การนวดกระตุ้นการทำงานของหัวใจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การนวดกระตุ้นการทำงานของหัวใจ (อังกฤษ: Enhanced external counterpulsation: EECP) เป็นการใช้เครื่องมือที่ทำงานประสานกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยการปั๊มลมเข้าสายรัดพันรอบขา น่อง สะโพกทั้ง 2 ข้าง ให้ประสานกับจังหวะการบีบและคลายตัวของหัวใจเพื่อช่วยให้เลือดผ่านหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น โดยกระตุ้นให้มีหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจใหม่หรือมีการแตกแขนงของหลอดเลือดเล็กๆ เพิ่มขึ้น เป็นทางเบี่ยงให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจในตำแหน่งที่มีหลอดเลือดตีบเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ และช่วยให้หัวใจทำงานเบา เป็นการลดภาวะขาดเลือด ทำให้การทำงานของหลอดเลือดหัวใจ ระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหัวใจทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ใครบ้างที่สามารถรับการรักษาด้วยเครื่อง EECP

  • ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่รักษาด้วยยา, การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน/ขดลวด หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจแล้วยังมีอาการอยู่
  • ทำกิจกกรมได้จำกัดเนื่องจากอาการแน่นหน้าอก
  • มีอาการของหลอดเลือดหัวใจตีบโดยที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดหรือขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน/ขดลวด เนื่องจากสภาพร่างกายที่ไม่อำนวยต่อการรักษาดังกล่าว เช่น มีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ เบาหวาน โรคปอด ไตวาย น้ำท่วมปอดหรือสภาพหลอดเลือดที่ไม่เหมาะสมที่จะรักษาด้วยวิธีดังกล่าว
  • ผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลวจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ


เกณฑ์การรักษาเบื้องต้นของการรักษาด้วยเครื่อง EECP

ข้อห้ามของการรักษาด้วยเครื่อง EECP

  • ตั้งครรภ์
  • มีภาวะผิดปกติของเส้นเลือด
  • มีภาวะหัวใจผิดปกติ
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมระดับความดันให้ปกติก่อนการรักษา

การปฏิบัติตัวก่อนการรักษา

  • งดดื่มน้ำและอาหาร อย่างน้อย 1 ชั่วโมง 30 นาที ก่อนการมาโรงพยาบาล
  • หากรับประทานยาขับปัสสาวะ อาจต้องปรับเวลาการรับประทานยา
  • ก่อนการรักษาหากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยนอนราบไม่ได้ ใจสั่น ต้องแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง

การปฏิบัติตัวหลังทำการรักษา

  • ไม่ควรหยุดทำการรักษาต่อเนื่องเกิน 5 วัน จนกว่าจะครบจำนวนครั้ง ตามโปรแกรมที่แพทย์สั่ง เพื่อให้การรักษามีประสิทธิผลสูงสุด