การสื่อสารในประเทศอิหร่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิหร่านติดหนึ่งในห้าประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมากที่สุด อยู่ในอัตรา 20%[1][2][3] อิหร่านได้รับรางวัลประกาศนียบัตรพิเศษจากยูเนสโกในการให้บริการโทรคมนาคมแก่พื้นที่ชนบท[4]

อุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้งหมดในอิหร่านเกือบทั้งหมดอยู่ในการดูแลของรัฐบาลและบริหารโดยบริษัทโทรคมนาคมของประเทศอิหร่าน  การขยายตัวของสายโทรศัพท์ในปี ค.ศ. 2004 มีการพัฒนาเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคนี้ ประชาการ 100 คนต่อ 22 สายโทรศัพท์ สถิติสูงกว่าอียิปต์ซึ่งอยู่ที่ 14 และซาอุดิอารเบียซึ่งอยู่ที่ 15 แม้ว่าสถิติจะต่ำกว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ กับจำนวน 27 สาย[2] อย่างไรก็ตรงตามมาตรฐานภูมิภาค ในอิหร่านปี ค.ศ. 2012 จำนวนประชากรทุกคนมีโทรศัพท์มือถือมากกว่า 1 เครื่อง[5]

ในปี ค.ศ. 2008 มีสำนักงานการบริการการติดต่อสื่อสารระดับท้องถิ่นมากกว่า 52,000 แห่ง ที่คอยให้บริการด้านคมนาคมในชนบท มีสายโทรศัพท์ในอิหร่านมากกว่า 24 ล้านสาย มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 33.66 อิหร่านมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 43 ล้านคนเป็นข้อมูลบันทึกในตะวันออกกลางแม้ว่าระดับความแรงของอินเทอร์เน็ตจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำก็ตาม

อิหร่านติดหนึ่งในห้าประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตไปถึงร้อยละ 20 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในการขยายการสื่อสารโทรคมนาคมทางไกล[6] เพราะอิหร่านมีสำนักงานบริการการติดต่อสื่อสารระดับท้องถิ่นอย่างกวางขวางทำให้ได้รับประกาศนียบัตรพิเศษจากยูเนสโก ในปลายปี ค.ศ. 2009 การสื่อสารโทรคมนาคมอิหร่านมีรายได้ 9.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐและถูกรู้จักในฐานะตลาดใหญ่อันดับสี่ของภูมิภาค และคาดว่าจะมีรายได้ถึงร้อยละ 6.9 กับรายได้ 12.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2014[7]

ตามรายงานในนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการสื่อสารของประเทศต่าง ๆ อยู่ในช่วงการขยายหุ้นส่วนทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศในอิหร่านค่าจีดีพีของปี ค.ศ. 2002 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.1 ถึง 1.3 มีพนักงานประมาณ 150,000 คนในธุรกิจด้านไอซีที ในจำนวนนี้ 20,000 คนทำงานด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์[8] มีบริษัท 1,200 บริษัทด้านเทคโนโลยีการสื่อสารจนถึงปี ค.ศ. 2002 มีบันทึกว่า 200 บริษัทพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ รายได้จากการส่งออกซอฟต์แวร์ในปี ค.ศ. 2008 อยู่ที่ประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] ในช่วง ค.ศ. 2009 ถึง 2020 ตลาดโทรคมนาคมในอิหร่านได้เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Burkhart, Grey, บ.ก. (March 1998). "Iran". National Security and the Internet in the Persian Gulf Region. Georgetown University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-03. สืบค้นเมื่อ 2009-07-15.
  2. 2.0 2.1 "Telecoms And Technology Forecast for Iran", Economist Intelligence Unit, August 18, 2008, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-04, สืบค้นเมื่อ 2009-07-06
  3. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. "Iran Daily - Economic Focus - 04/05/07". www.iran-daily.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2009.
  5. "Iran reaches 100 percent telecommunications penetration: BMI". Zawya. 2012-04-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-12. สืบค้นเมื่อ 2012-04-14.
  6. "National Security and the Internet in the Persian Gulf: Iran". www.georgetown.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2007.
  7. "Iran Telecom Market Expected to Reach $12.9 Billion by 2014: Report". Voice-quality.tmcnet.com. 2010-01-22. สืบค้นเมื่อ 2012-01-23.
  8. Solutions, EIU Digital. "Telecommunications, telecoms, mobile, broadband, communications, TMT industry analysis and data from The EIU". www.ebusinessforum.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-13. สืบค้นเมื่อ 2006-09-28.
  9. Iran Daily: Software Exports Hit $45m Retrieved November 2, 2008[ลิงก์เสีย]
  10. "Telecom industry size in Iran 2009–2020". Statista (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-05.