ข้ามไปเนื้อหา

การประท้วงในการากัลปักสถาน พ.ศ. 2565

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประท้วงในการากัลปักสถาน พ.ศ. 2565
การากัลปักสถาน (สีแดง) ภายในอุซเบกิสถาน (สีแดงและสีขาว)
วันที่1-3 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[1]
สถานที่การากัลปักสถาน, อุซเบกิสถาน
สาเหตุ
  • การส่งการอภิปรายสาธารณะของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอุซเบกิสถานซึ่งคำว่า "อธิปไตย" ถูกลบออกจากคำอธิบายสถานะของสาธารณรัฐการากัลปักสถานและการกล่าวถึงสิทธิของสาธารณรัฐในการแยกตัวออกจากอุซเบกิสถานก็ถูกลบออก
  • การจับกุม Dauletmurat Tazhimuratov
วิธีการการเดินขบวนประท้วง, ก่อความไม่สงบ
การยอมผ่อนปรน
  • การแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการถอดถอนเอกราชของการากัลปักสถานถูกถอดถอน
คู่ขัดแย้ง
การากัลปักสถาน ผู้ประท้วง
ผู้นำ
การากัลปักสถาน Dauletmurat Tazhimuratov
อุซเบกิสถาน ชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ (ประธานาธิบดีอุซเบกิสถาน)
ความเสียหาย
เสียชีวิต21 (อ้างจากรัฐบาลอุซเบกิสถาน)[4]
บาดเจ็บ243 (อ้างจากรัฐบาลอุซเบกิสถาน)[2]
"หลายพัน" (อ้างจากรัฐบาลการากัลปักสถาน)[3]
ถูกจำคุก516[5]

การประท้วงปะทุขึ้นในเขตปกครองตนเองการากัลปักสถานในอุซเบกิสถานเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของอุซเบกิสถานที่เสนอโดยชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ ประธานาธิบดีอุซเบกิสถาน ซึ่งจะยุติสถานะของการากัลปักสถานในฐานะเขตปกครองตนเองของอุซเบกิสถานและสิทธิในการแยกตัวออกจากอุซเบกิสถานผ่านการลงประชามติ หนึ่งวันหลังจากการประท้วงเริ่มขึ้นในกรุงเนอกึส เมืองหลวงของการากัลปักสถาน ประธานาธิบดีมีร์ซีโยเยฟถอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐบาลการากัลปักสถานกล่าวว่าผู้ประท้วงพยายามบุกโจมตีอาคารรัฐบาล[6]

แม้จะมีการยอมผ่อนปรนจากรัฐบาลอุซเบกิสถานในการยังคงการากัลปักสถานให้เป็นอิสระ แต่การประท้วงยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตทั่วการากัลปักสถานในวันที่ 2 กรกฎาคม[7] และประธานาธิบดีมีร์ซีโยเยฟประกาศภาวะฉุกเฉินในภูมิภาค[8] การประท้วงยุติในเช้าวันที่ 3 กรกฎาคม[1] และสถานการณ์ฉุกเฉินถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Lillis, Joanna (7 July 2022). "Karakalpakstan: Dazed, confused and angry after deadly turmoil". Eurasianet. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
  2. Auyezov, Olzhas. "Uzbekistan says 18 killed, hundreds wounded in Karakalpakstan unrest". Reuters. สืบค้นเมื่อ 4 July 2022.
  3. "Thousands wounded in unrest in Uzbekistan's Nukus – Uzbek news website". Reuters. 3 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2022. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
  4. "Қорақалпоғистонда содир бўлган воқеалар оқибатида яна 3 киши вафот этди". Kun. 18 July 2022. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
  5. "Генпрокуратура Узбекистана: во время протестов в Нукусе погибли 18 человек". Mediazona (ภาษารัสเซีย). 4 July 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2022.
  6. "Uzbekistan declares state of emergency in protest-hit Karakalpakstan". ThePrint (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-07-03. สืบค้นเมื่อ 2022-07-05.
  7. alexanderartemyevamnestyorg (2022-07-04). "Uzbekistan: End use of unlawful force against Karakalpakstan protesters". Amnesty International (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-05.
  8. Almaty, Reuters in (2022-07-04). "Uzbekistan imposes regional state of emergency after deadly unrest". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-05.
  9. Trevelyan, Mark (20 July 2022). "Uzbekistan lifts state of emergency in Karakalpakstan after protest deaths". Reuters. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.