การฟื้นฟูป่าชายเลน
การฟื้นฟูป่าชายเลน คือการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนในพื้นที่ที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ การปฏิบัติการฟื้นฟูป่าชายเลนเป็นพื้นฐานต่อการสร้างวินัยในการฟื้นฟูระบบนิเวศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ “[ช่วยเหลือ]การฟื้นตัวต่อความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม, ได้รับความเสียหาย หรือถูกทำลาย”[1] ตั้งแต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความสำเร็จสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศที่มีความหมาย จึงไม่เพียงแต่คงไว้ซึ่งสภาพเดิม หากแต่เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
บริบทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
[แก้]ป่าชายเลน พร้อมกับสายพันธุ์สัตว์ที่พักพิง เป็นตัวแทนของแหล่งที่มาของความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญทั่วโลก และให้นิเวศบริการที่มีคุณค่าต่อมนุษยชาติ โดยเป็นประโยชน์ต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม, สัตว์เลื้อยคลาน และนกอพยพ ในฐานะของการให้อาหารและเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์ และเอื้อต่อการเป็นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของปลา และสายพันธุ์ครัสเตเชียนที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์ รากของป่าชายเลนยังเป็นกันชนทางกายภาพของฝั่งทะเล จากผลกระทบโดยการกัดกร่อนของคลื่นทะเลและพายุ นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังได้ปกป้องพื้นที่ชายฝั่งโดยการดูดซับน้ำท่วม และชะลอตัวการไหลของตะกอนในแม่น้ำ จากการมีตะกอนตกค้างในที่แห่งนี้ จึงอาจมีของเสียที่เป็นพิษเกิดขึ้น รวมถึงมีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำและสุขาภิบาลในชุมชนชายฝั่ง
สำหรับชุมชนมนุษย์ที่พึ่งพาป่าชายเลน ป่าชายเลนเป็นแหล่งที่มาของรายได้ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนจากการเก็บเกี่ยวผลิตผลของปลาและขอนไม้ เช่นเดียวกับที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์จากป่า เช่น พืชสมุนไพร, ใบปาล์ม และน้ำผึ้ง ในระดับโลก ป่าชายเลนยังทำหน้าที่ดูดสารคาร์บอนในปริมาณที่เทียบได้กับการปกคลุมท้องฟ้าของป่าฝนบนบก ซึ่งหมายความว่าป่าเหล่านั้นอาจจะมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[2] นอกจากนี้ ยังเป็นการปกป้องชายฝั่งทางกายภาพจากระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[3]
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อจำกัดของป่าชายเลนที่จะปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีการคาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 1 เมตรและจะทำลายป่าชายเลนในหลายภูมิภาคทั่วโลก[4] ซึ่งชุมชนชายฝั่งจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม, การกัดเซาะชายฝั่ง, การถูกรุกล้ำของน้ำเค็ม และภัยจากพายุที่เพิ่มขึ้น[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "FSM 2000 – National Forest Resource Management, Chapter 2020 – Ecological Restoration and Resilience". สืบค้นเมื่อ 9 April 2012.
- ↑ Spalding, Mark; Kainuma, Mami; Collins, Lorna (2010). World Atlas of Mangroves. London, UK: Washington, DC: Earthscan.
- ↑ "Millennium Ecosystem Assessment. Ecosystems and Human Well-Being: Wetlands and Water Synthesis" (PDF). Washington, DC: World Resources Institute. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 July 2012. สืบค้นเมื่อ 10 July 2012.
- ↑ "Working Group II: Impacts, Adaptation and Vulnerability. 19.3.3.5, "Mangrove Ecosystems"". IPCC Fourth Assessment Report: Climate Change 2001. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
- ↑ Field, C.D. (1995). "Impact of expected climate change on mangroves". Hydrobiologia. 295 (1–3): 75–81. doi:10.1007/BF00029113. S2CID 38684128.
แหล่งข้อมูล
[แก้]- Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome. "The world's mangroves 1980-2005. A Thematic Study Prepared in the Framework of the Global Forest Resources Assessment 2005", FAO Forestry Paper 153, 2007.
- Forest Service Manual. "Ecological Restoration and Resilience", National Forest Resource Management, Chapter 2020, 2000.
- Intergovernmental Panel on Climate Change. "IPCC Fourth Assessment Report. Climate Change 2001. Working Group II: Impacts, Adaptation and Vulnerability". 19.3.3.5, Mangrove Ecosystems.
- Lewis, Roy R. "Mangrove Field of Dreams: If We Build It, Will They Come?", Society of Wetland Scientists Research Brief. Wetland Science and Practice. 27(1):15-18, 2009.
- Lewis, Roy R. "Methods and criteria for successful mangrove forest restoration", Chapter 28, pp. 787–800 in G.M.E. Perillo, E. Wolanski, D. R. Cahoon, and M.M. Brinson (eds.) "Coastal Wetlands: An Integrated Ecosystem Approach". Elsevier Press, 2009.
- Millennium Ecosystem Assessment. "Ecosystems and Human Well-Being: Wetlands and Water Synthesis", World Resources Institute, Washington, DC, 2005.
- Quarto, Alfredo, Mangrove Action Project. "Ecological Mangrove Restoration (EMR) and Training Project. Concept Note for EMR Workshops in Asia and Latin America", 2010.
- Wetlands International. "Ecological Mangrove Restoration in Thailand", 2012.
- Mangrove Restoration.com