การยับยั้ง
การยับยั้ง (อังกฤษ: veto) เป็นอำนาจฝ่ายเดียวที่จะห้ามการปฏิบัติราชการอย่างใด ๆ โดยเฉพาะการตรากฎหมาย อาจเป็นอำนาจสิทธิ์ขาด เช่น ในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมาชิกประจำ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา มีอำนาจยับยั้งข้อมติใด ๆ ได้โดยสิ้นเชิง หรืออาจเป็นอำนาจจำกัด เช่น ในกระบวนการตรากฎหมายของสหรัฐอเมริกา เมื่อประธานาธิบดียับยั้งร่างกฎหมาย อย่างน้อยสองในสามของสมาชิกทั้งหมดแห่งสภาทั้งสองสามารถลงมติกลับการยับยั้งนั้นได้[1] อำนาจยับยั้งเป็นอำนาจที่จะห้าม ไม่ใช่ที่จะรับ เพื่อให้ผู้มีอำนาจนี้สามารถรักษาสถานะเดิม (status quo) ของสิ่งนั้น ๆ ได้
แนวคิดเรื่องการยับยั้งนี้มีขึ้นในกงสุลโรมัน (Roman consul) และทรีบูน (tribune) องค์กรทั้งสองสามารถระงับคำวินิจฉัยทางทหารหรือพลเรือนของกันและกันได้ และทรีบูนยังมีอำนาจฝ่ายเดียวที่จะระงับร่างกฎหมายที่วุฒิสภาโรมันอนุมัติแล้วด้วย[2]
คำ "veto" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน แปลว่า "ข้าสั่งห้าม" (I forbid)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Article I, Section 7, Clause 2 of the United States Constitution
- ↑ Spitzer, Robert J. (1988). The presidential veto: touchstone of the American presidency. SUNY Press. pp. 1–2. ISBN 978-0-88706-802-7.