การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ แอมีนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประท้วงกรณี แมฮ์ซอ แอมีนี
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงในอิหร่าน ปี 2021–2022, ขบวนการประชาธิปไตยอิหร่าน, การประท้วงกฎหมายบังคับสวมฮิญาบในประเทศอิหร่าน และการเสียชีวิตของแมฮ์ซอ แอมีนี
วันที่16 กันยายน ค.ศ. 2022 – ปัจจุบัน
สถานที่ประเทศอิหร่าน
สาเหตุ
เป้าหมาย
วิธีการการประท้วง, การเดินขบวน, การจลาจล, การปิดถนน, การตั้งสิ่งกีดขวาง, การนัดหยุดงาน, การนัดหยุดเรียน และการดื้อแพ่งต่อกฎหมายสวมฮิญาบในที่สาธารณะ
สถานะดำเนินอยู่
คู่ขัดแย้ง
ผู้ประท้วง
ผู้นำ
ไม่มีศูนย์กลาง
ความเสียหาย
เสียชีวิตมากกว่า 319 คน[2][3][4]
บาดเจ็บ1160 คน [1]

การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ แอมีนี (เปอร์เซีย: مهسا امینی) เป็นชุดการประท้วงและการก่อความไม่สงบที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศอิหร่านตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2022 หลังการเสียชีวิตของแมฮ์ซอ แอมีนี ระหว่างที่เธอถูกตำรวจคุมขัง กล่าวกันว่าเธอถูกสายตรวจศีลธรรมของอิหร่านทุบตีหลังจากถูกกล่าวหาว่าละเมิดรูปแบบการสวมฮิญาบมาตรฐานตามกฎหมายในที่สาธารณะ[5] การประท้วงเริ่มต้นในเมืองใหญ่อย่างแซกเกซ, แซแนนแดจ, ดีวอนแดร์เร, บอเน และบีจอร์ในจังหวัดเคอร์ดิสถาน ต่อมาจึงได้กระจายไปตามเมืองใหญ่อื่น ๆ ในประเทศอิหร่าน รวมถึงในกรุงเตหะราน รวมทั้งมีการชุมนุมชาวอิหร่านในอาศัยในต่างประเทศเช่น ทวีปยุโรป แคนาดา สหรัฐฯ และตุรกี[6][7]

ข้อมูลเมื่อ 22 กันยายน ค.ศ. 2022 (2022 -09-22) มีผู้ประท้วงอย่างน้อย 31 รายที่เสียชีวิตจากการปราบปรามผู้ชุมนุม ถือเป็นการประท้วงที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงในปี 2019–2020 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1,500 ราย[2]

นอกจากจะพยายามสลายการชุมนุมแล้ว รัฐบาลอิหร่านยังจำกัดการเข้าถึงแอปพลิเคชันอย่างอินสตาแกรมและวอตแซปส์ ไปจนถึงการจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การจัดการประท้วงเป็นไปอย่างยากลำบาก ถือเป็นการจำกัดอินเทอร์เน็ตครั้งที่หนักที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงในปี 2019 ที่ตัดขาดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์[8]การโจมตีผู้ชุมนุมได้นำไปสู่การที่ผู้ชุมนุมบุกทำลายสถานที่ราชการ, ฐานทัพของรัฐบาล, ศูนย์ศาสนา, เผารถตำรวจ ยังมีการฉีกทำลายป้ายโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอเมริกา, โปสเตอร์และรูปปั้นของผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี และอดีตผู้นำสูงสุด รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี โดยการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเตหะรานและมีการชุมนุมนักศึกษาในสถานศึกษาทั่วในประเทศเพื่อต้องการความยุติธรรม ต่อมาตำรวจควบุมฝูงชนได้เอาแก๊สน้ำตา รถควบคุมฝูงชน หนังสติ๊กยิง ทำให้กลุ่มผู้ชุนนุมได้รับบาดเจ็บ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Hengaw Report No. 7 on the Kurdistan protests, 18 dead and 898 injured". Hengaw (ภาษาKurdish (Arabic script)). สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
  2. 2.0 2.1 "Eʿterāżāt dar Irān; Afzāyeš-e Āmār-e Koštešodegān beh biš az 30 Hamzamān bā Eḫtelāl dar Internet" اعتراضات در ایران؛ افزایش آمار کشته‌شدگان به بیش از ۳۰ نفر همزمان با اختلال در اینترنت [Protests in Iran; The Number of Those Killed has Increased to over 30 People Simultaneously With Internet Blackout]. Iran Human Rights (ภาษาเปอร์เซีย). สืบค้นเมื่อ 2022-09-22.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "31 Killed In Iran Crackdown On Anti-Hijab Protesters After Custody Death". NDTV. 22 September 2022.
  4. "At least 36 killed as Iran protests over Mahsa Amini's death rage: NGO". Al Arabiya News. 23 September 2022.
  5. Strzyżyńska, Weronika (16 September 2022). "Iranian woman dies 'after being beaten by morality police' over hijab law". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 September 2022.
  6. Mahsa Amini: EU concern over woman who died after being stopped by morality police , euronews, 2022
  7. Reuters (2022-09-20). "Protests flare across Iran in violent unrest over woman's death". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-23.
  8. "Iran restricts access to WhatsApp and Instagram in response to Mahsa Amini protests". 21 September 2022.