การปฏิวัติซีดาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปฏิวัติซีดาร์
Cedar Revolution
ثورة الأرز
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติสี
ประชาชนเดินทางโดยเท้าและโดยรถยต์อย่างคับคั่งเพื่อเข้าร่วมการประท้วงกลางกรุงเบรุต
วันที่14 กุมภาพันธ์ – 27 เมษายน 2005
สถานที่ประเทศเลบานอน (โดยเฉพาะในเมืองหลวงเบรุต)
สาเหตุการลอบสังหารเราะฟีก อัลฮะรีรี อดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน
เป้าหมาย
  • การถอนกองกำลังซีเรียจากเลบานอน
  • รวมพลังชาวเลบานอนทั้งปวงเพื่ออิสรภาพและเอกราชของเลบานอน
  • การขับไล่รัฐบาลสนับสนุนซีเรียของกะรอมี
  • การลาออกของผู้บังคับบัญชาทหารเลบานอนหกนาย
  • เปิดเผยฆาตกรผู้สังหารเราะฟีก อัลฮะรีรี
  • การเลือกตั้งที่เป็นอิสระและเป็นประชาธิปไตยในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 2005 โดยปราศจากการรบกวนของซีเรีย
ผลชัยชนะของกลุ่มต่อต้านซีเรีย,การถอนกำลังของซีเรียในเลบานอนทั้งหมดเมื่อ 27 เมษายน 2005
คู่ขัดแย้ง
ผู้นำ
จำนวน
ผู้ประท้วงราว 1 ล้านคน

การปฏิวัติซีดาร์ (อังกฤษ: Cedar Revolution; อาหรับ: ثورة الأرز, อักษรโรมัน: thawrat al-arz) หรือ การลุกฮือเพื่อเอกราช (อังกฤษ: Independence Intifada;[2] อาหรับ: انتفاضة الاستقلال, อักษรโรมัน: intifāḍat al-istiqlāl) เป็นกลุ่มการชุมนุมประท้วงในประเทศเลบานอน (โดยเฉพาะในเมืองหลวงเบรุต) ที่ปะทุขึ้นหลังการลอบสังหารเราะฟีก อัลฮะรีรี อดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน การเคลื่อนไหวนี้เป็นที่ยอมรับและจดจำในฐานะการเรียกร้องที่ใช้สันติวิธีและปราศจากความรุนแรง และใช้เพียงวิธีการต่อต้านอย่างสงบ[3]

เป้าหมายหลักของการชุมนุมคือการถอนกำลังทัพของซีเรียออกจากเลบานอน และขับไล่รัฐบาลที่สนับสนุนซีเรียอย่างหนักออกจากตำแหน่งโดยแทนที่ด้วยผู้นำที่ปราศจากการชักจูงทางการเมืองมากขึ้น, การตั้งคณะกรรมการนานาชาติเพื่อสอบสวนการฆาตกรรมของอดีตนายกรัฐมนตรีอัลฮะรีรี, การลาออกของเจ้าหน้าที่ความมั่นคง และการจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่เป็นอิสระและเป็นประชาธิปไตย ผู้ประท้วงเรียกร้องไม่ให้มีอิทธิพลของซีเรียในการเมืองเลบานอนอีก นับตั้งแต่การชุมนุมเริ่มปะทุขึ้น ซีเรียได้ตั้งกองกำลังไว้ 14,000 นาย รวมถึงเจ้าหน้าที่อื่นในเลบานอน[4] ผลจากการประท้วงทำให้กองกำลังซีเรียถอนทัพออกจากเลบานอนโดยสมบูรณ์ในวันที่ 27 เมษายน 2005 ประกอบกับการล้มเลิกรัฐบาลที่สนับสนุนซีเรีย ซีเรียเข้ามามีบทบาทในการเมืองของเลบานอนนับตั้งแต่การเข้ายึดครองเลบานอนของซีเรียในสงครามกลางเมืองเลบานอน

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการประท้วงคือผ้าพันคือสีขาวและแดง ประกอบกับคำขวัญ Hurriyyeh, Siyedeh, Istiqlel (เสรีภาพ, อธิปไตย, เอกราช)

อ้างอิง[แก้]

  1. ดูข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1559
  2. [1] เก็บถาวร 9 มิถุนายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Rudy Jaafar and Maria J. Stephan, "Lebanon's Independence Intifada: How an Unarmed Insurrection Expelled Syrian Forces", in Maria J. Stephan (ed.), Civilian Jihad: Nonviolent Struggle, Democratization, and Governance in the Middle East, Palgrave Macmillan, New York, 2009, pp. 169-85.
  4. Guerin, Orla (6 March 2005). "Syria sidesteps Lebanon demands". BBC News. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.