ข้ามไปเนื้อหา

การสังหารหมู่ที่นังกาปัรบัต พ.ศ. 2556

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารที่เขานังกาปัรบัต
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามในปากีสถานตะวันตดเฉียงเหนือ
เบสแคมป์ที่เกิดเหตุ ในฉากหลังคือยอดเขานังกาปัรบัต
นังกาปัรบัตตั้งอยู่ในกิลกิต-บัลติสถาน
นังกาปัรบัต
นังกาปัรบัต
นังกาปัรบัตในกิลกิต-บัลติสถาน
นังกาปัรบัตตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน
นังกาปัรบัต
นังกาปัรบัต
นังกาปัรบัติในปากีสถาน
สถานที่เบสแคมป์ของเขานังกาปัรบัต แคว้นกิลกิต-บัลติสถาน ประเทศปากีสถาน
วันที่22 มิถุนายน ค.ศ. 2013 (2013-06-22)23 มิถุนายน ค.ศ. 2013 (2013-06-23)
10:00 p.m.–12:00 a.m. (เวลากลางปากีสถาน, UTC+05:00)
เป้าหมายกลุ่มนักไต่เขาชาวต่างชาติ
ประเภทกราดยิงหมู่
ตาย11
เจ็บ2
ผู้ก่อเหตุเตห์รีกีตาลิบาน
เหตุจูงใจตอบโต้การโจมตีด้วยโดรนของอเมริกันในไคเบอร์

การสังหารหมู่ที่นังกาปัรบัตในคืนวันที่ 22 มิถุนายน 2013 เป็นการก่อการร้ายในแคว้นกิลกิต-บัลติสถาน ประเทศปากีสถาน กองกำลังติดอาวุธจำนวน 16 คน แต่งกายด้วยเครื่องแบบของลูกเสือกิลกิต-บัลติสถาน เข้าโจมตีเบสแคมป์ของนักไต่เขา และสังหารเหยื่อ 11 คน ซึ่งประกอบด้วยนักไต่เขา 10 คน และผู้นำเที่ยวชาวท้องถิ่นหนึ่งคน[1] กลุ่มนักไต่เขาที่ถูกสังหารมาจากหลายประเทศ ได้แก่ ยูเครน, จีน, สโลวาเกีย, ลิธัวเนีย และ เนปาล[2][3][4] นักไต่เขาในเบสแคมป์ที่รอดชีวิตจากการสังหารหมู่ได้แก่พลเมืองชาวจีนซึ่งหลบหนีออกมาจากจุดเกิดเหตุขณะเกิดการโจมตี และพลเมืองของลัตเวียที่บังเอิญอยู่นอกเบสแคมป์ตอนเกิดเหตุพอดี[5] จุดเกิดเหตุเป็นเบสแคมป์แห่งหนึ่งสำหรับไต่เขาไปยังยอดเขานังกาปัรบัต ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดอันดับเก้าของโลก[6] เชานี้เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักไต่เขาและเดินทางไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมซึ่งสภาพอากาศเป็นใจต่อการเดินทาง[6]

ในเดือนพฤศจิกายน 2013 ผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่ถูกจับกุมและตัดสินมีความผิดภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายของปากีสถาน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ถูกปล่อยตัวในไม่เกินปี 2014 และตัวตนของผู้ก่อเหตุไม่เคยได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ คณะกรรมการการต่างประเทศของวุฒิสภาปากีสถานเชื่อว่าแรงจูงใจในการก่อเหตุแรกเริ่มไม่ใช่การสังหารนักท่องเที่ยวเหล่านี้ แต่จะเป็นการลักพาตัวไปเพื่อเรียกค่าไถ่มากกว่า[7]

เหตุการณ์นี้ถือเป็นการโจมตีนักไต่เขาครั้งแรกในภูมิภาคกิลกิต-บัลติสถานของปากีสถาน ที่ซึ่งก่อนหน้านี้ถือว่าเป็นพื้นที่ปลอดกองกำลังติดอาวุธ ยกเว้นแต่เพียงการโจมตีชาวมุสลิมชีอะฮ์ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย เป็นครั้งคราเท่านั้น[4][6][8]

ข้อมูลในภายหลังทราบว่าแผนการของกลุ่มก่อการร้ายคือการลักพาตัว เฉิน หงลู่ (Chen Honglu) พลเมืองสองสัญชาติที่ถือสัญชาติอเมริกันและจีน และนำตัวเขาไปแลกเปลี่ยนเอาตัวผู้บังคับบัญชาของตอลิบานคนหนึ่งในอัฟกานิสถาน อย่างไรก็ตาม ขณะก่อเหตุโจมตี เฉินพุ่งตัวออกมาจากเต็นต์และล้มผู้ก่อเหตุคนหนึ่งโดยใช้เทคนิกศิลปะการต่อสู้ ผู้ก่อเหตุที่ถูกเฉินโจมตีตกใจและยิงเฉิน ทำให้เป้าหมายหลักของการโจมตีในครั้งนี้เสียไป ทำให้ผู้นำการก่อการร้ายครั้งนี้โกรธมาก นักไต่เขาที่เหลือในเบสแคมป์จึงถูกจับตัวมักเข้ากับเสา และถูกยิงทิ้งจนหมด หลังจากนั้น ผู้ก่อเหตุจึงเดินเท้าราวห้าชั่วโมงไปยังหมู่บ้านห่างไกลแห่งหนึ่ง ถอดเครื่องแบบไปฝัง กินข้าวเช้า เดินเท้าต่อไปอีกหมู่บ้าน และแยกย้าย[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Zarar Khan; Sebastian Abbot (23 June 2013). "Pakistan Gunmen Kill 10 Foreign Mountain Climbers Preparing Nanga Parbat Ascent". Huffington Post.
  2. "10 foreign victims identified after Pakistan attack". AFP via Times of Oman. 2013-06-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-06. สืบค้นเมื่อ 2013-06-24.
  3. "Gunmen kill 9 foreign tourists in Pakistan". Usatoday.com. 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ 2013-06-23.
  4. 4.0 4.1 Ahmad, Jibran (23 June 2013). "Gunmen kill nine foreign tourists, two locals in northern Pakistan". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2022-06-03.
  5. "Latvian citizen unscathed in Nanga Parbat terror attack due to lucky coincidence". 2013-06-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Tourists killed at north Pakistan mountain camp". BBC. 23 June 2013. สืบค้นเมื่อ 23 June 2013.
  7. "Committee's findings: 'Militants did not want to kill Nanga Parbat tourists'". Express Tribune. 20 November 2013. สืบค้นเมื่อ 20 November 2013.
  8. Ningzhu, Zhu. "10 including 9 foreigners killed in Pakistan's northern area of Gilgit". Xinhua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2013. สืบค้นเมื่อ 23 June 2013.
  9. "Chinese-American prime target in Nanga Parbat massacre". The Express Tribune (ภาษาอังกฤษ). 2014-06-29. สืบค้นเมื่อ 2022-06-03.