การระบาดของอหิวาตกโรคในถนนบรอด ค.ศ. 1854

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ต้นฉบับของจอห์น สโนว์แสดงให้เห็นถึงการกระจุกของบริเวณที่เกิดอหิวาตกโรค (ระบุด้วยสัญลักษณ์รูปสีเหลี่ยมผืนผ้าทึบ) ในลอนดอนซึ่งระบาดใน ค.ศ. 1854 ปั้มที่ปนเปื้อนเชื้อโรคตั้งอยู่บริเวณจุดแยกของถนนบรอดและถนนเคมบริดจ์ (ถนนเลกซิงตันในปัจจุบัน) จนไปถึงถนนลิตเติลวินด์มิลล์

การระบาดของอหิวาตกโรคในถนนบรอด (อังกฤษ: Broad Street cholera outbreak) หรือ การระบาดในโกลเดนสแควร์ (Golden Square outbreak) คือการระบาดของอหิวาตกโรคอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1854 ใกล้เคียงกับถนนบรอด (ถนนบรอดวิคในปัจจุบัน) ในเขตโซโฮของนครเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเกิดขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของอหิวาตกโรคทั่วโลกในระหว่าง ค.ศ. 1846–1860 การระบาดนี้มีผู้เสียชีวิต 616 คน และเป็นที่รู้จักจากการศึกษาของนายแพทย์จอห์น สโนว์ถึงสาเหตุของการระบาดและสมมติฐานว่าน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเป็นแหล่งกำเนิดของอหิวาตกโรคมากกว่าที่จะเป็นอนุภาคในอากาศ (อ้างอิงจาก "ภาวะอากาศเป็นพิษ")[1][2] การค้นพบนี้มีอิทธิพลต่อทางสาธารณสุขและวางรากฐานในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางสุขาภิบาลในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 หลังจากนั้นคำศัพท์คำว่า "จุดแหล่งโรคของการติดเชื้อ" (focus of infection) ได้ถูกนำมาใช้ในการอธิบายที่เกิดเหตุ อาทิ เครื่องสูบน้ำในถนนบรอดเป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่เชื้อ ความพยายามของสโนว์ในการค้นหาสาเหตุของการแพร่เชื้อยังส่งผลให้เขาสร้างการทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (double-blind experiment) โดยไม่รู้ตัว

อ้างอิง[แก้]

  1. Eyeler, William (July 2001). "The changing assessments of John Snow's and William Farr's Cholera Studies". Sozial- und Präventivmedizin. 46 (4): 225–32. doi:10.1007/BF01593177. PMID 11582849.
  2. Paneth, N; Vinten-Johansen, P; Brody, H; Rip, M (1998-10-01). "A rivalry of foulness: official and unofficial investigations of the London cholera epidemic of 1854". American Journal of Public Health. 88 (10): 1545–1553. doi:10.2105/ajph.88.10.1545. ISSN 0090-0036. PMC 1508470. PMID 9772861.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]