การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประท้วงในจัตุรัสทาห์รีร์ กรุงไคโร เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นหลังการลุกฮือของประชาชนซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 และจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ยังคงดำเนินต่อไป การลุกฮือส่วนใหญ่เป็นการรณรงค์การต่อต้านของพลเมือง (civil resistance) โดยปราศจากความรุนแรง ซึ่งมีลักษณะของชุดการเดินขบวน การเดินแถว พฤติกรรมการดื้อแพ่ง และการประท้วงของแรงงาน ผู้ประท้วงหลายล้านคนที่มีภูมิหลังทางสังคมเศรษฐกิจและศาสนาอันหลากหลายต่างเรียกร้องให้โค่นล้มรัฐบาลของประธานาธิบดีอียิปต์ ฮอสนี มุบารัก แม้จะมีลักษณะสงบโดยธรรมชาติ แต่ไม่แคล้วที่การปฏิวัติจะเกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังความมั่นคงและผู้ประท้วง โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 846 คน และได้รับบาดเจ็บ 6,000 คน[1][2] การลุกฮือดังกล่าวเกิดขึ้นในกรุงไคโร, อเล็กซานเดรีย และนครอื่นในอียิปต์ หลังการปฏิวัติตูนิเซีย ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลของประธานาธิบดีตูนิเซียอันครองอำนาจมาอย่างยาวนานล้มลง เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ หลังเผชิญกับการประท้วงและแรงกดดันหลายสัปดาห์ มุบารักได้ลาออกจากตำแหน่ง

การประท้วงดังกล่าวเป็นผลพวงส่วนหนึ่งมาจากขบวนการอาหรับสปริงที่เกิดขึ้นในแอฟริกาเหนือซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2553 ความเดือดร้อนของผู้ประท้วงอียิปต์มุ่งไปยังปัญหาด้านกฎหมายและการเมือง[3] รวมทั้งความรุนแรงของตำรวจ กฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน การขาดการเลือกตั้งอย่างเสรีและเสรีภาพในการแสดงออก คอร์รัปชันซึ่งควบคุมไม่อยู่ และปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งรวมไปถึงอัตราการว่างงานที่สูง ภาวะเงินเฟ้อราคาอาหาร และค่าแรงขั้นต่ำที่ต่ำ ความต้องการหลักจากผู้จัดการประท้วง คือ ยุติการปกครองของฮอสนี มุบารัก และยุติกฎหมายฉุกเฉิน ตลอดจนเสรีภาพ ความยุติธรรม รัฐบาลที่ไม่ใช่ทหารและตอบสนอง และการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรของอียิปต์[4] การประท้วงโดยสหภาพแรงงานเพิ่มแรงกดดันต่อทางการอียิปต์[5]

เหตุประท้วงครั้งนี้ได้รับการอธิบายว่า "ไม่เคยปรากฏมาก่อน" ในอียิปต์[6] และเป็น "การแสดงออกซึ่งความไม่พอใจของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในยุคปัจจุบัน" ของประเทศ[7] ระหว่างการประท้วงดังกล่าวได้มีผู้ชุมนุมที่จัตุรัสทาห์รีร์ในกรุงไคโรมากถึงสองล้านคน[8] นับเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ การจลาจลขนมปังในอียิปต์ พ.ศ. 2520[6]

ระหว่างการลุกฮือ เมืองหลวงไคโรถูกอธิบายว่าเป็น "เขตสงคราม"[9] และเมืองท่าสุเอซเป็นสถานที่เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงบ่อยครั้ง รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวซึ่งผู้ประท้วงฝ่าฝืน ขณะที่ตำรวจและทหารไม่บังคับใช้ การปรากฏของตำรวจกองกำลังความมั่นคงกลางของอียิปต์ ซึ่งภักดีต่อมุบารัก ค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยทหารซึ่งจำกัดมาก เมื่อไม่มีตำรวจ จึงมีการปล้นสะดมโดยแก๊งซึ่งแหล่งข่าวฝ่ายต่อต้านว่า ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ เพื่อรับมือ พลเรือนจึงจัดตั้งกลุ่มเฝ้าระวังเพื่อปกป้องละแวกบ้านของตน[10][11][12][13][14]

การตอบสนองระหว่างประเทศต่อเหตุประท้วงดังกล่าวผสมกันทั้งสนับสนุนและคัดค้าน[15] แม้ส่วนใหญ่เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติด้วยสันติและมุ่งสู่การปฏิรูป รัฐบาลตะวันตกส่วนใหญ่แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ หลายรัฐบาลออกคำเตือนท่องเที่ยวและพยายามอพยพพลเมืองของตนออกจากประเทศ[16]

มุบารักยุบรัฐบาลและแต่งตั้งบุคลากรทหารและอดีตหัวหน้าหน่วยสืบราชการทั่วไปอียิปต์ (Egyptian General Intelligence Directorate) โอมาร์ สุไลมาน เป็นรองประธานาธิบดีในความพยายามปราบปรามผู้ไม่เห็นด้วย มุบารักขอรัฐมนตรีการบินและอดีตหัวหน้ากองทัพอากาศอียิปต์ อาเหม็ด ชาฟิก (Ahmed Shafik) ให้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ โมฮัมเหม็ด เอลบาราเด (Mohamed Elbaradei) กลายมาเป็นบุคคลสำคัญของฝ่ายต่อต้าน โดยกลุ่มต่อต้านหลักทั้งหมดสนับสนุนบทบาทของเขาในฐานะผู้เจรจาสำหรับบางรูปแบบของรัฐบาลปรองดองถ่ายโอน[17] เพื่อรับมือกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น มุบารักจึงประกาศว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนกันยายน[18]

