การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศนิวซีแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศนิวซีแลนด์
แผนที่การระบาดของโรคในนิวซีแลนด์โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (ตั้งแต่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563)
  มีผู้ป่วยยืนยันแล้วกว่า 200 ราย
  มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 100–199 ราย
  มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 50–99 ราย
  มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 10–49 ราย
  มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 1–9 ราย
โรคโควิด-19
สถานที่ประเทศนิวซีแลนด์
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น ประเทศจีน
วันแรกมาถึง28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
(4 ปี 1 เดือน 22 วัน)
ผู้ป่วยยืนยันสะสม15,910 คน[1] (ทั้งหมด)
ผู้ต้องสงสัยป่วย376 คน[1] (ทั้งหมด)
หาย14,737 คน[1]
เสียชีวิต52 คน[1]
รวม ILI สะสม1,497 คน[1]
www.covid19.govt.nz
ผู้ป่วยต้องสงสัยยังไม่ได้รับยืนยันว่าเกิดขึ้นจากสายพันธุ์นี้จากการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ แม้อาจแยกสายพันธุ์อื่นออกไปบ้างแล้ว

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศนิวซีแลนด์ เป็นส่วนหนึ่งของการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) โดยพบผู้ป่วยรายแรกในประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ประเทศนี้มีผู้ป่วยรวม 1,039 ราย (872 รายได้รับการยืนยันและ 167 รายที่เป็นไปได้; กรณีที่เป็นไปได้คือเมื่อผู้ป่วยมีผลทดสอบเป็นลบสำหรับโควิด-19 แต่ยังคงมีอาการของไวรัส) ตั้งแต่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563 มีหนึ่งคนเสียชีวิตจากไวรัส[1] และมีเคสเกิดขึ้นในพื้นที่คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขตทั้งหมด 20 แห่งของประเทศ

วันที่ 21 มีนาคม มีการริเริ่มระบบเตือนภัยสี่ระดับในวันที่ 21 มีนาคมเพื่อจัดการการระบาดในประเทศ ทีแรกตั้งไว้ที่ระดับ 2 ที่ปรับขึ้นเป็นระดับ 3 และเป็นระดับ 4 เมื่อวันที่ 25 มีนาคมซึ่งทำให้รัฐบาลสั่งล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ก่อนค่อย ๆ ปรับลดลงมาเป็นระดับ 3 เมื่อวันที่ 27 เมษายน ซึ่งทำให้ผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์บางส่วน และเหลือระดับ 2 ในวันที่ 13 พฤษภาคม คงเหลือเพียงการเว้นระยะห่างทางสังคมและจำกัดการชุมนุมเท่านั้น ประเทศลดระดับการเตือนภัยเหลือระดับ 1 ในัวนที่ 8 มิถุนายน ซึ่งยกเลิกการจำกัดทุกอย่างยกเว้นการควบคุมชายแดน

เส้นเวลา[แก้]

ข้อมูลเกี่ยวกับวันก่อนหน้าได้รับการเปิดเผยในระหว่างการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมักจะเกิดขึ้นเวลา 13.00 น. ของทุกวัน วันที่และเวลาทั้งหมดต่อไปนี้เป็นเวลานิวซีแลนด์: เวลาออมแสงนิวซีแลนด์ (เวลาสากลเชิงพิกัด+13:00) จนถึง 5 เมษายน และเวลามาตรฐานนิวซีแลนด์ (เวลาสากลเชิงพิกัด+12:00) หลังจากนั้น

มกราคม พ.ศ. 2563[แก้]

เมื่อวันที่ 28 มกราคม กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานสุขภาพแห่งชาติ (NHCC) ขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรค[2] คำสั่งโรคติดเชื้อที่ต้องแจ้งการระบาดต่อทางการจะมีผลตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม[3] ซึ่งกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพต้องรายงานกรณีที่น่าสงสัยตามพระราชบัญญัติสุขภาพ ค.ศ. 1956[4]

มิถุนายน[แก้]

สัปดาห์ที่ 8 มิถุนายน ไม่มีรายงานผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตรายใหม่ และผู้ป่วยรายสุดท้ายที่กำลังรักษาได้รับการประกาศว่าหายแล้วในวันที่ 8 มิถุนายน[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "COVID-19 – current cases". Ministry of Health. 28 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-04. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
  2. "Novel coronovirus update". Ministry of Health, New Zealand. 27 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  3. "Coronavirus: Health officials now have the power to quarantine anyone infected". The New Zealand Herald. 28 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  4. "Health Act 1956 No 65 (as at 30 January 2020) – Schedule 1, Section B". New Zealand Legislation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  5. "COVID-19 – current cases". Health.govt.nz. Ministry of Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-05.Archives: , , .

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]