การลักพาตัวเด็กในระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย พ.ศ. 2565

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การลักพาตัวเด็กในระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย พ.ศ. 2565
เป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย พ.ศ. 2565
สถานที่ดินแดนยึดครองของรัสเซียในยูเครน
วันที่24 กุมภาพันธ์ 2565 (2565-02-24) – ปัจจุปัน
เป้าหมายเด็กชาวยูเครน
ประเภท
ตายประมาณ 800 คน[1]
ผู้เสียหาย13,000[1] – 307,000[2]

ระหว่างการรุกรานยูเครนของรัสเซียใน พ.ศ. 2565 รัสเซียได้ย้ายเด็กชาวยูเครนหลายพันคนไปยังพื้นที่ที่ปกครองโดยให้สัญชาติรัสเซียแก่พวกเขา และบังคับให้พวกเขารับเลี้ยงเป็นครอบครัวชาวรัสเซีย และสร้างอุปสรรคต่อการกลับมาพบกับพ่อแม่หรือบ้านเกิด[3] สหประชาชาติเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการเนรเทศซึ่งถือเป็นอาชญากรรมสงคราม[3][4] ศาลอาญาระหว่างประเทศออกหมายจับวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย และมารีเยีย ลีวา-เบโลวา กรรมาธิการด้านสิทธิเด็กจากข้อกล่าวหาว่ามีส่วนรับผิดชอบในการเนรเทศเด็กชาวยูเครนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย[5] ตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งอนุสัญญาว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ พ.ศ. 2491[a] การกระทำเหล่านี้ถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หากกระทำโดยมีเจตนาที่จะทำลายล้าง[6]

เด็กชาวยูเครนถูกลักพาตัวโดยรัฐรัสเซีย หลังจากพ่อแม่ของพวกเขาถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ยึดครองดินแดนหรือถูกฆ่าตายในการรุกราน[7] หรือหลังจากแยกจากพ่อแม่ในเขตสงคราม[8] เด็กยังถูกลักพาตัวจากสถาบันของรัฐยูเครนในพื้นที่ยึดครอง และผ่านค่ายฤดูร้อนสำหรับเด็กในดินแดนรัสเซีย[7] เด็กที่ถูกลักพาตัวไปอยู่ภายใต้กระบวนการแผลงเป็นรัสเซีย[9][8] การเลี้ยงเด็กของสงครามในต่างประเทศและวัฒนธรรมอาจถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หากตั้งใจที่จะลบเอกลักษณ์ประจำชาติของพวกเขา[9]

ประมาณการจำนวนเด็กที่เกี่ยวข้องมีตั้งแต่ 13,000[1] ถึง 307,000 คน[2] สำนักงานอัยการสูงสุดยูเครนระบุในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ว่ามีเด็กเกือบ 800 คนเสียชีวิตหรือสูญหายระหว่างกระบวนการเนรเทศ[1]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ข้อ 2 ในอนุสัญญานี้ การอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ที่กระทำลงโดยเจตนาจะทำลายกลุ่มชนชาติ ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือศาสนาทั้งกลุ่มหรือบางส่วน คือ
    (จ) ใช้กำลังโยกย้ายถ่ายเทเด็กของกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Ministry of Reintegration of Temporarily Occupied Territories. Children of War. เก็บถาวร 24 ธันวาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Accessed 1 December 2022.
  2. 2.0 2.1 "'Deporting Ukrainian children and "Russifying" them is jeopardizing the future of Ukraine'". Le Monde. 5 August 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2022. สืบค้นเมื่อ 13 October 2022.
  3. 3.0 3.1 "Deportation of Ukrainian children to Russia is war crime - UN". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2023-03-16. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  4. OHCHR (2023). "Report of the Independent International Commission of Inquiry on Ukraine" (PDF). Geneva. p. 15. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2023. สืบค้นเมื่อ 17 March 2023.
  5. Borger, Julian; Sauer, Pjotr (2023-03-17). "ICC judges issue arrest warrant for Vladimir Putin over alleged war crimes". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  6. Borger, Julian (27 May 2022). "Russia is guilty of inciting genocide in Ukraine, expert report concludes". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2022. สืบค้นเมื่อ 3 June 2022.
  7. 7.0 7.1 Koshiw, Isobel (2023-03-17). "Putin's alleged war crimes: who are the Ukrainian children being taken by Russia?". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  8. 8.0 8.1 Bubola, Emma (2022-10-22). "Using Adoptions, Russia Turns Ukrainian Children Into Spoils of War". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  9. 9.0 9.1 El Deeb, Sarah; Shvets, Anastasiia; Tilna, Elizaveta (2022-10-13). "How Moscow grabs Ukrainian kids and makes them Russians" (ภาษาอังกฤษ). Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-07. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]