การท่องเที่ยวในประเทศโปแลนด์
การท่องเที่ยวในประเทศโปแลนด์ | |
---|---|
จุดหมายปลายทางในเมืองสิบอันดับแรกของประเทศโปแลนด์[1] | |
สวนสัตว์วรอตสวัฟที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ 1.8 ล้านคนต่อปี[2] | |
ประเทศโปแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของตลาดการท่องเที่ยวระดับโลกที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การท่องเที่ยวในประเทศโปแลนด์มีส่วนช่วยต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เมืองที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ กรากุฟ, วอร์ซอ, วรอตสวัฟ, กดัญสก์, ปอซนัญ, ชแชชิน, ลูบลิน, ตอรุญ, ซาโกปาเน, เหมืองเกลือในเวียลิตชกา และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของเอาช์วิทซ์ – ซึ่งเป็นค่ายกักกันนาซีของเยอรมันในออชฟีแยญชิม ส่วนสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ดีที่สุด ได้แก่ เขตทะเลสาบมาซูเรียน, ชายฝั่งทะเลบอลติก, เทือกเขาตาตราของโปแลนด์ (ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดของคาร์เพเทียน), ซูดีติส และป่าบีอาโววีเอซา โดยข้อเสนอการท่องเที่ยวหลักของประเทศโปแลนด์ประกอบด้วยการเที่ยวชมภายในเมือง, อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์, อนุสรณ์สถานทางธรรมชาติ, การเดินทางเพื่อธุรกิจ, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, การท่องเที่ยวด้วยจักรยาน, การท่องเที่ยวที่ได้รับการรับรอง, การเดินเที่ยวระยะไกลบนภูเขา (การเดินป่า) และการปีนหน้าผา ตลอดจนอื่น ๆ อีกมาก
ภาพรวม
[แก้]ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โปแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่ปลอดภัยที่สุดในทวีปยุโรป[5] ซึ่งมีนักท่องเที่ยวมาเยือนบ่อยครั้ง
ประเทศโปแลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเข้าร่วมสหภาพยุโรปใน ค.ศ. 2004 และเข้าร่วมความตกลงเชงเกนใน ค.ศ. 2007 ได้กลายเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมเยียนบ่อยครั้ง สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในประเทศโปแลนด์มีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ และอีเวนต์ทางวัฒนธรรม
ตามข้อมูลของสถาบันการท่องเที่ยว ประเทศโปแลนด์มีนักท่องเที่ยวเยือน 15.7 ล้านคนใน ค.ศ. 2006 และ 15 ล้านคนใน ค.ศ. 2007[6] จากจำนวนผู้มาเยือน 66.2 ล้านคน[7] ส่วนใน ค.ศ. 2012 นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาโปแลนด์จำนวน 13.5 ล้านคน (ผู้ที่เดินทางมาในช่วงฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 แต่ไม่ได้พักค้างคืนนั้นไม่ได้รวมอยู่ในสถิติอย่างเป็นทางการ)[8] จากนั้นใน ค.ศ. 2013 ประเทศโปแลนด์ได้รับนักท่องเที่ยว 15.8 ล้านคน และใน ค.ศ. 2016 จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนประเทศโปแลนด์มีจำนวน 80.5 ล้านคน ซึ่ง 17.5 ล้านคนจากจำนวนนี้เป็นผู้มาเยือนที่พิจารณาเพื่อจุดประสงค์การท่องเที่ยว (โดยพักอย่างน้อยหนึ่งคืน) กระทั่งใน ค.ศ. 2019 ประเทศโปแลนด์มีนักท่องเที่ยวเยือน 21.4 ล้านคน ทำให้เป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวอันดับที่ 18 ของโลก
ประวัติ
[แก้]นักท่องเที่ยวชาวโปแลนด์กลุ่มแรกเป็นนักจาริกแสวงบุญที่เดินทางไปยังสักการสถานทั้งภายในโปแลนด์และต่างประเทศ กระทั่งการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่วนภูมิภาคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือภูเขา โดยเฉพาะเทือกเขาตาตรา ซึ่งได้รับการสำรวจโดยไทตุส ชาลูบินสกี กระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมตาตราโปแลนด์ใน ค.ศ. 1873 และสมาคมการท่องเที่ยวโปแลนด์ใน ค.ศ. 1909 เพื่อจัดระเบียบและพัฒนาการท่องเที่ยว นอกจากนี้ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ยังเป็นช่วงเวลาแห่งการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของรีสอร์ตสปา ที่โดยส่วนใหญ่อยู่ในซูดีทีส, เบสคิดส์ และตามแนวชายฝั่งทะเลบอลติก โดยบางแห่งมีความเกี่ยวข้องกับสมาคมวิทยาบาลนีโอโลยีโปแลนด์ตั้งแต่ ค.ศ. 1910 รวมถึงหลังจากโปแลนด์ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1918 การท่องเที่ยวของโปแลนด์ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว และได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล ส่วนออร์บิสซึ่งเป็นบริษัทนำเที่ยวระดับอาชีพแห่งแรกของโปแลนด์ ได้ก่อตั้งขึ้นที่นครลวิวใน ค.ศ. 1923 ตามมาด้วยกรอมาดา ซึ่งเป็นองค์กรการท่องเที่ยวและบริษัททัวร์ใน ค.ศ. 1937
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 TripAdvisor. "Top 10 Destinations – Poland". Travelers' Choice 2013 (Winners). TripAdvisor.ca The world largest travel site. pp. 1 of 10. สืบค้นเมื่อ 20 December 2014.
Travelers' Choice 2014 Update: 1.Krakow, 2.Warsaw, 3.Wroclaw, 4.Poznan, 5.Bialystok, 6.Sopot, 7.Zakopane, 8.Lodz, 9.Szczecin, 10.Gdynia.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|quote=
- ↑ "Afrykarium odwiedziło 5 mln osób". สืบค้นเมื่อ 2019-02-01.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 The Touropia Team (2013). "10 Top Tourist Attractions in Poland". Touropia "best of" lists. Touropia. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
- ↑ 4.0 4.1 Touristrack. "10 Famous Tourist Attractions in Poland You Must Visit". Central Europe. TourisTrack.com. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
- ↑ Polska jednym z najbezpieczniejszych krajów w Europie
- ↑ Information about tourism in Poland (in Polish). เก็บถาวร 16 เมษายน 2013 ที่ archive.today Source: Instytut Turystyki, 2008.
- ↑ GUS (2008). "Przyjazdy do Polski (Foreign visits to Poland)". Statistics (ภาษาโปแลนด์). Instytut Turystyki. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2012.
- ↑ Katarzyna Sobierajska, Ministry of Tourism (2012). "Pierwsze efekty Euro 2012. Resort turystyki przewiduje wzrost liczby turystów w 2013 r. nawet o pół miliona". Live interview (ภาษาโปแลนด์). Agencja Informacyjna Newseria. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Kaszynski, Tadeusz, Through Europe to Poland by Car, 1st and rev. ed., New York City, 1968