การวาร์ป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสร้างภาพของสนามวาร์ป ยานอวกาศจะถูกวางอยู่ในฟองของอวกาศปกติ

การวาร์ป (Warp drive คำภาษาอังกฤษออกเสียงว่า "เวอร์ป-ไดรฟ์") คือสมมติฐานที่เกี่ยวกับระบบการขับเคลื่อนที่เร็วกว่าแสง (FTL) ดังที่มีปรากฏในการดำเนินเรื่องในนิยายวิทยาศาสตร์, ที่โดดเด่นสะดุดตาที่สุดก็คือเรื่องสตาร์เทร็ค (Star Trek) ยานอวกาศที่ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยการวาร์ปอาจเดินทางด้วยอัตราเร็วที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดกว่าอัตราเร็วของแสงหลายเท่าตัว, ในขณะที่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาความสัมพัทธ์ของการยืดออกของเวลาได้ ในทางตรงกันข้ามกับเทคโนโลยีการเคลื่อนที่ที่เร็วกว่าแสง (FTL) อื่น ๆ อีกมากมายที่ปรากฏในนิยายวิทยาศาสตร์ เช่นการขับเคลื่อนแบบ "กระโดดข้าม" (jump drive) หรือการขับเคลื่อนอันเหลือเชื่ออย่างไม่มีที่สิ้นสุด (Infinite Improbability Drive) ในการวาร์ปนั้นจะไม่อนุญาตให้มีการเดินทางที่รวดเร็วในทันทีผ่านไปในระยะทางระหว่างจุดสองจุด; แต่จะใช้เทคโนโลยีที่จะสร้าง "ฟอง" สังเคราะห์ของกาล-อวกาศปกติ ณ บริเวณที่อยู่ล้อมรอบยานอวกาศนั้น (ส่วนที่อยู่ตรงข้ามกับด้านที่จะเดินทางเข้าสู่บริเวณเขตแดนที่แยกออกจากกันหรือต่างมิติกัน เช่น ในอวกาศแบบไฮเปอร์สเปซ, ดังเช่นที่ถูกนำมาใช้ในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส (Star Wars), สตาร์เกทแฟรนไชส์​​ (Stargate franchise), Warhammer 40,000, Babylon 5, Cowboy Bebop and Andromeda universes)

วิธีการแก้ปัญหาในเชิงทฤษฎีสำหรับการเดินทางที่เร็วกว่าแสงซึ่งเป็นแบบจำลองของแนวคิดนั้น เรียกว่าการขับเคลื่อนแบบอัลคับเบียร์, เป็นสูตรที่คิดค้นโดยนักฟิสิกส์ชื่อ มิเกล อัลคับเบียร์ (Miguel Alcubierre) ในปี ค.ศ. 1994 ต่อมาภายหลัง การคำนวณพบว่าแบบจำลองดังกล่าวจำเป็นจะต้องมีมวลที่มีค่าเชิงลบ (negative mass) ซึ่งการมีอยู่ของมวลที่มีค่าเป็นลบนี้ไม่เคยได้รับการสนับสนุนโดยหลักฐานใด ๆ และปริมาณที่ต้องห้ามของพลังงานว่ามันจะมีอยู่จริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม, ล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าโดยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของการวาร์ปนั้น, มวลและพลังงานที่มีค่าเป็นลบที่มีค่าน้อยมากสามารถนำมาใช้ได้ในกรณีนี้, ถึงแม้ว่าจำเป็นจะต้องใช้พลังงานซึ่งยังคงเป็นที่ต้องการมากกว่าสิ่งใด ๆ ก็ตามที่เป็นไปได้ในช่วงเวลาปัจจุบันนี้ของมนุษย์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของนาซ่าได้เริ่มต้นการวิจัยในเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้แล้ว [1]

ประวัติและลักษณะเฉพาะ[แก้]

การขับเคลื่อนด้วยการวาร์ป หรือการขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดการวาร์ปในอวกาศ เป็นหนึ่งในหลายวิธีในการเดินทางผ่านอวกาศที่พบในนิยายวิทยาศาสตร์ [2] มักถูกกล่าวถึงว่ามีแนวคิดคล้ายคลึงกับไฮเปอร์สเปซ (hyperspace) หรือห้วงอวกาศขั้นสูง [3] วาร์ปไดรฟ์ เป็นเครื่องมือ, อุปกรณ์ หรือ กลไกที่มีความสามารถบิดเบือนรูปร่างของความต่อเนื่องของปริภูมิ-เวลาได้ [4]: 142 

ความเร็วของการวาร์ป[แก้]

