การล่าหมูป่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ของการล่าหมูป่ากับสุนัขล่าเนื้อ

การล่าหมูป่า (อังกฤษ: boar hunting) โดยทั่วไปเป็นการปฏิบัติการล่าหมูป่า แต่ยังสามารถขยายไปถึงสุกรป่าและหมูเพกคารี ซึ่งหมูป่าขนาดใหญ่เป็นสัตว์ที่มีพลังสูง และมักมีเขี้ยวยาวแหลมคมซึ่งใช้ป้องกันตัว โดยการล่าหมูป่ามักเป็นการทดสอบความกล้าหาญ

หมูป่า[แก้]

งานโมเสกพื้นในคริสต์ศตวรรษที่ 4 จากคฤหาสน์โรมัน ใกล้เมริดา ประเทศสเปน

หมูป่า (Sus scrofa) เป็นสายพันธุ์บรรพบุรุษของหมู ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในยุโรปกลาง, บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน (รวมถึงเทือกเขาแอตลาสของแอฟริกาเหนือ) และเอเชียส่วนใหญ่ไปทางใต้ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย และได้รับการนำเข้าอย่างกว้างขวางในที่อื่น ๆ

ปัจจุบัน หมูป่าถูกล่าทั้งเพื่อเอาเนื้อ และเพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับพืชผลและป่าไม้

วิธีการ[แก้]

การจับหมู[แก้]

การจับหมูจากหลังม้าในประเทศอินเดีย

การจับหมูเป็นรูปแบบหนึ่งของการล่าหมูป่า โดยบุคคลหรือกลุ่มของพลหอกเดินเท้าหรือบนหลังม้าโดยใช้หอกหมูป่าโดยเฉพาะ บางครั้งหอกหมูป่าก็ติดตั้งครอสการ์ดเพื่อยับยั้งสัตว์ที่กราดเกรี้ยวซึ่งขับร่างกายที่ถูกเจาะลึกลงไป เพื่อไม่ให้โจมตีผู้สังหารก่อนที่มันจะตาย

ในประเทศอินเดีย การจับหมูเป็นที่นิยมในหมู่ชาวชาฏ, กูรจาร์, ราชปุต, ชาวซิกข์, มหาราชา, ราชกณฎ์ราชา และกับเจ้าหน้าที่อังกฤษในสมัยวิกตอเรียและเอ็ดเวิร์ด[1] อ้างตามสารานุกรมบริแทนนิกา ฉบับพิมพ์ครั้งที่สิบเอ็ด (ค.ศ. 1910–1911) การจับหมูได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ทหารในฐานะการฝึกที่ดีเพราะ "หมูป่าที่ตกใจหรือโกรธคือ ... นักสู้ที่สิ้นหวัง [ดังนั้น] นักจับหมูต้องมีสายตาที่ดี, มือที่มั่นคง, ที่นั่งที่มั่นคง, ใจเย็น และมีหัวใจที่กล้าหาญ"[2]

โรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ ผู้ก่อตั้งการลูกเสือได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้[3] โดยในบทเรียนจากความแปรปรวนของชีวิตเขาบอกว่า "ผมไม่เคยลางานตามปกติไปเนินเขาท่ามกลางอากาศร้อน เพราะผมไม่สามารถแยกตัวเองออกจากกีฬาได้" สำหรับผู้ที่ประณาม เขากล่าวว่า "ลองดูก่อนที่จะตัดสิน ดูว่าม้าสนุกกับมันอย่างไร ดูว่าตัวหมูป่าเองบ้าคลั่งด้วยความโกรธแค้น วิ่งเข้าสู่เศษเหล็กอย่างสุดใจ ดูว่าคุณมีอารมณ์ที่กระปรี้กระเปร่ามากแค่ไหน ขอให้สนุกกับโอกาสที่จะทำให้เต็มที่ ใช่ การล่าหมูเป็นกีฬาที่โหดเหี้ยม—แต่ผมก็ชอบมัน เพราะผมรักเพื่อนเก่าที่ดี ที่ผมได้ต่อสู้ด้วย" ส่วนไมเคิล โรเซนธาล ได้อ้างคำพูดของเขาว่า "ไม่เพียงแต่การจับหมูเป็นกีฬาที่น่าตื่นเต้นและสนุกสนานที่สุดสำหรับทั้งคนและม้าเท่านั้น แต่ผมเชื่อจริง ๆ ว่าหมูป่าก็สนุกกับมันเช่นกัน"[4]

ช้าง[แก้]

ในเปอร์เซียยนักล่าชนชั้นสูงใช้ช้างในการไล่ล่าหมูป่าและล้อมพวกมันในที่ลุ่ม จากนั้นนายพรานจะใช้ธนูยิงหมูป่าจากเรือ ส่วนช้างหามศพไปที่แคมป์ล่าสัตว์ โดยมีภาพสลักหินของเรื่องราวเหล่านี้ที่ยังสมบูรณ์อยู่ในทาค-เอ-บอสตาน

สุนัขล่าสัตว์[แก้]

ประติมากรรมสำริดในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 ซึ่งเป็นภาพ "สุนัขจับเหยื่อ" สองตัวที่กำลังทำงานกับหมูป่า

สุนัขล่าสัตว์ถูกใช้ในการล่าหมูป่ามาตั้งแต่สมัยโบราณ สุนัขล่าหมูป่าแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ สุนัขเห่าเหยื่อ และสุนัขจับเหยื่อ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Manohar Malgonkar (June 27, 1999). "A forgotten sport". Tribune India.
  2.  ประโยคหรือส่วนของบทความก่อนหน้านี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Pig-sticking" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 21 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 600.
  3. Lewis P. Orans, บ.ก. (30 เมษายน 1998). "B-P, Lessons from the Varsity of Life. Chapter III. Sport. Part Three: Pigsticking". Pine Tree Web. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2007.
  4. Recruiting for the Empire: Baden-Powell's Scout Law เก็บถาวร ตุลาคม 9, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Michael Rosenthal. "the boar enjoys it too."

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]