การบันทึกคลื่นไฟฟ้าจอตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Electroretinography
การแทรกแซง
รูปคลื่น ERG ระดับสูงสุดของตาที่ปรับเข้ากับความมืดแล้ว
ICD-9-CM95.21
MeSHD004596
การตรวจด้วย ERG (ปี 2014)
รูปจากอดีตของคนไข้ที่กำลังตรวจด้วย ERG

Electroretinography (ตัวย่อ ERG) เป็นการวัดการตอบสนองทางไฟฟ้าของเซลล์ต่าง ๆ ในจอตารวมทั้งเซลล์รับแสงทั้งแบบแท่งและแบบกรวย, เซลล์จอตาชั้นใน (retinal bipolar cell และ amacrine cell) และ retinal ganglion cell โดยปกติจะสวมอิเล็กโทรดเงิน (DTL silver/nylon fiber string) ครอบผิวกระจกตาของคนไข้เมื่อวัดแบบ Full Field/Global/Multifocal ERG's หรือใช้อิเล็กโทรดทองเหลืองหรือทองแดงแนบกับผิวหนังใกล้ตาเพื่อทดสอบแบบ electrooculography (EOG) เมื่อกำลังตรวจ จะให้คนไข้มองแสงกระตุ้นต่าง ๆ โดยเครื่องจะแสดงแอมพลิจูดของสัญญาณการตอบสนอง (เป็นโวลต์) เทียบกับเวลา แต่สัญญาณก็เบามาก ปกติอยู่ในระดับไมโครโวลต์หรือนาโนโวลต์ ERG เป็นความต่างศักย์ไฟฟ้า (electrical potential) ซึ่งได้จากเซลล์ประเภทต่าง ๆ ในจอตา โดยการกระตุ้นต่าง ๆ (เช่น เป็นแฟลชหรือแสงกระตุ้นเป็นลาย, มีแสงพื้นหลังหรือไม่, สีของตัวกระตุ้นและพื้นหลัง) จะทำให้องค์ประกอบบางอย่างตอบสนองอย่างมีกำลังกว่า

ถ้าตรวจสอบตาที่ปรับให้เข้ากับความมืดแล้วด้วยแสงแฟลชสลัว ๆ การตอบสนองส่วนมากจะมาจากเซลล์รูปแท่ง และถ้าตรวจตาที่ปรับให้เข้ากับแสงสว่างด้วยแสงแฟลช การตอบสนองจะมาจากเซลล์รูปกรวย แฟลชที่สว่างพอจะก่อสัญญาณ ERG ที่เป็น a-wave (เริ่มต้นโค้งไปทางลบ) แล้วตามด้วย b-wave (โค้งไปในแนวบวก) ส่วนหน้าสุดของ a-wave มาจากเซลล์รับแสง โดยส่วนที่เหลือของคลื่นจะมาจากเซลล์ต่าง ๆ รวมทั้งเซลล์รับแสง, retinal bipolar cell, amacrine cell และ Muller glia[1] ส่วนการตอบสนองต่อ pattern ERG (PERG) ซึ่งเกิดจากตัวกระตุ้นคล้ายกระดานหมากรุก โดยหลักจะมาจาก retinal ganglion cell จักษุแพทย์และแพทย์ตรวจปรับสายตาโดยหลักใช้ ERG เพื่อวินิจฉัยโรคจอตาต่าง ๆ[2]

ERG ใช้ได้กับโรคจอตาเสื่อมที่สืบทอดทางกรรมพันธุ์ได้รวมทั้ง

  • Retinitis pigmentosa และความเสื่อมเหตุกรรมพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกัน
  • Retinitis punctata albescens
  • Leber's congenital amaurosis
  • Choroideremia
  • Gyrate atrophy of the retina and choroid
  • Goldman-Favre syndrome
  • Congenital stationary night blindness คือ "a-wave ที่วัดได้ปกติจะระบุเซลล์รับแสงที่ปกติ แต่การไร้ b-wave แสดงความผิดปกติของส่วน Retinal bipolar cell"
  • จอตาแยก (retinoschisis) วัยเด็กที่เชื่อมกับโครโมโซมเอกซ์ (X-linked juvenile retinoschisis)
  • การเห็นไร้สี (Achromatopsia)
  • Cone dystrophy
  • โรคเลียนอาการของ retinitis pigmentosa
  • Usher Syndrome