ความเร็วของการวาร์ปในนิยายเรื่องสตาร์เทร็ค โดยทั่วไปจะแสดงไว้ในหน่วยของ "วาร์ปแฟคเตอร์" (warp factor) ซึ่งตามที่อ้างอิงโดยคู่มือการใช้งานทางเทคนิคของยานสตาร์เทร็ค (the Star Trek Technical Manuals) นั้น มีความสอดคล้องกันกับขนาดของสนามวาร์ป (warp field) การบรรลุวาร์ปแฟคเตอร์ที่ 1 เทียบเท่ากับการทำลายสิ่งกีดขวางแสงในขณะที่ความเร็วที่เกิดขึ้นจริงที่เกี่ยวข้องกับแฟคเตอร์ที่สูงขึ้นจะถูกกำหนดโดยการใช้สูตรที่ไม่ชัดเจน เทียบเท่าประมาณ 1 เท่าของความเร็วแสงจริงๆ (300,000 กิโลเมตรต่อวินาที)

การวาร์ปในความเป็นจริง[แก้]

 การวาร์ปหรือการหายตัวจากที่หนึ่งแล้วไปโผล่ยังอีกที่หนึ่งได้ในเวลาพริบตา ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นได้ทั้งจากในเกมและในภาพยนตร์หลายๆ เรื่อง อย่างเช่นเรื่อง Star Trek ที่ใช้ยานอวกาศขับเคลื่อนด้วยการวาร์ป ซึ่งหลักการนี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฏีสัมพัทธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แต่กระนั้นไอน์สไตน์เองก็ระบุไว้ว่าการเดินทางที่เร็วกว่าแสงเป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ ล่าสุดนักวิจัยขององค์การนาซา เผยว่า มีความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะเดินทางด้วยความเร็วสูงกว่าแสงและ วาร์ปไปยังที่ต่างๆ ได้ในเวลาพริบตาจริงๆ

ดร.ฮาโรลด์ ไวต์ นักวิจัยขององค์การนาซา จากศูนย์อวกาศลินดอน บี จอห์นสัน เผยว่ามีความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะเดินทางด้วยความเร็วสูงกว่าแสงและวาร์ปไปยังที่ต่างๆ ได้ในเวลาพริบตาจริงๆ ด้วยการพยายามพิสูจน์ทฤษฎีของนักฟิสิกส์ชาวเม็กซิกันอย่างมิเกล อัลคับเบียร์ที่เสนอว่าความเร็วเหนือแสงนั้นเป็นไปได้ หากเราค้นพบวิธีที่จะควบคุมการขยายและการหดตัวของ Space Time หรือ กาลอวกาศ

ขณะเดียวกันได้เปิดตัวภาพต้นแบบของยานอวกาศ IXS Enterprise ที่จะช่วยพาเราวาร์ปไปสำรวจจักรวาลซึ่งเป็นผลงานของมาร์ก เรดเมเกอร์ โดยยานดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพของ แมท เจฟเฟอรี่ในช่วงปี 1960 โดยตัวยานจะมีรูปร่างเพรียวบางและตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างวงแหวนสองวง

ซึ่งเหตุที่ต้องมีวงแหวนเช่นนี้เป็นเพราะเขาจะใช้วงแหวนเป็นตัวบิดกาลอวกาศแล้วสร้างช่องว่างหรือ warp bubble ขึ้นโอบรอบตัวยานและเมื่อ warp bubble เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าแสง มันก็จะพายานที่อยู่ด้านในววาร์ปไปโผล่ยังอีกที่หนึ่งได้ด้วยเช่นกัน

ตอนนี้แม้หลักการดังกล่าวยังไม่สามารถใช้งานได้จริง แต่ทางทีมของดร.ฮาโรลด์ ไวต์ก็ได้สร้างเครื่องมือที่เรียกว่า White-Juday Warp Field Interferometer เอาไว้ในห้องทดลองเพื่อจำลองการสร้าง warp bubble ขนาดย่อมๆ ขึ้นมาและหากสามารถทำได้จริงก็มีแนวโน้มที่จะขยายไปยังยานอวกาศได้ไม่ยาก ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ที่เราจะเดินทางสำรวจอวกาศด้วยการย่นระยะเวลาการเดินทางจากเดิมที่อาจจะต้องใช้เวลาเป็นหมื่นปีก็จะลดลงเหลือเพียงไม่กี่สัปดาห์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "CBS News: Scientists say "warp drive" spaceships could be feasible". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ 2012-09-22.
  2. Silva, Wesley Mendes; Martelanc, Roy (2006-08-19). "Relacionamento com investidores com uso do website corporativo: análise empírica das empresas brasileiras listadas na Bovespa*". Enfoque: Reflexão Contábil. 25 (3). doi:10.4025/enfoque.v25i3.3486. ISSN 1984-882X.
  3. "ไฮเปอร์สเปซ (บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์)", วิกิพีเดีย, 2023-07-15, สืบค้นเมื่อ 2024-02-22
  4. Prucher, Jeff (2007-05-07). Brave New Words: The Oxford Dictionary of Science Fiction (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-988552-7.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]