การปิดน่านฟ้าทั่วยุโรปจากการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553


ภายหลังจากการปะทุครั้งที่สองของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ในไอซ์แลนด์ พ.ศ. 2553 ส่งผลให้เกิดการปิดน่านฟ้าทั่วยุโรป[1] เนื่องจากมีความกังวลว่ากองเศษหินซึ่งถูกปลดปล่อยออกมาหลังการปะทุจะลอยเข้าไปอยู่ในเฉลียงการบินมาตรฐานและทำให้เครื่องยนต์ของอากาศยานเสียหาย[2] ห้วงอากาศยานควบคุมของหลายประเทศถูกปิดตามระเบียบเครื่องมือการบิน ทำให้มีผู้โดยสารตกค้างนับล้านคน ส่งผลให้เป็นการปิดการจราจรทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[3] และเนื่องจากพื้นที่อากาศส่วนใหญ่ปิดการจราจรทางอากาศ[4][5][6] ทำให้อีกหลายประเทศได้รับผลกระทบจากการยกเลิกเที่ยวบินเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
การปะทุดังกล่าวเกิดขึ้นใต้ธารน้ำแข็ง น้ำเย็นจากน้ำแข็งซึ่งกำลังละลายทำให้ลาวาเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มันแตกออกเป็นอนุภาคแก้ว (ซิลิกา) ขนาดเล็กมาก และเถ้า และถูกพัดพาไปพร้อมกับพวยเถ้าถ่าน เนื่องจากธรรมชาติของอนุภาคเถ้าถ่านและปริมาตรมหาศาลของไอน้ำ ซึ่งเกิดจากการละลายของธารน้ำแข็ง ได้ทำให้พวยเถ้าถ่านซึ่งเป็นอันตรายต่ออากาศยานถูกส่งขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศเบื้องบนอย่างรวดเร็ว[7]
สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ประมาณการว่าอุตสาหกรรมสายการบินจะสูญเสียรายได้กว่า 148 ล้านยูโร (200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อวัน ระหว่างการปิดน่านฟ้าดังกล่าว[8] ทั้งฟินแลนด์และสหรัฐอเมริกาต่างก็มีรายงานการค้นพบแก้วจากภูเขาไฟในอากาศยานของตน เป็นการเน้นถึงอันตรายต่ออากาศยานซึ่งบินผ่านพวยเถ้าถ่าน[9]
ประเทศซึ่งได้รับผลกระทบ
[แก้]นี่คือรายชื่อประเทศซึ่งปิดห้วงอากาศยานควบคุมตามระเบียบเครื่องมือการบินหลังจากการปะทุ: ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก, เอสโตเนีย, หมู่เกาะแฟโร, ฟินแลนด์, เยอรมนี, ฮังการี, ไอร์แลนด์, อิตาลี (ตอนเหนือของประเทศ), แลตเวีย, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, โรมาเนีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย, สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม ประเทศไอซ์แลนด์อันเป็นที่ตั้งของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ กลับได้รับผลกระทบน้อยมากจนน่าประหลาดใจ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Volcanic ash spreads more travel misery across Europe". BBC News. 17 April 2010. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
- ↑ "Iceland volcano: Why a cloud of ash has grounded flights". BBC News. 15 April 2010. สืบค้นเมื่อ 19 April 2010.
- ↑ "Qantas cancels flights for a third day". The Sydney Morning Herald. 18 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 18 April 2010.
- ↑ "Cancellations due to volcanic ash in the air". Norwegian Air Shuttle. 15 April 2010. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.
- ↑ "Iceland Volcano Spewing Ash Chokes Europe Air Travel". San Francisco Chronicle. 15 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-21. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.
- ↑ "Live: Volcanic cloud over Europe". BBC News. 15 April 2010. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
- ↑ "Iceland's volcanic ash halts flights across Europe". The Guardian. London. 15 April 2010. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
- ↑ Wearden, Graeme (16 April 2010). "Ash cloud costing airlines £130m a day". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
- ↑ Glass build-up found in NATO F-16 engine: U.S. official. Reuters. 19 April 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Live: Volcanic cloud over Europe" updates on BBC News
- "The eruption that changed Iceland forever" - BBC News Magazine (Laki eruption - 1783)
- "A glance at flight disruptions due to volcanic ash" The Associated Press, 19 April 2010
- "Tracking the Cancellations" The New York Times, 15 April 2010, updated 20 April 2010