การประชุมลอนดอน (ค.ศ. 1830)
การประชุมลอนดอน ค.ศ. 1830 (อังกฤษ: London Conference of 1830) ได้รวบรวมตัวแทนประเทศมหาอำนาจทั้งห้าของยุโรปในสมัยนั้น ได้แก่ ออสเตรีย บริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส ปรัสเซีย และรัสเซีย โดยเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ผลการประชุมคือความสำเร็จในการแบ่งแยกดินแดนของเบลเยียมจากสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์และการรับรองความเป็นเอกราชของประเทศเบลเยียม
แผนการแบ่งแยกประเทศ
[แก้]กลุ่มมหาอำนาจทั้งห้าได้ตกลงไม่รับรองแผนการแบ่งแยกเบลเยียมออกเป็นหลายส่วนตามเส้นแบ่งทางภาษาที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (ตาแลร็อง) แต่สุดท้ายได้รับรองการมีเอกราชเป็นประเทศเบลเยียมเพียงประเทศเดียวที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหลัก โดยเป็นหนึ่งในแผนการแบ่งแยกเบลเยียมที่มีหลายแผนด้วยกัน โดยจุดประสงค์หลักคือการเป็นรัฐกันชนระหว่างฝรั่งเศสกับประเทศยุโรปอื่น ๆ
การตอบรับของเนเธอร์แลนด์
[แก้]รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ปฏิเสธและได้ต่อต้านแผนการนี้อย่างรุนแรง และส่งกองทัพเข้ามาจัดการใน ค.ศ. 1831 แต่ก็ประสบความล้มเหลว[1] สุดท้ายใน ค.ศ. 1839 จึงยอมรับข้อตกลงในสนธิสัญญาลอนดอนและยอมรับการเป็นเอกราชของเบลเยียมโดยสมบูรณ์
ผลที่ตามมา
[แก้]ใน ค.ศ. 1914 เยอรมนีปฏิเสธที่จะรับประกันความเป็นกลางของเบลเยียม[2] และเข้ารุกรานเบลเยียม ส่งผลให้บริเตนใหญ่ตอบโต้ด้วยการประกาศสงครามกับเยอรมนีในที่สุด[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ G M Trevelyan, British History in the 19th Century (London 1922) p. 233
- ↑ Duffy, Michael (22 August 2009). "Primary Documents: Britain's Breaking Off of Diplomatic Relations with Germany, 4 August 1914". A reproduction of "the official report prepared by the British ambassador to Germany, Sir Edward Goschen, which recounted the events of 4 August 1914".
- ↑ van der Essen, Léon (1920). A short history of Belgium. U. of Chicago Press. p. 158.