โรคตาอื่น ๆ ที่ ERG ธรรมดาอาจให้ข้อมูลที่มีประโยชน์รวมทั้ง

  • โรคจอตาเหตุเบาหวาน (diabetic retinopathy)[3]
  • โรคจอตาเหตุขาดเลือดรวมทั้ง central retinal vein occlusion (CRVO), branch vein occlusion (BVO) และโรคจอตาเหตุเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell retinopathy)
  • โรคจอตาเหตุสารพิษ พิษรวมทั้งยารักษามาลาเรียคือ Plaquenil และยารักษาโรคลมชักคือ Vigabatrin อนึ่ง ERG ยังใช้ตรวจการเป็นพิษต่อจอตาของยาทดลองอื่น ๆ
  • โรคจอตาเหตุภูมิต้านตนเองรวมทั้ง Cancer Associated Retinopathy (CAR), Melanoma Associated Retinopathy (MAR) และ Acute Zonal Occult Outer Retinopathy (AZOOR)
  • จอตาลอก
  • การประเมินการทำงานของจอตาหลังบาดเจ็บ โดยเฉพาะเมื่อเลือดออกในวุ้นตา (vitreous hemorrhage) ต้อกระจกตาหนา (dense cataract) และภาวะอื่น ๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นก้นตา (fundus) ได้

ERG ยังใช้อย่างกว้างขวางในงานวิจัยเรื่องตา เพราะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของจอตาที่ไม่สามารถได้โดยวิธีอื่น รูปแบบการตรวจทาง ERG อื่น ๆ เช่น photopic negative response (PhNR) และ pattern ERG (PERG) อาจมีประโยชน์เพื่อตรวจการทำงานของ retinal ganglion cell ในโรคต่าง ๆ เช่น ต้อหิน ส่วน multifocal ERG สามารถใช้บันทึกการตอบสนองของจอตาส่วนต่าง ๆ

องค์กรสากลในเรื่องการใช้ทางคลินิกและการสร้างมาตรฐานของ electroretinography (ERG), electrooculography (EOG) และ visual evoked potential (VEP) ก็คือ International Society for the Clinical Electrophysiology of Vision (ISCEV)[4]

การอื่น ๆ[แก้]

นอกจากใช้ตรวจวินิจฉัยโรค ERG สามารถใช้เมื่อกำลังพัฒนายา และเมื่อทำการทดลองทางคลินิกเพื่อตรวจดูความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาหรือการรักษา[5]

งานศึกษาปี 2013[6] พบว่า การตอบสนองของเซลล์ประสาทจอตาแบบ dopaminergic เมื่อทานขนมบราวนีช็อกโกแลตจะเท่ากับเมื่อทานยารักษาโรคสมาธิสั้นคือ methylphenidate ซึ่งแสดงว่าการทำงานของเซลล์ประสาทแบบโดพามีนในจอตาจะสะท้อนการทำงานของเซลล์ประสาทแบบโดพามีนในสมอง งานศึกษานี้จึงสรุปว่า ถ้ายืนยันได้ด้วยงานวิจัยต่อ ๆ มา ERG สามารถแสดงการทำงานของสารสื่อประสาทโดยเฉพาะ ๆ เท่ากับของการถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน (PET) โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Perlman, Ido. "The Electroretinogram: ERG by Ido Perlman". Webvision at University of Utah. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-28.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. "Electroretinography". U.S. National Library of Medicine. 2005-04-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-05.
  3. Maa; และคณะ (2015). "A novel device for accurate and efficient testing for vision-threatening diabetic retinopathy". Journal of Diabetes and its Complications. 30 (3): 524–32. doi:10.1016/j.jdiacomp.2015.12.005. PMC 4853922. PMID 26803474.
  4. "ISCEV Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-28. สืบค้นเมื่อ 2019-03-06.
  5. Brigell; และคณะ (2005). "An overview of drug development with special emphasis on the role of visual electrophysiological testing". Doc Ophthalmol. 110 (1): 3–13. doi:10.1007/s10633-005-7338-9. PMID 16249953.
  6. Nasser, J.a.; Parigi, A. Del; Merhige, K.; Wolper, C.; Geliebter, A.; Hashim, S.a. (2013-05-01). "Electroretinographic detection of human brain dopamine response to oral food stimulation". Obesity (ภาษาอังกฤษ). 21 (5): 976–980. doi:10.1002/oby.20101. ISSN 1930-739X. PMC 4964968. PMID 23784899.