุ่มน้ำขังขนาดใหญ่ที่เคยมีอยู่ในหุบเขาส่วนใหญ่ในสาธารณรัฐมาซิโดเนียร่วมสมัยถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วง 50–60 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักของการลดจำนวนดังกล่าวคือการถมที่ดิน, การระบายน้ำ และการแปลงเป็นที่ดินทำกินสำหรับความต้องการทางการเกษตร (สมิธแอนด์สมิธ, ค.ศ. 2003)[ต้องการอ้างอิง] พื้นที่ชุ่มน้ำที่เหลืออยู่บางส่วน (บ่อน้ำแร่เนกอร์ตซี, บันสโก) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจการกำเนิดของพันธุ์พืชในที่ลุ่มชื้นแฉะที่สาธารณรัฐมาซิโดเนีย เนื่องจากที่ลุ่มชื้นแฉะบนภูเขาและพรุต้นไม้ในหนองที่หักทับกันจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ เนื่องจากการกักเก็บน้ำจากตาน้ำบนภูเขาและลำธารสำหรับวัตถุประสงค์ในการผลิตน้ำดื่ม (สมิธ, ค.ศ. 2003)[ต้องการอ้างอิง] ดังนั้น การกระจายตัวและการเปลี่ยนแปลงของที่ลุ่มน้ำขังก่อนหน้านี้จึงส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการกระจายตัวของสัตว์และความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดพร้อมกับกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมทั้งนากยุโรป (ลูตรา ลูตรา เอเล.) โดยได้รับการระบุว่าเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตามบัญชีแดงขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และพบได้เฉพาะในพื้นที่ชุ่มน้ำเบลชิชเตเท่านั้น (สมิธ ค.ศ. 2003; สมิธแอนด์สมิธ, ค.ศ. 2003) ทั้งนี้ นากมีความสำคัญต่อชุมชนพื้นที่ชุ่มน้ำไม่เพียงแต่ในมาซิโดเนียเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศอื่น ๆ ในยุโรป เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี (ร็อยเทอร์, ค.ศ. 1995; ร็อยเทอร์ และคณะ, ค.ศ. 2001)[ต้องการอ้างอิง] พื้นที่ชุ่มน้ำมาซิโดเนียอยู่ภายในเครือข่ายของแม่น้ำที่ใหญ่กว่าบางแห่งในมาซิโดเนีย รวมทั้งแม่น้ำวาร์ดาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บกักน้ำเท่ากับ 80 เปอร์เซ็นต์ของดินแดนมาซิโดเนีย

ประเทศแอฟริกาใต้[แก้]

กรมกิจการสิ่งแวดล้อมแอฟริกาใต้ร่วมกับกรมกิจการน้ำ, ป่าไม้ และการเกษตร สนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำผ่านโครงการงานเพื่อพื้นที่ชุ่มน้ำ[12] จุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือการส่งเสริมการคุ้มครอง, การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของพื้นที่ชุ่มน้ำในแอฟริกาใต้ผ่านการกำกับดูแลกิจการและความร่วมมือ รวมถึงโครงการนี้ยังเป็นการบรรเทาความยากจนโดยจัดหางานในการบำรุงรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำ

อ้างอิง[แก้]

  1. "About Estonia". Estonian Wildlife Tours.
  2. Water Issue Brief: 'Using wetlands sustainably' (PDF), International Water Management Institute, 2010
  3. Review of the state of world fishery resources: inland fisheries[ลิงก์เสีย], FAO Fisheries Circular. No. 942, Rev.1. Rome, FAO. 2003. 60p
  4. EPA > Wetlands > Definitions
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 EPA > Wetlands > Wetlands Facts Sheets > Functions and Values of Wetlands
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Ducks Unlimited Canada > Wetland and Waterfowl Conservation > Value of Wetlands > Filter our water". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-22. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "DU > Conservation > Habitat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  8. Status and Trends of Wetlands in the Conterminous United States 1998 to 2004. U.S. Fish and Wildlife Service (December 2005), pp. 1-116.
  9. "Muscatatuck National Wildlife Refuge". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-21. สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
  10. Sundar, K. S. Gopi; Kittur, Swati (2013). "Can wetlands maintained for human use also help conserve biodiversity? Landscape-scale patterns of bird use of wetlands in an agricultural landscape in north India". Biological Conservation. 168 (December 2013): 49–56.
  11. Rawal, Prakhar; Kittur, Swati; Chatakonda, Murali K.; Sundar, K.S. Gopi (2021). "Capital ponds: Site-level habitat heterogeneity and management interventions at ponds regulate high landscape-scale bird diversity across a mega-city". Biological Conservation. 260 (August 2021): 109215.
  12. http://wetlands.sanbi.org/ เก็บถาวร 2012-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Working for Wetlands

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]