ข้ามไปเนื้อหา

การสังหารหมู่ที่บิสคารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ที่บิสคารี
สถานที่ลานบินบิสคารี, ซันโตปิเอโตร, แคว้นซีชีเลีย
วันที่14 กรกฎาคม ค.ศ. 1943
ประเภทการสังหารหมู่
ตายเชลยทางสงครามฝ่ายอักษะ 73 นาย (ชาวอิตาลี 71 นาย, ชาวเยอรมัน 2 นาย)
ผู้ก่อเหตุทหารกรมทหารราบที่ 180 ของสหรัฐ

การสังหารหมู่ที่บิสคารี เป็นอาชญากรรมสงครามที่ถูกดำเนินการโดยสมาชิกทหารของกองทัพบกสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[1] ซึ่งหมายถึงสองเหตุการณ์ที่ทหารสหรัฐมีส่วนร่วมในการสังหารหมู่ต่อเชลยศึกที่ไม่มีอาวุธ ได้แก่ ทหารอิตาลี 71 นาย และทหารเยอรมัน 2 นาย ที่ฐานทัพอากาศของหน่วย Regia Aeronautica ที่ 504 ในซันโตปิเอโตร หมู่บ้านขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กับเมืองคาลตาจิโรนี ทางตอนใต้ของเกาะซิซิลี อิตาลี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1943

เบื้องหลัง

[แก้]

เป็นส่วนหนึ่งของการบุกครองเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพสหรัฐที่เจ็ดภายใต้บัญชาการโดยพลโท จอร์จ เอส. แพตตัน และกองทัพบกบริติซที่แปดภายใต้บัญชาการโดยนายพล เซอร์ เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ทำการบุกครองหัวมุมทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 ในขณะที่ส่วนหนึ่งชองกองทัพน้อยที่สองภายใต้บัญชาการโดยโอมาร์ เนลสัน แบรดลีย์ กองพลทหารราบที่ 45 ได้รับภารกิจที่ยากลำบาก แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกองพล"สีเขียว"(เช่น ไม่มีประสบการณ์ในการสู้รบมาก่อน) มีส่วนร่วมในการบุกครอง กรมทหารราบที่ 157 และ 179 ของกองพลที่ 45 ได้รับภารกิจในการเข้ายึดครองเมืองชายฝั่งหลายเมืองและสนามบินโคมิโซก่อนที่จะไปเข้าสมทบกับกองพลทหารราบแคนาดาที่ 1

กรมทหารราบที่ 180 ได้รับภารกิจในการเข้ายึดสนามบินบิสคารีและไปเข้าสมทบกับกองพลทหารราบสหรัฐที่หนึ่ง[2] กรมทหารราบที่ 180 ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้แย่ใน 48 ชั่วโมงแรกของการยกพลขึ้นบกที่พลตรี Troy Middleton ได้พิจารณาที่จะบรรเทาผ่อนคลายให้กับผู้บัญชาการ แแทนที่, ผู้ช่วยของผู้บัญชาการกองพลซึ่งถูกส่งไปควบคุมดูแลการฝึกซ้อมอย่างใกล้ชิดมากกว่าการจัดตั้งหน่วยกรมทหาร[3]

ในช่วงการเข้ายึดสนามบินบิสคารี เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 ทหารของกรมทหารราบที่ 180 ได้ทำการสังหารต่อเชลยศึกทั้งหมด ได้แก่ ชาวอิตาลี 71 นาย และชาวเยอรมัน 2 นายในสองเหตุการณ์ที่แยกต่างหาก ในช่วงเหตุการณ์แรก เชลยศึกชาวอิตาลี 35 นาย และชาวเยอรมัน 2 นายล้วนถูกสังหาร ในขณะที่เชลยศึกชาวอิตาลีอีก 36 นายล้วนถูกสังหารเช่นกันในช่วงเหตุการณ์ที่สอง[4][5][6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Giuseppe Federico Ghergo. 14 luglio 1943: il massacro di Biscari in Storia Militare n° 133, October 2004 (pp. 4–7)
  2. Atkinson, (2007), pp. 37–8.
  3. Garland, Lt. Col. Albert N. (1965). Sicily and the Surrender of Italy. Washington DC: Department of the Army. pp. 189–190.
  4. Weingartner (November 1989), pp. 24-39.
  5. Robbins (2000), pp274-6.
  6. Borch (2013), pp. 1–6.