ข้ามไปเนื้อหา

การประชุมบันดุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประชุมเอเชีย-แอฟริกา
การประชุมบันดุง
ระหว่างการประชุมใหญ่
ประเทศ อินโดนีเซีย
วันที่18 ถึง 24 เมษายน 1955
เมืองบันดุง
ผู้เข้าร่วม304 คน
ประธานรุสลัน อับดุลกานี
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
แผนที่

การประชุมเอเชีย-แอฟริกา (อินโดนีเซีย: Konferensi Asia–Afrika) หรือ การประชุมบันดุง เป็นการประชุมและพบปะระหส่างรัฐเอเชียและแอฟริกา จำนวนมากเป็นรัฐที่พึ่งได้รับเอกราช จัดที่อาคารเมอร์เดกาในนครบันดุงบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย[1] ระหว่างวันที่ 18 ถึง 24 เมษายน ค.ศ. 1955 รัฐที่เข้าร่วมประชุมมี 29 รัฐ รวมประชากรแล้วในเวลานั้นกว่า 1.5 พันล้านคน หรือคิดเป็น 54% ของประชากรโลก[2] การประชุมนี้จัดขึ้นร่วมกันโดยอินโดนีเซีย, พม่า, อินเดีย, ซีลอน และ ปากีสถาน ติดต่อประสานงานโดยรุสลัน อับดุลกานี เลขาธิการใหญ่กระทรวงกิจการต่างประเทศของอินโดนีเซีย

การประชุมบันดุงที่เป้าหมายเพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างแอรฟิกาและเอเชีย รวมถึงเพื่อเป็นการต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมและลัทธิล่าอาณานิคมสมัยใหม่ การประชุมนี้เป็นหมุดหมายสำคัญไปสู่การจัดตั้งขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement; NAM) ในที่สุด ก่อนการประชุม NAM ครั้งที่สองในปี 1964 ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Final Communiqué of the Asian-African conference of Bandung (24 April 1955)" (PDF). Centre Virtuel de la Connaissance sur l'Europe. 3 January 2017.
  2. Bandung Conference of 1955 and the resurgence of Asia and Africa เก็บถาวร 13 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Daily News, Sri Lanka
  3. Bogetić, Dragan (2017). "Sukob Titovog koncepta univerzalizma i Sukarnovog koncepta regionalizma na Samitu nesvrstanih u Kairu 1964" [The Conflict Between Tito's Concept of Universalism and Sukarno's Concept of Regionalism in the 1964 Summit of Non-Aligned Countries in Cairo]. Istorija 20. Veka. Institute for Contemporary History, Belgrade. 35 (2): 101–118. doi:10.29362/IST20VEKA.2017.2.BOG.101-118. S2CID 189123378.