การล้อมสถานทูตอิหร่าน

พิกัด: 51°30′5.5″N 0°10′19.9″W / 51.501528°N 0.172194°W / 51.501528; -0.172194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การล้อมสถานทูตอิหร่าน (ปฏิบัติการนิมรอด)
ส่วนหนึ่งของ ลัทธิแยกดินแดนอาหรับในฆูเซสถาน
Photograph
สถานทูตอิหร่านได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุเพลิงไหม้หลังการล้อม
วันที่30 เมษายน – 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1980
สถานที่
16 พรินซ์เกต เซาท์เคนซิงตัน ลอนดอน
51°30′5.5″N 0°10′19.9″W / 51.501528°N 0.172194°W / 51.501528; -0.172194
ผล ยึดสถานทูตคืนได้หลังจากปิดล้อมหกวัน
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร แนวร่วมปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยอาราบิสถาน (DRFLA)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โอน อะลี โมฮัมเหม็ด
กำลัง
ทหารหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ 30–35 นาย, เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลอังกฤษจำนวนมาก สมาชิกแนวร่วมปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยอาราบิสถาน 6 คน
ความสูญเสีย
ตัวประกันสองคนถูกสังหาร (ก่อนการจู่โจมหนึ่งคน, ระหว่างการจู่โจมหนึ่งคน); ตัวประกันสองคนได้รับบาดเจ็บระหว่างการจู่โจม; ทหารหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศหนึ่งนายได้รับบาดเจ็บ ถูกสังหารห้าคน, ถูกจับกุมหนึ่งคน

การล้อมสถานทูตอิหร่าน (อังกฤษ: Iranian Embassy siege) เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 เมษายนถึง 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 หลังจากกลุ่มชายติดอาวุธหกคนบุกโจมตีสถานทูตอิหร่านที่พรินซ์เกตในเซาท์เคนซิงตัน ลอนดอน มือปืนชาวอาหรับเชื้อสายอิหร่านที่รณรงค์เพื่ออำนาจอธิปไตยจังหวัดฆูเซสถานได้จับ 26 คนเป็นตัวประกัน ได้แก่เจ้าหน้าที่สถานทูต, อาคันตุกะหลายคน และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่คอยคุ้มกันสถานทูต พวกเขาเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษในฆูเซสถานและทางที่ปลอดภัยของพวกเขาเองออกจากสหราชอาณาจักร รัฐบาลอังกฤษได้ตัดสินใจอย่างรวดเร็วว่าจะไม่ให้ทางผ่านอย่างปลอดภัยและเกิดการปิดล้อมตามมา ต่อจากนั้น ผู้เจรจาของตำรวจได้ปล่อยตัวตัวประกันห้าคนเพื่อแลกกับข้อยินยอมเล็กน้อย เช่น การแพร่ภาพความต้องการของผู้จับตัวประกันทางโทรทัศน์ของอังกฤษ

เมื่อถึงวันที่หกของการปิดล้อมเหล่ามือปืนต่างรู้สึกหงุดหงิดมากขึ้นที่ไม่มีความคืบหน้าในการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของพวกเขา เย็นวันนั้นเอง พวกเขาได้ฆ่าตัวประกันและโยนศพออกจากสถานทูต จนในที่สุด หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ (SAS) ซึ่งเป็นหน่วยรบพิเศษของกองทัพบกสหราชอาณาจักร ได้ริเริ่ม "ปฏิบัติการนิมรอด" เพื่อช่วยเหลือตัวประกันที่เหลือ โดยการโรยตัวจากหลังคาและใช้กำลังเข้าทางหน้าต่าง ในระหว่างการล้อม 17 นาทีพวกเขาได้ช่วยตัวประกันที่เหลือทั้งหมดยกเว้นหนึ่งในตัวประกัน และได้สังหารผู้จับตัวประกันห้าในหกคน การไต่สวนการกระทำผิดใด ๆ ของหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศได้รับการเคลียร์ โดยมือปืนที่เหลือเพียงคนเดียวติดคุก 27 ปีในเรือนจำอังกฤษ

สงครามอิรัก–อิหร่าน ได้เกิดขึ้นในปลายปีนั้น และวิกฤตการณ์ตัวประกันในเตหะรานยังคงดำเนินต่อไปจนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1981 อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการดังกล่าวได้นำหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศออกสู่สายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรก รวมถึงได้สนับสนุนชื่อเสียงของรัฐบาลแทตเชอร์ หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศได้รับการแสดงความจำนงจากผู้คนอย่างล้นหลามที่ได้รับแรงบันดาลใจจากปฏิบัติการ และความต้องการความเชี่ยวชาญจากรัฐบาลต่างประเทศมากขึ้น อาคารที่ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ระหว่างการจู่โจมไม่ได้เปิดใหม่จนถึงปี ค.ศ. 1993 การตีโฉบฉวยของหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศได้รับการถ่ายทอดสดในช่วงเย็นวันหยุดธนาคารได้กลายเป็นช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษ และพิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพของนักข่าวในวันหยุดพักหลายคน ซึ่งมันได้กลายเป็นสารคดีและนิยายต่าง ๆ รวมถึงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Adie, Kate (2002). The Kindness of Strangers. London: Headline Publishing Group. ISBN 9780755310739.
  • de la Billière, Sir Peter (1995). Looking for Trouble: SAS to Gulf Command. London: HarperCollins. ISBN 9780006379836.
  • Connelly, Mark; Willcox, David R. (2005). "Are You Tough Enough? The Image of the Special Forces in British Popular Culture, 1939–2004". Historical Journal of Film, Radio and Television. 25 (1). doi:10.1080/01439680500064918.
  • Firmin, Rusty; Pearson, Will (2011). Go! Go! Go! (paperback ed.). London: Phoenix Books. ISBN 9780753828540.
  • Fremont-Barnes, Gregory (2009). Who Dares Wins: The SAS and the Iranian Embassy Siege 1980. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 9781846033957.
  • Grob-Fitzgibbon, Benjamin (2015). "Those Who Dared: A Reappraisal of Britain's Special Air Service, 1950–80". The International History Review. 37 (3). doi:10.1080/07075332.2014.918558. ISSN 1949-6540.
  • Gould, Robert W.; Waldren, Michael J. (1986). London's Armed Police. London: Arms and Armour Press. ISBN 9780853688808.
  • Sunday Times "Insight" Team (1980). Siege! Princes Gate, London – The Great Embassy Rescue. London: Times Newspapers Ltd (The Sunday Times). ISBN 9780600203377.
  • McNee, Sir David (1983). McNee's Law. Glasgow: William Collins, Sons. ISBN 9780002170079.
  • Moysey, Stephen P. (2004). "The Balcombe Street and Iranian Embassy Sieges". Journal of Police Crisis Negotiations. 4 (1): 67–96. doi:10.1300/J173v04n01_06. ISSN 1533-2594.
  • Punch, Maurice (2011). Shoot to Kill: Police Accountability, Firearms, and Fatal Force. Bristol: The Policy Press. ISBN 9781847424723.
  • Squires, Peter; Kennison, Peter (2010). Shooting to Kill?: Police Firearms and Armed Response. Chichester: Wiley-Blackwell. ISBN 9780470779279.
  • Waldren, Michael J. (2007). Armed Police: The Police Use of Firearms Since 1945. Stroud, Gloucestershire: Sutton Publishing. ISBN 9780750946377.
  • White, Jerry (2001). London in the Twentieth Century: A City and its People. London: Penguin Books. ISBN 9780670891399.

การอ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]