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ รองประธานาธิบดี โอมาร์ สุไลมาน ประกาศว่ามูบารักจะก้าวลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีและเปลี่ยนผ่านอำนาจให้แก่สภากองทัพสูงสุด[19] สุไลมานกล่าวว่ามูบารักจะถ่ายโอนอำนาจให้แก่กองบัญชาการทหารสูงสุด เจ้าหน้าที่ทางการกล่าวว่ามูบารักได้เดินทางออกจากกรุงไคโรแล้วและกำลังพำนักอยู่ในรีสอร์ตทะเลแดงในซาร์มอัลชีคที่ซึ่งเขามีภูมิลำเนาอยู่[20] วันที่ 24 พฤษภาคม มุบารักถูกสั่งให้เข้ารับการไต่สวนในข้อหาฆาตกรรมผู้ประท้วงโดยสงบโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งหากถูกตัดสินว่าผิดจริง อาจได้รับโทษประหารชีวิต[21]

รัฐบาลทหาร นำโดยประมุขแห่งรัฐโดยพฤตินัย โมฮัมเหม็ด ฮุสเซน ทันทาวี (Mohamed Hussein Tantawi) ประกาศเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ว่า จะมีการชะลอรัฐธรรมนูญ ยุบรัฐสภาทั้งสอง และทหารจะปกครองประเทศเป็นเวลาหกเดือนจนกว่าจะมีการจัดการเลือกตั้ง คณะรัฐมนตรีชุดก่อนหน้า รวมถึงนายกรัฐมนตรี อาเหม็ด ชาฟิก จะทำหน้าที่เป็นรัฐบาลรักษาการต่อไปจนกว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่[22] ซาฟิกลาออกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม หนึ่งวันก่อนมีการประท้วงใหญ่เพื่อบีบให้เขาลงจากตำแหน่งตามที่วางแผนไว้ เอสซัม ชาราฟ (Essam Sharaf) อดีตรัฐมนตรีคมนาคม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน[23] แม้มุบารักจะลาออกไปแล้ว การประท้วงยังดำเนินต่อไปท่ามกลางความกังวลว่ารัฐบาลทหารจะอยู่อีกนานเท่าใดในอียิปต์ บางคนเกรงว่าทหารจะปกครองประเทศต่อไปอย่างไม่มีกำหนด[24]

อ้างอิง[แก้]

  1. "شيحة: مكاتب الصحة وثقت سقوط 840 شهيداً خلال ثورة 25 يناير". Almasry-alyoum.com. 16 March 2011. สืบค้นเมื่อ 4 April 2011.
  2. "Egypt: Cairo's Tahrir Square fills with protesters". BBC. 8 July 2011. สืบค้นเมื่อ 11 July 2011.
  3. "Q&A: What's Behind the Unrest?". SBS. 27 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 29 January 2011.
  4. "Egyptian Activists' Action Plan: Translated". The Atlantic. 27 January 2011.
  5. "Trade unions: the revolutionary social network at play in Egypt and Tunisia". Defenddemocracy.org. สืบค้นเมื่อ 11 February 2011.
  6. 6.0 6.1 Murphy, Dan (25 มกราคม ค.ศ. 2011). "Inspired by Tunisia, Egypt's protests appear unprecedented". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม ค.ศ. 2011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help) (อังกฤษ)
  7. Kareem Fahim and Mona El-Nagaar (25 มกราคม ค.ศ. 2011). "Violent Clashes Mark Protests Against Mubarak's Rule". เดอะนิวยอร์กไทมส์. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help) (อังกฤษ)
  8. "Estimated 2 Million People Protest In _ Around Tahrir Square In Cairo Egypt.mp4 | Current News World Web Source for News and Information". Cnewsworld.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-18. สืบค้นเมื่อ 20 February 2011.
  9. Siddique, Haroon; Owen, Paul; Gabbatt, Adam (25 January 2011). "Protests in Egypt and unrest in Middle East – as it happened". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 26 January 2011.
  10. Fleishman, Jeffrey and Edmund Sanders (Los Angeles Times) (29 January 2011). "Unease in Egypt as police replaced by army, neighbors band against looters". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
  11. "Looting spreads in Egyptian cities". Al Jazeera English. 29 January 2011. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
  12. Hauslohner, Abigail (29 January 2011). "The Army's OK with the Protesters, for now". Time.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
  13. "Mubarak plays last card, the army; Police vanish". World Tribune (online). 31 January 2011. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
  14. Stirewalt, Chris (31 January 2011). "Egypt: From Police State to Military Rule". Fox News. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
  15. "Regional Reaction Mixed For Egypt Protests". Eurasia Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-22. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
  16. "Travel warning issued, evacuation to start as protests continue in Egypt". English People's Daily Online. 31 January 2011. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
  17. Shadid, Anthony; Kirkpatrick, David D. (30 January 2011). "Opposition Rallies to ElBaradei as Military Reinforces in Cairo". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 31 January 2011.
  18. El Deeb, Sarah; Al-Shalchi, Hadeel (1 February 2011). "Egypt Crowds Unmoved by Mubarak's Vow Not To Run". Associated Press (via ABC News). สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. Hosni Mubarak resigns as president Al-Jazeera English. 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 (อังกฤษ)
  20. Yolande Knell. "BBC News - Egypt crisis: President Hosni Mubarak resigns as leader". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อังกฤษ)
  21. "Mubarak to be tried for murder of protesters". Reuters. 24 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-31. สืบค้นเมื่อ 24 May 2011.
  22. el-Malawani, Hania (13 February 2011). "Egypt's military dismantles Mubarak regime". The Sydney Morning Herald.
  23. "Egypt's prime minsiter quits, new govt soon-army". Forexyard.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-23. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
  24. http://www.jadaliyya.com/pages/index/1728/reflections-on-egypt-after-march-19

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]