การบุกขึ้นเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบุกขึ้นเรือและเข้ายึดเรือฟริเกตสเปนเอสเมรัลดา โดยชาวชิลีในกาโย ค.ศ. 1820

การบุกขึ้นเรือ (อังกฤษ: Naval boarding) เป็นบุกการขึ้นมาสู้ หรือเข้าเทียบเรือของศัตรูที่จะโจมตี โดยการกำหนดผู้ทำการรบบุกขึ้นเรือของศัตรู เป้าหมายของการบุกขึ้นเรือคือการเข้ายึด หรือทำลายเรือข้าศึก ซึ่งเรือขนาดใหญ่กว่าจะลำเลียงกะลาสีหรือนาวิกโยธินที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษในฐานะผู้บุกขึ้นเรือ การบุกขึ้นเรือและการต่อสู้ประชิดตัวถือเป็นวิธีหลักในการสรุปการรบทางเรือ จนกระทั่งอาวุธยุทโธปกรณ์หนักได้เป็นอันดับหนึ่งทางยุทธวิธีในทะเล[1]

ส่วนการบุกขึ้นเรือแบบคัตติงเอาต์ (cutting out) เป็นการโจมตีโดยเรือขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน กับมิได้มีความระแวงสงสัย และจอดเทียบเป้าหมาย มันกลายเป็นที่นิยมในระยะหลังคริสต์ศตวรรษที่ 18 และใช้อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามนโปเลียน สิ่งนี้เป็นการเน้นย้ำถึงพฤติการณ์ลับ และจู่โจมโดยไม่ให้ตั้งตัว ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การบุกขึ้นเรือในอนาคต ตัวอย่างของความสำเร็จคือการบุกขึ้นเรือเฮอร์ไมโอนี ซึ่งเกิดขึ้นที่ปวยร์โตกาเบโย ประเทศเวเนซุเอลา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1799

ในการสงครามสมัยใหม่ การบุกขึ้นเรือโดยกองกำลังทหารมักเกี่ยวข้องกับพฤติการณ์ลับ และมักจะเกิดขึ้นในเวลากลางคืน มันอาจเกี่ยวข้องกับการใช้งานของเรือดำน้ำขนาดเล็กหรือซับเมอร์ซิเบิล หรือเรือยาง หรือโดยมนุษย์กบ ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการไต่ขึ้นด้านข้างของเรือ หรือเมื่อพฤติการณ์ลับไม่สลักสำคัญ ก็อาจใช้เฮลิคอปเตอร์เพื่อยกทัพไปที่ดาดฟ้าของเรือ

ยามศึก[แก้]

การบุกขึ้นเรือจะใช้ในช่วงสงครามเพื่อเป็นวิธีเข้ายึดเรือโดยไม่ทำลายหรือกำจัดของบรรทุก (คนหรือสิ่งของ) ก่อนที่มันจะถูกทำลาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อช่วยในการรวบรวมข่าวกรองทางเรือขณะที่ทหารบุกขึ้นเรือที่กำลังจม, ใช้การไม่ได้ หรือยอมจำนน ซึ่งอาจเอาแผน, หนังสือรหัสรหัสลับ หรือเครื่องจักรของข้าศึกกลับคืนมาได้อีก เพื่อให้การบุกขึ้นเรือประสบความสำเร็จ มันจะต้องเกิดขึ้นโดยปราศจากความรู้ของลูกเรือในการป้องกันเรือ หรือการป้องกันของเรือจะต้องถูกปราบ

ในการสงครามสมัยใหม่ การบุกขึ้นเรือโดยกองกำลังทหารอาจเกี่ยวข้องกับการใช้เรือดำน้ำขนาดเล็กหรือซับเมอร์ซิเบิล, เรือยาง หรือเฮลิคอปเตอร์เพื่อส่งกองกำลังไปยังดาดฟ้าเรือ หรืออาจจะปฏิบัติการโดยเหล่านักดำน้ำสกูบาที่ไต่ขึ้นด้านข้างของเรือ

ยามสงบ[แก้]

ในยามสงบ การบุกขึ้นเรือจะยกให้ผู้ตรวจสอบที่ได้รับอำนาจของประเทศหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง เช่น หน่วยยามฝั่ง หรือกองเรือตำรวจสากล (เช่น กองเรือสหประชาชาติ) ตรวจสอบสินค้าของเรือเพื่อค้นหายาเสพติด, อาวุธ, ผู้โดยสารที่ไม่ได้บันทึกไว้ในรายการของเรือ หรือของต้องห้ามประเภทอื่น ๆ ที่อาจขนส่งไปขึ้นเรือ ซึ่งหน่วยยามฝั่งของประเทศก็สามารถบุกขึ้นเรือที่น่าสงสัยใด ๆ ที่ทำการประมงเกินขีดจำกัดในน่านน้ำของประเทศได้เช่นกัน ส่วนรถพยาบาลอากาศ (เครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์ที่ลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ) มักจะจัดเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ไปยังเรือโดยใช้ขั้นตอนการขึ้นเฮลิคอปเตอร์แบบปกติ

ประวัติ[แก้]

การบุกขึ้นเรือไทรทันโดยอาซาร์ (อดีตคาร์เทียร์) ของโจรสลัดฝรั่งเศส ภายใต้รอแบร์ ซูร์กูฟ

การบุกขึ้นเรือเป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุดในการยึดเรือของฝ่ายตรงข้าม เนื่องจากกรณีแรกได้เกิดขึ้นเมื่อชนทะเลและชาวอียิปต์ต่อสู้กัน[2] สำหรับการพัฒนาที่ไม่มีปืนใหญ่ประจำเรือที่มีประสิทธิภาพ การบุกขึ้นเรือเป็นเทคนิคหลักของการต่อสู้แบบเรือต่อเรือ อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบัน การบุกขึ้นเรือยังคงใช้อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการลอบ

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Warming, Rolf. An Introduction to Hand-to-Hand Combat at Sea: General Characteristics and Shipborne Technologies from c. 1210 BCE to 1600 CE (ภาษาอังกฤษ).
  2. Warming, Rolf. An Introduction to Hand-to-Hand Combat at Sea: General Characteristics and Shipborne Technologies from c. 1210 BCE to 1600 CE (ภาษาอังกฤษ).

อ้างอิง[แก้]