การประหารชีวิตด้วยการยิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประหารชีวิตด้วยการยิง
กลุ่มมือปืนของฟุลเฮนซิโอ บาติสตา ประหารชีวิตนักปฏิวัติในประเทศคิวบา, ค.ศ. 1956
เป็นวิธีของการประหารชีวิต

การประหารชีวิตด้วยการยิง เป็นวิธีลงโทษประหารชีวิตวิธีหนึ่ง ซึ่งยิงบุคคลให้ตายด้วยปืนหนึ่งกระบอกหรือหลายกระบอก เป็นวิธีที่แพร่หลายที่สุดทั่วโลก ใช้อยู่ในราว 70 ประเทศ[1] วิธีการยิงนี้รวมถึงการยิงเป็นชุด

ในประเทศส่วนใหญ่ การยิงเป็นชุดนั้นเคยถือกันว่าเป็นวิธีประหารที่มีเกียรติยศยิ่งกว่าวิธีอื่น และมักใช้สำหรับบุคลากรทางทหาร ส่วนในบางประเทศ ซึ่งรวมถึงเบลารุสอันเป็นประเทศเดียวในยุโรปที่ยังมีโทษประหารชีวิตอยู่ มีการใช้วิธียิงนัดเดียวที่สืบทอดมาจากสมัยโซเวียต

การประหารแบ่งตามพื้นที่[แก้]

ประเทศไทย[แก้]

ประเทศไทยใช้การประหารชีวิตด้วยวิธีนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2546[2][3] หากนับตั้งแต่ พ.ศ. 2478 ประเทศไทยมีการประหารชีวิตนักโทษทั้งสิ้น 325 คน โดยแบ่งเป็นการประหารชีวิตแบบยิงเป้าถึง 319 คน[3][4][5] ใน พ.ศ. 2478 นายสิบเอก สวัสดิ์ มหะหมัด ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าครั้งแรก จากความผิดฐานคิดกบฏ[2][5] และมี นายสุดใจ ชนะ เป็นนักโทษรายสุดท้าย จากคดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน[4][5][6]

บราซิล[แก้]

แม้ว่าประเทศบราซิลจะยกเลิกโทษประหารไปแล้ว โทษนี้ยังสามารถใช้เมื่อเกิดอาชญากรรมบางประเภทในช่วงสงคราม เช่น การทรยศ การสมคบคิด การกระด้างกระเดื่อง การถอยทัพโดยมิชอบ และการลักอุปกรณ์หรือเสบียงในฐานทัพ[7][8] และการประหารในกรณีเช่นนี้จะใช้วิธียิง[7][9]

เบลารุส[แก้]

การประหารจะให้เพชฌฆาต 1 คนยืนอยู่ด้านหลังของนักโทษ แล้วยิงนักโทษที่บริเวณด้านหลังของศีรษะด้วยปืนพก 1 นัด[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Clark, Richard (2006). "Shot at dawn!". Capital Punishment U.K. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
  2. 2.0 2.1 "ครั้งแรกของข้อถกเถียง ประเทศไทย กับคำถามโทษประหารควรมีอยู่หรือไม่". จุฑารัตน์ อัศววัชรินทร์. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  3. 3.0 3.1 "ตำนานการยิงเป้า". กิเลน ประลองเชิง. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  4. 4.0 4.1 "โทษประหารจากมีดบั่นคอ ปืนยิง สู่ฉีดยาให้ตาย นักโทษคนที่ 7". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  5. 5.0 5.1 5.2 "ย้อนรอย "ประหารชีวิต" ก่อนนับหนึ่งใหม่ ฟื้นโทษฉีดยาพิษรอบ 9 ปี". MGR Online. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  6. การซ้อนทับจับวางของวาทกรรมทัณฑวิทยา: วงศาวิทยาของการใช้โทษประหารและความรุนแรงเพื่อการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทยหน้าที่ 108 - 110
  7. 7.0 7.1 "Afinal, existe pena de morte no Brasil?". Jusbrasil (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). สืบค้นเมื่อ 2018-04-21.
  8. "Art. 5, inc. XLVII, "a" da Constituição Federal de 88". Jusbrasil. สืบค้นเมื่อ 2018-04-21.
  9. "Lei brasileira ainda prevê pena de morte; saiba quando pode ser aplicada". Gazeta do Povo (ภาษาโปรตุเกส). สืบค้นเมื่อ 2018-04-21.
  10. Gypsy Laborer Faces Execution In Belarus CBS News, October 13, 2009