การปะทุของเขาวิซูเวียส ค.ศ. 79

พิกัด: 40°49′N 14°26′E / 40.817°N 14.433°E / 40.817; 14.433
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปะทุของเขาวิซูเวียส ค.ศ. 79
ภาพ หายนะของปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียม (The Destruction of Pompeii and Herculaneum) จอห์น มาร์ติน (John Martin) วาดขึ้นราว ค.ศ. 1821
ภูเขาไฟเขาวิซูเวียส
วันที่(ราว) 24–25 สิงหาคม ค.ศ. 79
ประเภทการปะทุแบบวิซูเวียส
สถานที่คัมปาเนีย, อิตาลี
40°49′N 14°26′E / 40.817°N 14.433°E / 40.817; 14.433
ระดับ5
ผลกระทบชุมชนปอมเปอี (Pompeii), เฮอร์คิวเลเนียม (Herculaneum), อ็อปลอนทิส (Oplontis), และสแตบีอี (Stabiae) ถูกฝัง

เขาวิซูเวียสเป็นภูเขาไฟสลับชั้น (stratovolcano) ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีปัจจุบัน เคยปะทุขึ้นใน ค.ศ. 79 จัดเป็นการปะทุของภูเขาไฟที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรป นักประวัติศาสตร์ทราบเรื่องการปะทุครั้งนี้จากบันทึกของพลินีผู้เยาว์ (Pliny the Younger) นักการเมืองและกวีชาวโรมันซึ่งเห็นเหตุการณ์มาด้วยตาตนเอง[1] การปะทุครั้งนี้ยังเป็นที่มาของคำศัพท์ว่า "การปะทุแบบวิซูเวียส" (Vesuvian eruption) ที่ใช้เรียกการประทุประเภทหนึ่งของภูเขาไฟ

ในเหตุการณ์นั้น เขาวิซูเวียสพ่นกลุ่มควันพิษที่ประกอบด้วยเทฟรา (tephra) และก๊าซภูเขาไฟ (volcanic gas) อันเดือดจัด ออกมาอย่างรุนแรงเป็นแนวสูงถึง 33 กิโลเมตร ทั้งยังพ่นหินหลอมเหลว (molten rock), หินพัมมิซ (pumice) ป่นละเอียด, และเถ้าภูเขาไฟ (volcanic ash) ออกมาเป็นปริมาณสูงถึง 1.5 ล้านตันต่อวินาที จนที่สุด ก็ปล่อยพลังงานความร้อน (thermal energy) ขนาดเทียบเท่าที่เกิดในเหตุการณ์ระเบิดที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ ออกมาถึง 100,000 ครั้ง[2] เป็นเหตุให้ชุมชนชาวโรมันหลายแห่งถึงแก่ความพินาศ และถูกฝังภายใต้ระลอกตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic surge) และหินเถ้าภูเขาไฟ (tuff) จำนวนมหาศาล ชุมชนซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ ปอมเปอี (Pompeii) และเฮอร์คิวเลเนียม (Herculaneum)[1][2] ซึ่งมีประชากรรวม 16,000–20,000 คน มีการพบศพคนกว่า 1,500 ราย แต่ยอดผู้เสียชีวิตยังไม่อาจกำหนดแน่ได้

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Andrew Wallace-Hadrill (October 15, 2010). "Pompeii: Portents of Disaster". BBC History. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.
  2. 2.0 2.1 "Science: Man of Pompeii". Time. October 15, 1956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-24. สืบค้นเมื่อ February 4, 2011.